Thaipress 21/10/2010

จากการที่คุณหมอวีซ่าได้รับเชิญให้เข้าร่วม workshop เกี่ยวกับการศึกษาต่อต่างประเทศในระดับโลกจัดขึ้นโดยองค์กร ICEF ที่กรุงปักกิ่งในช่วงวันที่ 13-15 ตุลาคม 2010 ที่ผ่านมา ได้สัญญากับท่านผู้อ่าน Thai Press ว่าจะนำเรื่องน่าสนใจที่พบเห็น และสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนไปตามกระแสโลก มาเล่าสู่กันฟัง

เนื่องจากงานครั้งนี้จัดขึ้นที่ประเทศจีน คุณหมอวีซ่าจึงขอเขียนถึงสภาพปัจจุบันของประเทศและชาวจีนสักเล็กน้อย โดยเฉพาะเด็กจีนรุ่นใหม่ ล้วนมีเป้าหมายเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศกันทั้งนั้น ชาวจีนสมัยนี้ยิ่งร่ำรวยมาก การส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อเมืองนอก ดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับชาวจีนสมัยใหม่ กระทั่งงาน World Youth ปี 2010 นี้ ก็ยังมาจัดกันในกรุงปักกิ่งอย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร ทำให้สรุปได้ว่าโลกสมัยนี้ช่างแคบลงมามากเลยค่ะ การบินไปมา การสื่อสารระหว่างเด็กกับผู้ปกครองสะดวกสบายมาก เรียนจบแล้ว บ้างก็อยู่ทำงานต่อต่างประเทศหาประสบการณ์สักระยะ บ้างก็อยู่ต่อในระยะยาวขึ้นแล้วแต่โอกาสจะอำนวย และนักเรียนจีนสมัยนี้เรียนจบก็กลับไปทำงานสร้างธุรกิจ หรือดำเนินการสานต่อกิจการพ่อแม่ต่อก็มากมายอยู่ ที่คุณหมอวีซ่าประทับใจอีกอย่างคือ เด็กจีนสมัยนี้ ไม่เพียงแต่พูดภาษาจีนและอังกฤษได้เท่านั้น บ้างยังสามารถสื่อภาษาทางยุโรป เช่น เยอรมัน อิตาลี่ สเปน หรือภาษาแถบสแกนดิเนเวีย แถมยังมีกลุ่มที่ได้ภาษาแถบเอเซียเช่นญี่ปุ่น เกาหลีได้อย่างคล่องแคล่วอีกด้วย

งาน ICEF ที่คุณหมอวีซ่าไปร่วมมาครั้งนี้ มีสถาบันการศึกษาจากทั่วโลกเดินทางมารวมตัวกันทั้งจากสหรัฐอเมริกา (USA), อังกฤษ (UK), Canada, Australia, New Zealand, ประเทศในแถบยุโรป เช่น Switzerland, Germany, Turkey, Malta, Russia, etc.. ประเทศในแถบเอเซีย เช่น Malaysia, Singapore, Japan และที่มาแรงในปัจจุบันคือ ประเทศจีน China เอง เนื่องจากปัจจุบันประเทศจีนเติบโตเร็วมากทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จนทั่วโลกคาดว่าจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจยิ่งกว่าสหรัฐอเมริกาอย่างที่คุณหมอวีซ่าเกริ่นไปข้างต้นซะอีก และที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่ไทยเรากลับมานิยมส่งลูกหลานไปเรียนภาษาจีนที่เมืองจีนกัน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าและการงานในอนาคต คุณหมอวีซ่าเองยังได้มีโอกาสคุยกับนักเรียนไทยหลายท่านที่อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง และได้เซ็นสัญญาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสอนภาษาจีนไว้หลายแห่งเพื่อให้น้องๆลูกหลานนักเรียนไทยมีโอกาสไปเรียนภาษาจีนและเรียนระดับปริญญาหรือสาขาอื่นๆกัน ดังนั้น หากน้องๆสนใจจะเดินทางสายนี้ และอยากไปเรียนภาษาจีนขนานแท้ที่เมืองจีนกัน ก็ติอต่อคุณหมอวีซ่าที่ CP มาเลยนะคะ จะช่วยแนะแนวหนทางใหม่สู่อนาคตอันสดใสให้ด้วยความจริงใจค่ะ

พูดเรื่องเมืองจีนมามากมาย ขอเปลี่ยนไปเกริ่นเรื่องของการพัฒนาการทางด้านวีซ่าของประเทศแถบตะวันตกบ้าง ในงาน ICEF ครั้งนี้ คุณหมอวีซ่ามีโอกาสฟัง update และสัมมนาหลายหัวข้อ มีหัวข้อหนึ่งที่คุณหมอวีซ่าเห็นว่าน่าสนใจมากและอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ก็คือ การไปศึกษาต่อที่ประเทศแคนาดา เนื่องจากตอนนี้ Canada มาแรงด้วยโปรแกรมที่เรียกกันว่า “Dual Intent” พูดตามภาษาชาวบ้านเราก็คือ ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว อธิบายได้ดังนี้ ก็คือ เนื่องจากรัฐบาลแคนาดาได้เล็งเห็นความสำเร็จของประเทศออสเตรเลียใน 10 ปีที่ผ่านมาในการใช้ช่องทางทางการศึกษาเพื่อคัดเลือกผู้อพยพที่มีคุณภาพที่เรียนจบจากประเทศของตน โดยออกใบอนุญาตให้อาศัยอยู่ทำงานและในที่สุดอยู่อย่างถาวรต่อจนได้สัญชาติออสเตรเลียไป ทำให้มีนักศึกษาจากทั่วโลกหลั่งไหลกันเข้าไปทำการศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลียมากมายจนแทบจะยกให้เป็นอันดับหนึ่ง ชิงตำแหน่งอเมริกาและอังกฤษจากตลาดไทยในสิบปีที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ เพียงเสียดายที่ประเทศออสเตรเลียไม่ได้มีการวางแผน และควบคุมโครงการที่ดี จึงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโครงการวีซ่าทักษะ (GSM หรือ General Skilled Migration) และนำไปสู่เรื่องการตัดทั้งวีซ่าทักษะและวีซ่านักเรียนขึ้นในปี 2009 จนเป็นผลให้ตลาดการศึกษาของออสเตรเลียได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงพอควร

ในขณะที่การศึกษาในประเทศอังกฤษ อเมริกา และแคนาดาเกิดการได้เปรียบทางการค้าไป เพราะเด็กไทยเรากลับหันเหไปเรียนต่อทางขั้วโลกเหนือกันใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะโครงการ Dual Intent ของ Canada นั้น ได้รวม Education กับ Migration เข้าไว้ด้วยกัน โดยการเปิดโอกาสอนุมัติให้นักศึกษาที่เรียนจบ 2 ปีในแคนาดาสามารถสมัครเป็นผู้ถือถิ่นฐานถาวรทำงานในแคนาดาได้อย่างง่ายๆตามที่ออสเตรเลียเคยเปิดโครงการไว้แต่ครั้งก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นในปี 2009 ส่วนประเทศแคนาดาฉลาด เพราะได้นำจุดบกพร่องของประเทศออสเตรเลียมาแก้ไข และเพิ่มความระมัดระวังในการวางแผนไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอย่างที่เกิดในประเทศออสเตรเลียได้ โครงการของประเทศแคนาดาจึงได้รับความนิยมจากนักเรียนนักศึกษาจากทั่วโลกเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ส่วนสิทธิ์การทำงาน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับนักเรียนนานาชาติในระหว่างช่วงเปิดเรียน และทำงานได้เต็มเวลาในระหว่างช่วงปิดเทอมนั้น แคนนาดาก็อำนวยให้เหมือนๆกัน ดังนั้น น้องๆที่ประสบกับความผิดหวังในการเรียนจบ 2 ปีแล้ว ไม่สามารถขออยู่อย่างถาวรในประเทศออสเตรเลียได้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

หากเปลี่ยนใจอยากไปอยู่แคนาดาแทน ก็ลองติดต่อสอบถามอ่านข้อมูลลองดูนะคะ เพราะจากการเรียนรู้ข้อมูลมา คุณหมอวีซ่าคิดว่าอาจเป็นช่องทางใหม่ที่ดีที่น้องๆสามารถรับไว้พิจารณาได้นะคะ ไว้ฉบับต่อๆไป คุณหมอวีซ่าจะเขียนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเรียนต่อพร้อมเรื่องวีซ่าของประเทศ Canada ให้ท่านผู้อ่าน Thai Press ได้อ่านกัน เผื่อจะเห็นช่องทางใหม่ในชีวิต เพราะไม่ว่าจะเรียนที่ประเทศใดในโลกตะวันตก ก็ใช้เงินมากพอๆกันทั้งนั้นค่ะ

อีกเรื่องหนึ่งที่คุณหมอวีซ่าอยากเล่าสู่กันฟังก็คือ ตอนนี้เด็กไทยเราหันไปเรียน USA กับ UK กันเสียเป็นส่วนใหญ่ อาจจะด้วยเหตุผลที่ค่าเงินของ US dollars ตอนนี้อ่อนตัวลง และเงินออสเตรเลีย (Australian dollars) กลับแข็งตัวขึ้นมากกว่าเงิน US เสียอีก ประกอบกับค่าเงินบาทของไทยเราก็แข็งตัวขึ้นมาก อีกอย่างขณะที่วีซ่าเข้าออสเตรเลียเกิดการเข้มงวดขึ้นมาก วีซ่าไป USA กับ UK กลับผ่อนตัวลงมาก ผ่านสัมภาษณ์กันอย่างง่ายๆโดยดูจากนักเรียนที่บริษัท CP เองส่งไป USA กับ UK ก็หลายรายแล้ว ยิ่งเห็นจากการจัดงาน CP International Education Fair 2010 ที่โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซ๊ส ที่มาบุญครองเมื่อวันที่ 9 October 2010 ที่ผ่านมา บูทสถาบันจากประเทศอังกฤษกับสหรัฐอเมริกาแน่นจนคิวยาวแถบจะออกไปนอกประตูเลยก็ว่าได้ จึงทำให้สรุปได้อย่างมั่นใจว่าการศึกษาต่อต่างประเทศในโลกปัจจุบันนั้น ไร้ขอบเขตจริงๆค่ะ และคนไทยเราก็ไวมาก ประเทศไหนไปง่ายในช่วงไหน ก็แห่ตามกันไป ที่รู้ๆช่วงนี้ การศึกษาต่อในซีกโลกเหนือกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง หลังจากหลายปีผ่านไปที่อเมริกาเกิดเหตุ September 11 ที่ตึก Twin Towers ถูกเครื่องบินชนถล่มลง

คำถามหนึ่งที่น้องๆถามกันบ่อยก็คือไปเรียนอังกฤษ อเมริกา หรือที่แคนาดานั้น ทำงานได้ไหม ก็ขอตอบว่า ที่อเมริกานักเรียนสามารถทำงาน on-campus หรือภายในวิทยาเขตได้ตลอดเวลาที่ลงทะเบียนเรียนอยู่ เท่าที่สถาบันแจ้งมา เมื่อเรียนครบ 12 เดือนก็สามารถทำงานนอกวิทยาเขตได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามกฎหาย แต่เมื่อเรียนจบ น้องๆสามารถขออยู่อเมริกาต่อด้วยวีซ่าที่เรียกว่า Curricular Practical Training หรือ CPT เป็นเวลา 1 ปี เพื่อฝึกงานในสาขาที่ตนเรียนมาได้ หรือขอวีซ่า Optional Practical Training หรือ OPT เพื่ออยู่ทำงานเต็มเวลาได้หลังจบหลักสูตรปริญญา โดยถ้ามีนายจ้างสปอนเซอร์ ก็สามารถขอวีซ่า H-1B ได้ตั้งแต่ 3-6 ปี และยังสามารถขอ Green Card หรือใบเขียวอยู่ยาวได้อีกถ้านายจ้างยินดีสปอนเซอร์ต่อเนื่อง

ส่วนที่อังกฤษ ช่วงเรียนทำงานได้ 20 ชั่วโมงเช่นกัน ส่วนช่วงปิดเทอม ทำได้ 40 ชั่วโมง แต่จุดที่ดีก็คือผู้ติดตามผู้ถือวีซ่านักเรียนของประเทศอังกฤษทำงานได้โดยไม่มีข้อจำกัด และเมื่อจบหลักสูตรปริญญา สามารถขอวีซ่า Tier 1 อยู่ทำงานในประเทศอังกฤษ 1 ปี จุดเด่นของอังกฤษก็คือโปรแกรมปริญญาโท อาทิ MBA เรียนเพียง 1 ปีก็จบ นักเรียนหลายคนจึงอยู่ทำงานต่ออีกปี

ส่วนโปรแกรมที่น่าสนใจอีกอย่างที่เสนอโดยรัฐบาล Canada ก็คือ โครงการ “Work and Study in Canada” กล่าวคือ เรียนภาษากี่เดือน ก็จะให้สิทธิ์อยู่ทำงานหลังเรียนจบเท่านั้นเดือน อย่างเช่น หากน้องๆลงเรียนภาษาที่แคนาดาไว้ 6 เดือน เรียนจบแล้ว ก็สามารถอยู่ทำงานต่อได้อีก 6 เดือน เป็นต้น
เรียกว่าในโลกแห่งการศึกษาต่อต่างประเทศนั้น แต่ละประเทศก็มีจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง แล้วแต่น้องๆสนใจอยากไปเรียนไปอยู่ไปทำงานที่ประเทศไหนนั่นเอง ทั้งนี้ คุณหมอวีซ่าจึงอยากแนะนำให้น้องๆลองอ่านข้อมูลเบื้องต้นค้นคว้าในเว๊ปไซท์เองก่อนว่าแต่ละประเทศเป็นอย่างไร แล้วเราอยากไปที่ไหนก็มุ่งไปทางนั้น

ด้วยการศึกษาที่ไร้ขอบเขตของโลกปัจจุบัน คุณหมอวีซ่าขอแจ้งข่าวดี ว่าตอนนี้ที่ CP เราได้ขยายฐานไปทางการศึกษาต่อที่ประเทศ USA, UK, Canada, Singapore, Malaysia และจีน แล้ว หากน้องๆท่านไหนสนใจจะไปแสวงหาความรู้ ประสบการณ์และโอกาสในดินแดนถิ่นใหม่ ก็ติดต่อมาที่ CP ได้เลยนะคะ ยินดีช่วยให้ความฝันของน้องๆเป็นจริงค่ะ

ก่อนจบ ขอ update เรื่องวีซ่าออสเตรเลียสักเล็กน้อยนะคะ สำหรับน้องๆที่จะเข้าไปขอติด visa label ที่อิมมิเกรชั่น เดี๋ยวนี้ DIAC ทุกสาขาจะยินดีติดให้เฉพาะช่วง 09.00-11.00 น. ยกเว้นที่ DIAC Cairns จะเป็นช่วง 13.00-15.00 น. เท่านั้นนะคะ จะได้ไม่เสียเวลาเข้าไปเก้อกันค่ะ ส่วนอีกเรื่องที่รัฐบาลชุดที่มีรัฐมนตรี Chris Evans เป็น Minister for Immigration ได้ประกาศถอนวีซ่าทักษ (Skills Visas) อย่างไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้า ที่เรียกว่า Migration Amendment (Visa Capping) Bill 2010 นั้น ตอนนี้กฎหมายข้อนี้ก็ได้พับไปพร้อมๆกับการล้มรัฐบาลชุดเก่า และมีการเลือกตั้งใหม่เมื่อเดือน สิงหาคม 2010 ที่ผ่านมา และหากท่านรัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง Chris Bowen MP ท่านใหม่เห็นบังควร ก็ต้องนำเรื่องนี้กลับเข้าไปให้ทางสภาฯพิจารณากันใหม่หมด ดังนั้น น้องๆที่ถูกถอน applications ไปทั้งหลาย ไว้คุณหมอวีซ่ากลับถึงซิดนีย์ตอนต้นเดือน November นี้ ลองนัดเข้ามาพบนะคะ อาจช่วยหาทางออกให้ได้ค่ะ

การเดินทางจากซิดนีย์เป็นเวลาร่วม 3 เดือนของคุณหมอวีซ่าครั้งนี้ ได้ทั้งประสบการณ์ ความรู้ และ ideas ใหม่ๆมาฝากลูกหลานพี่น้องชาวไทยเรามากมาย เอาไว้จะค่อยๆนำมาเขียนในคอลัมของ Thai Press นี้ รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับการเรียนต่อในประเทศอื่นๆและเรื่องวีซ่าของประเทศนั้นๆมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นความรู้และทางเลือกใหม่สำหรับท่านผู้อ่าน สาระสนุกสนานและเป็นประโยชน์ทั้งนั้น อย่าพลาดกันนะคะ แล้วไว้พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: