1 March 2012

คุณหมอวีซ่ามักจะได้รับคำถาม ไม่ว่าจะเป็นในเว็บบอร์ด อีเมลล์ หรือแม้กระทั้งโทรมาสอบถามในเรื่องของการสอบซิติเซ่น และคุณสมบัติต่างๆของผู้ที่จะขอสัญชาติออสเตรเลีย ซึ่งในวันนี้คุณหมอวีซ่าก็ขอเขียนเอาใจผู้อ่านที่เป็นพีอาร์ และกำลังมองหาลู่ทางในการทำซิติเซ่น คุณหมอวีซ่าเชื่อว่าเมื่อผู้อ่านทั้งหลายมีโอกาส ก็คงอยากจะถือพาสปอร์ตของประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะชาวไทยอย่างเราๆ ที่สามารถถือได้ทั้งสองสัญชาติ ก็คงอยากจะมีสองสัญชาติเพื่อง่ายต่อการเข้าออกประเทศต่างๆ แต่การที่คุณหมอวีซ่าเขียนในเรื่องของการทำซิติเซ่นนี้ขึ้นมา ไม่ได้ต้องการบอกว่าการถือสัญชาติออสเตรเลียนั้นดีกว่าสัญชาติไทยนะคะ แต่บางครั้งโอกาสในการถือสัญชาติออสเตรเลียก็อาจจะทำให้อะไรๆสะดวกขึ้นค่ะ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่กำลังถือพีอาร์กันอยู่ หรือต้องการจะเดินทางไปประเทศต่างๆโดยไม่ต้องขอวีซ่า การจะได้สัญชาติออสเตรเลียนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกันนะคะ ไม่ว่าจะมาจากการเกิด (by birth) จากการได้เป็นพีอาร์ หรือจากการมีคู่ครองเป็นคนที่นี่ ซึ่งในรูปแบบที่สองนั้นจะต้องมีการสอบ Citizenship ด้วยค่ะ นอกจากนี้การได้สัญชาติออสเตรเลียยังมีอีกหลายรูปแบบ แต่คุณหมอวีซ่าจะยกมาเฉพาะรูปแบบที่คนไทยมีโอกาสได้มากที่สุดค่ะ ในกรณีของการได้สัญชาติออสเตรเลียโดยการเกิดนั้น ถ้าหากเด็กคนไหนที่เกิดก่อนหรือในวันที่ 20 สิงหาคม 1986 ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะเป็นพีอาร์ หรือเป็นซิติเซ่นหรือไม่ก็ตาม เด็กที่เกิดในวันนั้นหรือก่อนหน้ามีโอกาสในการได้สัญชาติออสเตรเลียโดยอัติโนมัติ แต่หลังจากวันที่ 20 สิงหาคม 1986 เป็นต้นมาถ้าหากผู้ปกครองไม่ได้เป็นซิติเซ่นหรือถือพีอาร์ เด็กที่เกิดมานั้นก็จะไม่ได้รับสัญชาติออสเตรเลียค่ะ แต่เด็กคนนั้นจะได้รับสัญชาติออสเตรเลียโดยอัติโนมัติเมื่อมีอายุครบ 10 ปี และได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศออสเตรเลียนี้แล้ว ซึ่งตรงนี้นับว่าเป็นข้อดีนะคะ เพราะถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่ถือวีซ่านักเรียน หรือทำธุรกิจอยู่ที่นี่ และต้องการหาลู่ทางเป็นซิติเซ่น ก็สามารถทำได้โดยการให้ลูกๆของเราที่เป็นซิติเซ่นแล้วทำให้ค่ะ ส่วนสำหรับใครที่ไม่มีลูกและได้พีอาร์มาจากการใช้ความสามารถและประสบการณ์ (สมัคร skilled PR) หรือไม่ว่าจะเป็นการได้พีอาร์มาจากการแต่งงาน (Partner Visa) ก็ตาม ก็สามารถสอบเป็นซิติเซ่นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ที่สมัครนั้นจะต้องพิสูจน์ให้เห็นหลักฐานที่อยู่ของเรา หรือที่เรียกว่า Residence Requirements ในก่อนหน้าวันที่ 1 กรกฎาคม 2010 กฎเก่าของการสมัครซิติเซ่นบอกไว้ว่าจะต้องถือพีอาร์เป็นเวลา 2 ปีในเวลา 5 ปี ถึงจะสมัครได้ แต่นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2010 เป็นต้นมา Residence Requirements ก็มีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ดังนี้ค่ะ

4 years lawful residence in Australia. This period must include 12 months as a permanent resident immediately before making an application for Australian citizenship And absences from Australia of no more than 12 months in total in the 4 years prior to application, including not more than 90 days in the 12 months immediately prior to application. Lawful residence means residence in Australia on a temporary or permanent visa. (Taken from: https://www.ecom.immi.gov.au/citz/startIntervalCalc.do)

กล่าวอย่างสรุป เราจะต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเราอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นเวลา 4 ปี และใน 1 ปีนั้นรวมถึงช่วงระยะเวลาที่เราถือพีอาร์อยู่ด้วย และก่อนจะยื่นสมัครซิติเซ่นจะต้องไม่อาศัยนอกออสเตรเลียเป็นเวลาเกิน 12 เดือน และในระหว่างที่ถือพีอาร์ หรือในปีสุดท้ายก่อนจะยื่นใบสมัครนั้น จะต้องอาศัยอยู่ในออสเตรเลียเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งใน 4 ปีนั้นถ้าหากผู้อ่านท่านใดถือ bridging visa (ยกเว้น bridging visa E) ทางอิมมิเกรชั่นก็นับรวมด้วยค่ะ ตัวอย่างเช่นน้อง Bee เข้ามาเริ่มเรียนในระดับปริญญาที่ซิดนีย์เป็นเวลา 3 ปี แต่ในระหว่างนั้นก็มีการกลับไปประเทศไทยบ้างเป็นครั้งคราว ในปีที่เรียนจบ น้อง Bee ยื่นสมัคร Skilled PR และได้พีอาร์ในปีที่ 4 พอน้อง Bee ถือพีอาร์ครบ 1 ปีก็สามารถสมัครสอบซิติเซ่นได้เลยค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะต้องเช็คและคำนวณเวลาให้แน่นอนก่อนยื่นนะคะ เพราะถ้าหาก overstay วีซ่าเพียงแค่ชั่วโมงเดียว ก็อาจจะต้องมานับ 4 ปีใหม่หมดค่ะ มีลูกค้าบางคนของคุณหมอวีซ่าที่เคยไปสมัครกับเอเจนท์ก่อนหน้า แต่เนื่องจากเอเจนท์นั้นไม่ระมัดระวัง ยื่นวีซ่าหลังจากวีซ่าของน้องคนนี้หมดไป 3 วัน ซึ่งน้องคนนี้คุณหมอวีซ่าก็สามารถช่วยให้ได้วีซ่าคืนมา และในปัจจุบันตอนนี้ก็เป็นพีอาร์เรียบร้อยแล้ว แทนที่ในปัจจุบันน้องคนนี้จะสามารถสมัครซิติเซ่นกลับกลายต้องมานั่งนับเวลาใหม่ เพราะความสะเพร่าของเอเจนท์คนเก่าค่ะ ข้อดีอีกอย่างของการถือสัญชาติออสเตรเลีย ก็คือเราสามารถถือได้สองสัญชาติ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dual citizenship ก่อนวันที่ 4 เมษายน 2002 ผู้ใดที่ถือสัญชาติออสเตรเลีย แต่ได้ถือสัญชาติของประเทศอื่นด้วยเช่นของอเมริกา จะโดนตัดสิทธิในการถือสัญชาติออสเตรเลียทันทีโดยอัตโนมัติ แต่นับจากวันที่ 4 เมษายน 2002 เป็นต้นมา ทางรัฐบาลออสเตรเลียได้เปลี่ยนกฎหมายใหม่ โดยในปัจจุบันนี้ผู้ถือสัญชาติออสเตรเลียสามารถถือได้ 2 สัญชาติ เช่นสัญชาติไทยและสัญชาติออสเตรเลีย เป็นต้นค่ะ

คุณหมอวีซ่าว่าการถือสองสัญชาตินั้นก็นับว่าเป็นข้อดีนะคะ เพราะนั่นเท่ากับว่าเราจะได้รับสิทธิประโยชน์จากพาสปอร์ตที่เราถือทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในการเดินทางเข้าออก สวัสดิการสังคม และอื่นๆ สำหรับใครที่ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ http://www.citizenship.gov.au/ หรือจะโทรมาปรึกษากับคุณจัสตินในการทำเรื่องcitizenship application ที่ 02-9267-8522 หรือจะอีเมล์มาที่ education@cpinter.com.au ค่ะ ในช่วงนี้คุณหมอวีซ่าเดินทางมาประชุมและดูงานโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆที่นิวซีแลนด์ โดยมีองค์กร ICEF เป็นผู้จัด แล้วคุณหมอวีซ่าจะกลับไปเล่าให้ผู้อ่านทุกท่านฟังถึงเรื่องที่น่าสนใจต่างๆจากนิวซีแลนด์กันค่ะ

ก่อนจะจากกันไปคุณหมอวีซ่าก็ขอย้ำกันอีกครั้งหนึ่งว่า วีซ่าน้องๆ หรือผู้อ่านคนใดที่กำลังจะหมดในวันที่ 15 มีนาคมนี้ หรือลังเลว่าจะสมัครพีอาร์ดีหรือไม่ ขอให้รีบเข้ามาพูดคุยกับทางซีพี อินเตอร์ฯ นะคะ นอกจากนี้ใครที่พลาดงานสัมมนาพาร์ทเนอร์ของเราไปก็ยังสามารถเข้ามาพูดคุย หรือปรึกษากับคุณหมอวีซ่าได้ฟรีจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้นะคะ และถ้าหากมาเปิดเคสกับทางซีพี อินเตอร์ฯ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคมนี้ รับไปเลยส่วนลด 10 % และในเร็วๆนี้ น้องๆคนไหนที่ต้องการทราบเคล็ด (ไม่) ลับในการเตรียมสอบ IELTS อย่าลืมมาร่วม join IELTS & Career Club กับทางซีพี อินเตอร์ เร็วๆนี้นะคะ โปรโมชั่นดีๆ อย่างนี้ ห้ามพลาดค่ะ


ภาพบรรยากาศงาน CP Partner Visas Seminar ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จไปด้วยดีนะคะ สำหรับงานสัมมนาวีซ่าคู่รัก คู่ครองที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์มาร่วมให้บริการจดทะเบียนเคลื่อนที่ให้กับคู่บ่าวสาว นอกจากนี้คู่บ่าวสาว หรือผู้ที่เข้ามาร่วมฟังสัมมนาต่างก็ได้รับของรางวัลจากสปอนเซอร์ของเรากันถ้วนหน้า ต้องขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีของเราไม่ว่าจะเป็น Sabai Thai – Thai Massage & Spa, Pre-Wedding Photography by Ice และ Chat Thai Restaurant ที่มาร่วมช่วยแจกในงานนี้ด้วยนะคะ
มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: