18 March 2013

สวัสดีจากกรุงเทพฯที่อากาศเริ่มจะร้อนต้อนรับสงกรานต์กันแต่เนิ่นๆ แต่วันที่ 18 มีนาฯนี้ คุณหมอวีซ่าก็จะเดินทาง ไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเยี่ยมสถาบันการศึกษา เนื่องจากสมัยนี้ ด้วยสนธิสัญญาความน่วมมือในกลุ่มประเทศ ASEAN ทำให้คนไทยเราหันมาสนใจเรียนภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศเอเซียมากขึ้น และที่ได้รับความนิยมมานมนานก็เห็นจะหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ทางบริษัท CP Inter ของเรา จึงได้เริ่มขยายตลาดการศึกษาไปในเขตนี้เพื่อตอบรับความต้องการของผู้ปกครองและลูกค้า อนึ่งก็จะถือโอกาสไปรับลูกสาวที่ทำงานอยู่ที่นั่นเป็น English Teacher สอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆชาวญี่ปุ่นด้วย เห็นไหมค่ะว่าโลกสมัยนี้ มีการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมกันอย่างกว้างขวาง เด็กที่พูดได้หลายภาษา ย่อมจะได้เปรียบเสมอค่ะ

คราวนี้ก็ขอมาเข้าเรื่องอั๊พเดทเรื่องของวีซ่ากันเลยนะคะ ท่านผู้อ่านจะสังเกตว่าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีฯ ก็จะตามมาด้วยการเปลี่ยนกฎเกณฑ์เสมอ ครั้งนี้ Minister Brendan O’Connor ท่านใหม่เพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งสดๆร้อนๆ ก็จัดการประกาศเปลี่ยนกฎเกี่ยวกับวีซ่าเข้าประเทศออสเตรเลียหลายๆอย่าง รวมทั้งวีซ่าเยี่ยมเยียน (Visitor Visas) ที่รวมวีซ่าท่องเที่ยวอยู่ด้วย และที่คุณหมอวีซ่าเองได้รับคำถามมาจากท่านผู้อ่านอยู่บ่อยๆในช่วงนี้ก็จะเกี่ยวกับวีซ่าพ่อแม่ที่ลูกๆทั้งหลายที่อาศัย อยู่ในออสฯอยากให้เข้าไปเยี่ยมเยียนลูกๆหลานๆที่ออสเตรเลียกัน แต่สับสนว่า ทำไมพ่อแม่บางท่านถึงได้วีซ่าหนึ่งปี บ้างก็สามเดือน บ้างก็หกเดือน หลังๆนี้ได้ 5 ปีบ้าง 3 ปีบ้าง และอยู่แต่ละครั้งได้กี่นาน อยากให้มาทีก็อยู่ได้นานๆจะทำได้ไหม อย่างไร ผู้คนจึงเกิดการสับสนกันไม่น้อยถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ คุณหมอวีซ่าเลยเอามาเขียนในฉบับนี้ชี้แจงให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องกันนะคะ

แต่ก่อนจะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวีซ่าระยะยาวของพ่อแม่ คุณหมอวีซ่าขอแจ้งข่าวการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวีซ่าเยือนออสเตรเลียรวมวีซ่าท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 23 มีนาคม 2013 นี้ที่ท่านรัฐมนตรีฯเพิ่งจะประกาศไปสดๆร้อนชนิดเรียกว่าเปลี่ยนอย่างยกเครื่องทั้งหมดเลยก็ว่าได้ โดยมีสาระสำคัญย่อๆดังนี้

การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ Visitor and Medical Treatment Visas

อิมมิเกรชั่นได้แถลงแล้วว่า นับจากวันที่ 23 March 2013 นี้เป็นต้นไป ระบบและระเบียบเกี่ยวกับวีซ่าเยี่ยมเยียนเข้าประเทศออสเตรเลียจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงวีซ่ารับการรักษาพยาบาลด้วยดังนี้ (ทั้งนี้ ก็ต้องผ่านการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากท่านข้าหลวงฯ Governor-General in Council ก่อน):
หมายความว่า วีซ่าเยี่ยมเยียนตัวเก่าๆที่พวกเราเคยคุ้นเคยกันจะถูกกำจัดออกจากระบบไปโดยสิ้นเชิง ได้แก่วีซ่าประเภทต่างๆต่อไปนี้

  • Tourist visa (subclass 676)
  • Sponsored family visitor visa (subclass 679)
  • Business (short Stay) visa (Subclass 456)
  • Sponsored business visitor (short stay) visa (subclass 459)
  • Medical Treatment (short stay) visa (subclass 675)
  • Medical Treatment (long stay) visa (subclass 685)
  • Electronic Travel Authority (visitor) (subclass 976)
  • Electronic Travel Authority (business – short validity) (subclass 977)
  • Electronic Travel Authority (business – long validity) (subclass 956).

โดยจะเปลี่ยนเป็นวีซ่าเยี่ยมเยียนรุ่นใหม่ที่เข้ามาแทนประเภทต่างๆ ดังนี้:

1. วีซ่าทำงานชั่วคราว -Temporary work (c activity) visa (subclass 400)

วีซ่าใหม่ตัวนี้อนุมัติให้ผู้ถือมีสิทธิ์ทำงานในออสเตรเลียได้เป็นระยะสั้นๆอย่างชั่วคราว หรือเข้าไปร่วมงานกิจกรรมอะไรบางอย่างโดยผ่านการเชิญชวนขององค์กรหรือบริษัท/ผู้ประกอบการในประเทศออสเตรเลีย สายงานที่จะสามารถเข้ามาทำได้จะต้องเป็นสายงานเฉพาะทาง อย่างเช่น เข้ามาติดตั้งเครื่องจักรเฉพาะให้กับโรงงาน เป็นต้น

2. วีซ่าเยี่ยมเยียน Visitor visa (subclass 600)

โดยวีซ่าตัวนี้อนุมัติให้ผู้ถือสามารถเข้าออสเตรเลียเพื่อการท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน หรือไปดูงานธุรกิจ หรือไปร่วมการประชุม เป็นต้น แต่ไม่สามารถทำงาน หรือประกอบการใดๆให้กับองค์กรหรือธุรกิจ หรือขายบริการหรือสินค้าให้กับสาธารณชนในออสเตรเลียได้ หากต้องไปทำงานระยะสั้น ก็ต้องขอเป็นวีซ่าประเภท 400 ดังกล่าวข้างต้นแทน

3. Electronic Travel Authority (subclass 601)

วีซ่า Electronic Travel Authority หรือเรียกย่อๆว่า ETA ตัวนี้ จะออกให้กับประชาชนของบางประเทศเท่านั้น แต่ประเทศไทยไม่ได้รวมอยู่ในรายชื่อ (ดูรายชื่อประเทศได้จากข้างล่าง) โดยเสียค่ายื่นวีซ่าเพียง $20 เท่านั้น ประชากรของประเทศเหล่านี้สามารถยื่นขอวีซ่าที่อนุมัติให้เขาเข้ามาเยือนออสเตรเลียเพื่อประสงค์ของการท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน หรือประชุม พบปะทางธุรกิจ แต่ไม่สามารถทำงาน หรือประกอบการใดๆให้กับองค์กรหรือธุรกิจ หรือขายบริการหรือสินค้าให้กับสาธารณชนในออสเตรเลียได้ หากต้องไปทำงานระยะสั้น ก็ต้องขอวีซ่าประเภท 400 ดังกล่าวข้างต้นแทน

  • Andorra
  • Austria
  • Belgium
  • Brunei
  • Canada
  • Canada
  • Denmark
  • Finland
  • France
  • Germany
  • Greece
  • Hong Kong (SAR)
  • Iceland
  • Ireland
  • Italy
  • Japan
  • Liechtenstein
  • Luxembourg
  • Malaysia
  • Malta
  • Monaco
  • Norway
  • Portugal
  • Republic of San Marino
  • Singapore
  • South Korea
  • Spain
  • Sweden
  • Switzerland
  • Taiwan
  • The Netherlands
  • United Kingdom—British Citizen
  • United Kingdom—British National (Overseas)
  • United States
  • Vatican City.

4. วีซ่ารับการรักษาพยาบาล – Medical Treatment visa (subclass 602)

เป็นวีซ่าที่ออกให้กับคนไข้ที่ประสงค์จะเข้าไปปรึกษาหรือรับการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ จัดเป็นวีซ่าประเภทชั่วคราว และเจ้าตัวผู้ยื่นอาจอยู่ในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย ณ เวลาที่ยื่นก็ได้

5. วีซ่าแบบ eVisitor (subclass 651)

คล้ายกับวีซ่า ETA แต่จะออกให้กับประชาชนของบางประเทศโดยไม่ต้องเสียค่ายื่นวีซ่าแต่อย่างใด สังเกตดูจะเป็นประเทศในโซนยุโรปทั้งนั้นโดยประเทศไทยไม่ได้รวมอยู่ในรายชื่อ (ดูรายชื่อประเทศได้จากข้างล่าง) ประชากรของประเทศเหล่านี้สามารถยื่นขอวีซ่าที่อนุมัติให้เขาเข้ามาเยือนออสเตรเลียเพื่อประสงค์ของการท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน หรือประชุม พบปะทางธุรกิจ แต่ไม่สามารถทำงาน หรือประกอบการใดๆให้กับองค์กรหรือธุรกิจ หรือขายบริการหรือสินค้าให้กับสาธารณชนในออสเตรเลียได้ หากต้องไปทำงานระยะสั้น ก็ต้องขอวีซ่าประเภท 400 ดังกล่าวข้างต้นแทน

  • Andorra
  • Austria
  • Belgium
  • Brazil
  • Brunei
  • Bulgaria
  • Cyprus
  • Czech Republic
  • Denmark
  • Estonia
  • Finland
  • France
  • Germany
  • Greece
  • Hungary
  • Iceland
  • Ireland
  • Italy
  • Latvia
  • Liechtenstein
  • Lithuania
  • Luxembourg
  • Malta
  • Monaco
  • The Netherlands
  • Norway
  • Poland
  • Portugal
  • Romania
  • Republic of San Marino
  • Slovak Republic
  • Spain
  • Sweden
  • Switzerland
  • United Kingdom – British Citizen
  • Vatican City

http://www.immi.gov.au/visas/visitor/ หรือหากมีข้อข้องใจใดๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามกับคุณหมอวีซ่าเพิ่มเติมก็ได้นะคะ

วีซ่าระยะยาวของคุณพ่อคุณแม่ (Long Tourist Visas for Parents of Australians)

นโยบายการออกวีซ่าระยะยาวให้กับพ่อแม่ของผู้ที่ถือถิ่นฐานถาวรหรือสัญชาติออสเตรเลียเกิดขึ้นในรุ่นที่ Minister Chris Bowen ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองฯอยู่ โดยท่านได้ประกาศนโยบายนี้ออกมาตั้งแต่ครั้งเมื่อวันที่ 24 November, 2012 แล้ว แต่มีผู้คนเข้าใจผิด หลายอย่างจนคุณหมอวีซ่าอยากจะคัดเอาข้อความจากในเว๊ปของอิมฯมาชี้แจงความกระจ่างให้เข้าใจกันอย่างทั่วถึงดังนี้นะคะ

“Since 24 November 2012, parents of Australian citizens and permanent residents have been able to apply for Tourist (Subclass 676) visas to visit Australia for longer. These changes allow parents who meet the criteria for a Tourist visa to have regular extended visits with their family in Australia without needing to apply for a new visa on each visit and also recognise the length of the Parent visa queue.
Multiple entry visas with a maximum stay of 12 months will be considered on a case- by-case basis with maximum validity periods of up to:

  • five years for parents outside Australia and in the Parent (subclass103) visa queue
  • three years for parents outside Australia who have:
    • had a previous Australian visa and complied with the conditions; and
    • have not applied for a Parent visa; or
    • have applied for a Parent (subclass 103) visa but are not yet in the Parent visa queue
  • 18 months for parents who have:
    • not previously travelled to Australia; and
    • have not applied for a Parent visa; or
    • have applied for a Parent (subclass 103) visa but are not yet in the Parent visa queue.

http://www.immi.gov.au/visitors/tourist/676/parents-longer-tourist-visa.htm

แปลกันตรงๆเลยก็คือ

· วีซ่า 5 ปีนั้น มีไว้สำหรับพ่อแม่ที่ยังอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย และได้เคยยื่นวีซ่าพ่อแม่ Parents Visa (subclass 103) ไว้และชื่อได้เข้าไปอยู่ในคิวของวีซ่าตัวนี้แล้ว จุดนี้ก็พอจะอธิบายได้ เนื่องจากวีซ่าพ่อแม่ 103 ตัวนี้มีคิวที่จะต้องรอนานถึง 18-20 ปีเห็นจะได้ ทางอิมฯจึงอนุมัติให้พ่อแม่สามารถมาอยู่กับลูกๆด้วยวีซ่าท่องเที่ยวที่นานขึ้นก่อนไปพลางๆได้

· สำหรับวีซ่า 3 ปีนั้น มีไว้สำหรับพ่อแม่ที่ยังอยู่นอกประเทศออสเตรเลียที่เคยได้วีซ่าเข้าออสฯมาก่อนแล้ว และไม่เคยปฏิบัติผิดเงื่อนไขของวีซ่ามาก่อน จะยังไม่เคยยื่นวีซ่าพ่อแม่ประเภทใดๆมาก่อนเลย หรือ ได้เคยยื่นวีซ่าพ่อแม่ (subclass 103) ไว้แล้วก็ตาม แต่ชื่อยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในคิว

· อีกประเภทหนึ่งของวีซ่าระยะยาวแบบ 18 เดือน ก็จะให้กับพ่อแม่ที่ยังไม่เคยเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียมาก่อน ยังไม่เคยยื่นวีซ่าพ่อแม่ประเภทใดๆมาก่อนเลย หรือ จะได้เคยยื่นวีซ่าพ่อแม่ (subclass 103) ไว้แล้ว แต่ชื่อยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในคิว

แต่ท่านผู้อ่านก็พึงระวังว่าถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะได้วีซ่ามา 5 ปี 3 ปี หรือ 1.5 ปี ก็ตาม (ตามแต่กรณีสถานการณ์ของคุณพ่อคุณแม่แต่ละท่าน) เข้ามาแต่ละครั้ง พ่อแม่สามารถอยู่ต่อเนื่องได้เพียง 12 เดือนเท่านั้น ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศแล้วค่อยกลับเข้ามาใหม่ ครั้นวีซ่าหมดอายุลงเมื่อไร ก็ต้องออกนอกประเทศไปสักอย่างน้อย 6 เดือนจึงจะมีโอกาสขอวีซ่าตัวใหม่ได้ ปีที่พ่อแม่ได้มาก็จะโดนยกเลิกไปโดยปริยายค่ะ เนื่องจากนโยบายของการออกวีซ่าท่องเที่ยว มิใช่เพื่อใช้แทนวีซ่าระยะยาวที่อำนวยให้ผู้คนใช้เป็นช่องทางในการอาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างถาวรได้นั่นเอง คุณหมอวีซ่าก็ว่าแปลกๆที่ทำไมต้องมากีดกันพ่อแม่ไม่ให้อยู่กับลูกต่อเนื่องโดยตลอดอย่างนี้ ก็ไม่ทราบนะคะ คงไม่มีคำอธิบาย แต่การที่อิมฯได้ออกมาปล่อยวีซ่าระยะยาวสำหรับพ่อแม่เช่นนี้ ก็เป็นการชี้ให้เห็นว่าอิมฯก็พยายามผ่อนผันให้แล้วนะคะ

และแน่นอน การจะได้วีซ่าระยะยาวแบบนี้ทุกตัว พ่อแม่ก็ต้องผ่านการตรวจสุขภาพ สันติบาล และมีเงิน หรือมีลูกสนับสนุนทางการเงินและที่พักที่เพียงพอ และจะต้องซื้อประกันสุขภาพให้ท่านไว้ด้วยเลยค่ะ ในเรื่องนี้ อิมฯได้ระบุไว้ดังนี้

The health insurance cover:

  • can be with any Australian insurer or reputable overseas insurer
  • doesn’t need to be with a specialist health insurance company
  • can include an excess and standard ‘pre-existing condition’ clauses
  • must be fully comprehensive (that is, it must provide at least Medicare equivalent cover including hospital, emergency, general practitioner and pharmaceutical benefits).

Online จะได้นำหลักฐานไปขอวีซ่าได้เลยค่ะ

คุณหมอวีซ่ายังทำเคสให้กับคุณพ่อคุณแม่บางท่านที่อยู่กับลูกเพลินจนลืมต่อวีซ่า จะด้วยเจตนาหรือเหตุผลใดก็ตาม ทางอิมฯจะถือว่าได้ทำผิดกฎบ้านกฎเมืองของเขาแล้ว จึงไม่สามารถขอวีซ่าชั่วคราวเข้าไปได้อีกเนื่องจากโดนลงทัณฑ์ไว้เป็นเวลา 3 ปี ในกรณีเช่นนี้ ก็ต้องหาช่องทางอื่น อย่างเช่นช่องทางให้ลูกๆยื่นผ่านทางออสเตรเลียเป็นวีซ่าแบบสปอนเซอร์ 679 โดยต้องเขียนเรื่องราวแก้ต่างขอความเห็นใจจากอิมฯเข้าไป ก็อาจมีโอกาสได้วีซ่าเช่นกันค่ะ สุดท้ายนี้ก็ขอเตือนว่าวีซ่าท่องเที่ยวสำหรับพ่อแม่ระยะยาวแบบนี้ จะมีเงื่อนไข 8503 หรือ No Further Stay ติดมาเสมอ แปลว่าไปถึงออสเตรเลียแล้ว ห้ามต่อวีซ่าใดๆที่นั่นทั้งสิ้นนะคะ

จบไปอย่างสวยงาม สัมมนาที่คุณหมอวีซ่าเพิ่งจะ present ไปหมาดๆที่ CP Inter สำนักงานกรุงเทพฯของเราเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2013 ที่ผ่านมา ว่าด้วยเรื่องของผู้ติดตามทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าคู่ครองที่มีชาวออสซี่หรือ PR เป็นสปอนเซอร์ให้โดยตรง หรือเป็นผู้ติดตามนักเรียน ผู้ติดตามวีซ่าทำงาน 457 ก็ตาม ท่านผู้ฟังทุกท่านก็พากันได้ความรู้กลับไปอย่างถูกต้องเป็นแถวๆ ดูแววตาแห่งความหวังของเยาวชนรุ่นหนุ่มรุ่นสาวที่มาร่วมฟังสัมมนาแต่ละท่าน หากคุณหมอวีซ่ามี magic wand ก็อยากจะ waive ให้ทุกคนได้วีซ่าเข้าไปสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างอนาคตที่สดใสกันอย่างทั่วหน้าทุกคน เสียดายที่รัฐบาลชุดนี้เคี่ยวสุดๆ วีซ่าเข้ายากเข้าเย็นกัน และเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนคนทำวีซ่าที่ดีๆซื่อสัตย์อย่างเราก็หมดกำลังใจได้เหมือนกันนะคะ หลายๆเอเย่นซี่ส่งนักเรียนไปเรียนออสเตรเลียที่เคยขยัยส่ง ก็หันไปทำประเทศอื่นกันหมดเช่น UK, USA, Canada, New Zealand ที่นโยบายด้านวีซ่านักเรียนไม่ได้ยากเหมือนออสฯในขณะนี้ แต่ก็ต้องดูกันเป็นกรณีๆไปนะคะ คุณหมอวีซ่าและทีมงานจะถูก train มาให้บอกกันตรงๆ หากผู้ใดไม่มีโอกาสได้วีซ่าเลย ก็จะไม่รับทำเคส หรือหากกรณีที่โดนปฏิเสธวีซ่ามาจากที่อื่น โดนเพิกถอนวีซ่า หรือโดนแบน 3 ปีกลับเข้าไปไม่ได้ หากช่วยแก้ไขให้ได้ ก็จะช่วยเต็มที่ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะบอกกันตรงๆนะคะ ไว้พบกันใหม่ในฉบับหน้านะคะ ซาโยนาระค่ะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: