Dr Visa Article – 17 July 2019

สวัสดีค่ะ พบกันอีกครั้งในบทความที่น่าสนใจ อ่านสนุก ได้ความรู้เกี่ยวเรื่องราว เหตุการณ์ กฎหมาย นโยบายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆในวงการวีซ่าของประเทศออสเตรเลีย โดยเรื่องราวและตัวอย่างที่มาบอกเล่าสู่กันฟังประกอบกับการอ้างอิงตามกฎหมายเข้าเมืองมาตราต่างๆนั้น ล้วนเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจากการที่คุณหมอวีซ่าได้มีโอกาสให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีปัญหาทุกข์ใจเกี่ยวกับเรื่องวีซ่าที่เป็นตัวตัดสินอนาคตว่าพวกเขาเหล่านั้นจะได้อยู่หรือต้องไปจากออสเตรเลีย แต่จะไม่มีการอ้างอิงถึงชื่อจริง เป้าหมายก็เพื่อให้ความรู้และเตือนสติผู้อ่านหลายท่าน ที่บางครั้งรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปจ้างคนที่ไม่มีวุฒิและประสบการณ์ในการทำวีซ่าให้ โดยเสียตังไปมากมายแล้วไม่ได้ผลวีซ่าตามที่ต้องการมาเพราะเดินเรื่องผิดพลาดบ้าง ไม่ตรงตามที่กฎหมายอำนวยบ้าง เป็นต้น บางเรื่องเล่าก็เป็นอุทาหรณ์ให้ท่านพึงระมัดระวังอย่าไปเชื่อใครพูดชักจูงอะไรกันง่ายๆ สมัยนี้มี internet กับ WIFI ที่ใช้ได้อย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงควร research เปิดอ่านศึกษาในสิ่งต่างๆก่อนตกลงปลงใจจ่ายสตางค์จ้างคนที่พูดชักจูงเก่ง แต่ไม่รู้จริง หรือส่งต่อให้คนอื่นทำจนผลลัพธ์กลับมาเล๊ะตุ้มเป๊ะ ต้องมาตามแก้ไขกันอย่างลำบากยากเข็ญยิ่งนัก

Domestic Violence – Hope and Help

สำหรับวันนี้ ด้วยแรงบันดาลใจและกำลังใจที่ได้จากลูกค้าที่เพิ่งผ่านวีซ่าคู่ครองโดยผ่านช่องทางความรุนแรงในครอบครัว จนได้วีซ่าถาวร (Permanent Resident หรือ PR) ไปครองให้อยู่ในออสเตรเลียได้โดยไม่ต้องอาศัยการสปอนเซอร์ต่อเนื่องจากคู่ครองที่เป็นชาวออสซี่อีกต่อไป ติดๆกันสองสามเคสภายในสัปดาห์เดียวกันที่ผ่านมา ประกอบกับเห็นโฆษณาใน YouTube กับโทรทัศน์ของออสเตรเลีย อีกทั้งช่วงนี้อยู่เมืองไทยก็ได้ดูข่าวที่เสนอเรื่องราวความรุนแรงในครอบครัวทั้งที่พ่อแม่ (เห็นโดยปกติมักจะมีฝ่ายหนึ่งเป็นพ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยง) ทำกับเด็กเล็ก อาการหนักจนซี่โครงหักต้องส่งเข้าโรงพยาบาล กับ ทั้งที่สามีทำร้ายภรรยาทั้งร่างกายและจิตใจ หรือ ลุงทำกับหลานสาวน้อยอย่างน่าสงสาร คุณหมอวีซ่าจึงอยากนำเรื่องราวกฎหมายที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวมาเล่าสู่กันฟัง โดยเฉพาะอยากให้เรื่องราวที่เล่าให้ฟังนี้ไปถึงหูของผู้หญิงมากมายที่ได้แต่งงานกับชาวออสซี่ไปแล้ว มารู้ทีหลังว่าคู่รักที่เคยรักและแสนหวานกับเรานั้น แท้จริงเป็นคนรุนแรง หรือจิตไม่ปกติ หรือเอารัดเอาเปรียบเราทางการเงิน ไม่เลี้ยงดูเรา บ้างก็โดนทำร้ายไม่ว่าจะด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม แต่จำต้องทนอยู่ให้เขาทำร้ายอย่างต่อเนื่อง เพราะกลัวเขาจะถอนวีซ่าให้หลุดไปแล้วต้องกลับบ้านโดยไม่มีโอกาสทำงานหาเงินไปจุนเจือเลี้ยงดูครอบครัวตนเองที่เมืองไทยอีก สามีแบบนี้มักชอบขู่ถอนวีซ่าอยู่แล้ว เหล่านี้เป็นต้น คุณหมอวีซ่าอยากบอกด้วยความรักและปรารถนาดีต่อทุกท่านที่ประสบปัญหาทำนองเดียวกันนี้ว่า อย่าเพิ่งสิ้นหวังนะคะ เพราะมีทางออก กฎหมายมักคุ้มครองฝ่ายถูกทำร้ายค่ะ พร้อมกันนี้ ก็จะแนะนำว่าควรทำอย่างไร เพื่อความอยู่รอดของเราเองโดยไม่ต้องไปกลัวไปพึ่งอีกฝ่ายนึงนะคะ

สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าคู่หมั้น หรือคู่ครองที่เรียกว่า Partner Visa ไม่ว่าจะเป็นที่ยื่นไปจากเมืองไทยที่เป็นประเภท sc300, sc309 หรือที่ยื่นภายในประเทศออสเตรเลียที่เป็นประเภท sc820 ก็ตาม ตามกฎหมาย จะต้องถือวีซ่าตัวนี้ที่จัดเป็นขั้นแรกของวีซ่าคู่ครองไปก่อน 2 ปีเต็มๆโดยต้องใช้ชีวิตอาศัยอยู่กับคู่ครองที่เป็นสปอนเซอร์ให้ หลังจากนั้น หากทางคู่ครองที่เป็นชาวออสซี่ (PR or citizen) ยินดีเซ็นเอกสารเป็นสปอนเซอร์ต่อเนื่องให้ในขั้นที่สองต่อมา เขาเหล่านั้นจึงจะสามารถข้ามฝั่งไปถือวีซ่า (sc100, sc801) ที่เป็นวีซ่าถาวร หรือ PR ได้ ในระหว่างสองปีนี้สิ หากมีเรื่องราวไม่ปรองดองกันขึ้นมา ฝ่ายที่ถูกสปอนเซอร์ก็มักจะโดนข่มขู่สารพัด (ถ้าไม่ตามใจเขา) ว่าเขาจะยกเลิกวีซ่าของเรา ก็เลยทำให้กลัว จึงยอมทนทุกสิ่งทุกอย่าง กระทั่งบางรายถูกกักขังไว้แต่ในบ้านไม่ให้ไปไหน บางรายก็โดนตบตี บางรายก็โดนกระทำชำเราทางเพศ บ้างก็ถูกใช้ให้ออกไปทำงานมาเลี้ยงเขา บ้างก็ถูกไล่ออกจากบ้านเพราะฝั่งสปอนเซอร์ไปมีกิ๊กใหม่ บ้างก็โดนเอารัดเอาเปรียบทางการเงิน ต่างๆนานา อันนี้ ส่วนใหญ่ในหลายกรณี จะเป็นหญิงไทยที่ไปแต่งกับฝรั่งออสซี่ แต่อย่าลืมว่ากฎหมายก็พิทักษ์คู่ที่เป็นเพศเดียวกัน ชาย-ชาย หญิง-หญิง ด้วยอย่างยุติธรรมเช่นกันนะคะ คุณหมอวีซ่าขอบอกเลยว่า ต่อไปนี้ ไม่ต้องทนอีกแล้วค่ะ กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกทำร้าย และอนุมัติให้ข้ามฝั่งไปเป็น PR ได้โดยไม่ต้องอาศัยฝ่ายสปอนเซอร์เซ็น sponsorship ต่อเนื่องให้ ตามเนื้อหาที่ copy มาจากเว็บของ DHA น้องๆสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์นี้ได้เลยนะคะ 

จะเห็นได้ว่า การยื่นเรื่องความรุนแรงในครอบครัวนั้น ไม่ใช่แต่แค่เฉพาะโดนทำร้ายร่างกายเท่านั้น กฎหมายยังรวมถึง การทำร้ายทางจิตใจ การถูกบังคับในเรื่องเพศสัมพันธ์ แยกให้อยู่อย่างสันโดษ หรือ โดนเอารัดเอาเปรียบด้านการเงิน ซึ่งรวมไปถึงเงินสินสอดทองหมั้นที่เราได้มาจากพ่อแม่ด้วย เมื่อไม่นานมานี้ มีกรณีที่ศาล Federal Circuit Court มีการตัดสินออกมาว่า แค่ฝ่ายหนึ่งขู่ว่าจะไปยกเลิกวีซ่าของเรา ก็ถือว่าเข้าข่ายความรุนแรงในครอบครัวแล้ว เห็นแล้วยังว่า กฎหมายคุ้มครองเรามากขนาดไหน ต่อไปคุณหมอวีซ่าจะเล่าเรื่องตัวอย่างของสามสาวที่คุณหมอวีซ่าได้ช่วยให้ลูกค้าผ่านข้ามฝั่งไปเป็น PR ได้โดยไม่ต้องง้อสามี ไม่ต้องทนทรมาณกับการถูกขู่เช้าขู่เย็น อีกต่อไป

เรื่องที่ 1 เป็นเรื่องของน้องเอ A (นามสมมุติ)

Domestic Violence – Hope and Help

น้องอายุประมาณ 26 ปี เริ่มชีวิตในประเทศออสเตรเลียจากการได้วีซ่านักเรียนผ่าน CP International ไปเรียนต่อที่รัฐออสเตรเลียตะวันตก (Western Australia) ในสถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง วันหนึ่งไปพบรักกับหนุ่มรูปหล่อคนหนึ่งใน coffee shop ดื่มกาแฟไปดื่มกาแฟมา ทั้งสองก็เรียกได้ว่ารักแรกพบ ถูกอกถูกใจกัน จนคบค้าเป็นแฟนกันมาอย่างต่อเนื่อง จนน้องเรียนจบหลักสูตรภาษา แล้วก็ตัดสินใจกลับมาแต่งงานกันที่เมืองไทย แล้วให้คุณหมอวีซ่ากับทีมงานทำเรื่องวีซ่าคู่ครอง Partner Visa sc309 ต่อเนื่องให้ จนวีซ่าผ่าน น้องก็ไปอยู่กับแฟนที่ WA ทั้งสองก็ลงเงินซื้อบ้าน ผ่อนบ้านด้วยกัน จนวันหนึ่ง เวลาผ่านไปเพียงปีเศษๆ แฟนน้องก็เดินทางไปทำงานที่ต่างเมือง จนได้พบหญิงใหม่ที่เป็นลูกสาวของ boss ครานี้เรื่องก็ยุ่งละสิ เพราะพ่อแฟนดันไปสนับสนุนรักใหม่คนนี้ เพราะเป็นเพื่อนสนิทกับ boss มาด้วยกัน เลยหาสารพัดวิธีมารังแกน้องเอ กับยุให้ลูกชายตนไปอยู่กับหญิงคนใหม่นี้ และให้เดินออกจากชีวิตของน้องเอไปเลย สงสารน้องเอ ติดต่อทีมงานคุณหมอวีซ่ามาด้วยน้ำตาที่ไหลคลอไม่หยุด พร้อมน้ำหนักที่ลงฮวบฮาบไปทีเดียว 6 กิโล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ผอมโทรมจนเป็นคนละคนกันเลยก็ว่าได้

พ่อสามีก็ใช่ย่อย พยายามมาขับไล่ไสส่งให้ออกจากบ้าน เพราะต้องการยึดทั้งบ้านทั้งรถให้ลูกชายตน และขู่ว่าจะให้ลูกชายถอนวีซ่าน้องเอ และน้องเอต้องกลับเมืองไทยไปซะ อย่ากลับมาออสเตรเลียอีก อ้าว เล่นผู้ใหญ่รังแกเด็กอย่างนี้ มาเจอทีมงานคุณหมอวีซ่าก็สวยล่ะสิ เราไม่ชอบเห็นใครรังแกคนที่อ่อนแอกว่า ยิ่งไม่ชอบที่พ่อสามีมาเอาเปรียบลูกสะใภ้ที่แต่งเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แถมไปยุแหย่ให้ลูกชายตัวเองมีหญิงใหม่ ทีมงานเราก็เลยเสนอทางออกให้น้องว่าทำ PR โดยไม่ต้องอาศัยแฟนเซ็นสปอนเซอร์ต่อให้ไหม ไม่ต้องไปกลัวพ่อขู่ น้องเคยไปคุยกับทนายในท้องที่มา เขาก็บอกว่าทำไม่ได้ เพราะคนขู่ไม่ใช่เป็นสามีน้อง แต่เป็นพ่อ แต่คุณหมอวีซ่ามั่นใจว่าทำได้ เพราะกฎหมายต้องคุ้มครองคนที่ถูกรังแกสิ ก็เลยลุยงาน จัดน้องพบหน่วยงานต่างๆ กู้บ้านกู้รถไว้ให้น้องได้มีที่อยู่ มีรถใช้ก่อน ที่เหลือเราก็จัดให้น้องไปพบหน่วยงานในชุมชน โดยบางที่ก็ให้บริการฟรี แล้วเราก็ส่งหลักฐานต่างๆเข้าอิมฯตามข้อเรียกร้องของกฎหมาย จากนั้นก็รอ และขอหมายศาลไม่ให้พ่อสามีมาตัดล๊อคกุญแจบ้าน หรือมาเข้าใกล้ตัวน้องอีก

เรื่องใช้เวลาเดินอยู่ประมาณปีหนึ่ง ข่าวดีค่ะ เมื่อวันที่  4 July 2019 วีซ่าน้องเอของเราผ่านแล้ว น้องได้เป็น PR ข้ามฝั่งโดยไม่ต้องอาศัยฝ่ายชายเป็น sponsor ให้ และน้องยังอนุญาตให้เราเอาจดหมายผ่านของน้อง (โดยเราขอลบชื่อและข้อมูลลูกค้าออกหมดภายใต้กฎการรักษาข้อมูลลูกค้าเป็นความลับ) ตามที่เห็นข้างล่างนี้เลยนะคะ

 

ขอแสดงความยินดีกับน้องเอ และคุณแม่น้องเอ พร้อมน้องสาวน้องเอ ที่คอยเป็นห่วงอยู่ข้างๆมาโดยตลอด – Happy Ending ค่ะ

เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของน้องบี B (นามสมมุติ)

Domestic Violence – Hope and Help

น้องบีเคยเป็นลูกค้าของเอเจนท์อื่นมาก่อนครั้งสมัยเป็นนักเรียน ต่อมาเจอหนุ่มฝรั่งออสซี่มาจีบ ไม่นานก็เป็นแฟนกัน และตัดสินใจย้ายไปอยู่ด้วยกัน แล้วฝ่ายชายก็จ้างเอเจนท์เจ้าหนึ่งเดินเรื่องคู่รัก Partner visa sc820 ให้น้องบีจนสำเร็จใหม่ๆเขาก็ดีต่อน้องบีมาก แต่พออยู่ๆไป อาการแปลกๆก็เริ่มออก อย่างเช่น ใช้ชื่อน้องไปทำรายการทางการเงินอย่างน่าพิรุธ พอดีน้องบีเองมีเพื่อนผู้หญิงที่สนิทมากคนหนึ่ง ไปมาหาสู่ช่วยเหลือกันเป็นประจำ เจ้าแฟนออสซี่ก็อิจฉา และเที่ยวตามสอดส่องว่าน้องมีความสัมพันธ์กับเพื่อนสาวคนนี้เกินกว่าความเป็นเพื่อนหรือเปล่า นอกจากจะมีจ้างคนตามน้องแล้ว ยังติดตั้งกล้องทั่วบ้านทุกห้องคอยสอดส่องน้องอีก โดยเฉพาะในห้องน้ำเหมือนคนเป็นโรคจิต น้องบีเองโดนขู่เข็ญบังคับอะไรหลายอย่าง จนวันนึง แฟนออสซี่ขนเอาเสื้อผ้าน้องบีไปกองไว้หน้าบ้าน แล้วไล่ออกจากบ้านไม่ให้เข้าบ้านอีก น้องตกใจมาก ไม่มีที่ไป ก็เลยไปอาศัยเพื่อนผู้หญิงคนนี้อยู่ไปก่อน ในระหว่างนี้ แฟนออสซี่ก็ยังจ้างคนไปติดตามน้องบีไม่หยุด และขู่ว่าเขารู้จักคนเยอะ จะทำอะไรน้องก็ไม่ใช่เป็นเรื่องยากเลย จนน้องหดหู่และกลัวมาก ทนไม่ได้จึงไปแจ้งความตำรวจ ส่วนทางตำรวจก็มีการทำเรื่องสั่งห้ามไม่ให้แฟนออสซี่เข้าใกล้ตัวน้องบีในวงรัศมีกี่กิโลเมตรเพื่อคุ้มครองน้อง ตอนมาพบคุณหมอวีซ่า หลังฟังเรื่องอย่างละเอียดแล้ว เราก็แนะนำให้ยื่นเรื่อง Domestic Violence เข้าไปเพื่อช่วยให้น้องข้ามฝั่งไปเป็น PR ได้โดยไม่ต้องไปพึ่งฝ่ายชายเป็นสปอนเซอร์ให้ แต่น้องบีเองไม่ได้มีหลักฐานอะไรมากนัก จนทีมงานเราต้องอธิบายให้ฟังว่า โอกาสที่เคสจะผ่านหรือไม่ผ่าน ก็ครึ่งๆ เราะหลักฐานไม่ได้เรียกว่าแข็งโป๊ะเช๊ะ แต่ถ้าไม่ผ่านในขั้นอิมฯ เราก็จะไปสู้ในระดับอุทธรณ์ AAT ให้ มีโอกาสชนะมากกว่า หลังจากเรื่องเดินไปกว่าปีเล็กน้อย เมื่อเร็วๆนี้ ก็ได้ข่าวดี วีซ่า sc801 PR ของน้องผ่านแล้ว ทีมงานเราดีใจมากๆที่ไม่เสียแรงลุ้น ช่วยน้องให้พ้นทุกข์ไปได้ด้วยดีอีกราย… Happy Ending….

เรื่องที่ 3 เป็นเรื่องของน้องซี C (นามสมมุติ)

Domestic Violence – Hope and Help

เชิญมาฟังต่อในงานสัมมนาของ CP International ตามรายละเอียดข้างล่างนี้เลยนะคะ คุณหมอวีซ่าจะเล่าด้วยตนเองเลยค่ะ ต่อด้วยเรื่องที่ 4 และอาจแถมเรื่องที่ 5 ถ้ามีเวลาเหลือเพียงพอที่จะเล่าให้ฟังนะคะ เชิญมาพบกับคุณหมอวีซ่าพร้อมทีมงาน ในสัมมนา “วีซ่าคู่รักที่มีปัญหาและเคสซับซ้อน” มาดูว่าหลายๆเคสที่อยู่ในโซนสีเทา ไม่แน่ใจว่าจะผ่าน หรือไม่ผ่านวีซ่า ลองมาฟังวิธีการแก้ปัญหาของเราที่ได้ช่วยให้หลายต่อหลายท่านสมหวังและมีอนาคตที่ดีกว่าในประเทศออสเตรเลีย ตั้งหลักแหล่งอยู่ได้อย่างถูกกฎหมายไร้กังวล…

Seminar Migration

***แต่ทั้งนี้ขอย้ำว่า บทความนี้ไม่ได้เป็นภาพรวมส่วนใหญ่ของผู้ที่ทำเรื่องคู่นรักไปอยู่ออสเตรเลียทั้งหมดนะคะ หลายๆคู่ส่วนใหญ่ก็ลงเอยกันได้ดี รักกันอยู่กินกันจนมีลูกมีหลาน ก็มีมากมายก่ายกองอยู่ค่ะ และเคสตรงไปตรงมาเหล่านี้ที่มี Happy endings เราก็ทำมามากต่อมากแล้วเช่นกัน ในงานเราก็จะช่วยแนะนำว่า ควรยื่นเอกสารอย่างไร ขั้นตอนที่ถูกเป็นอย่างไร ถึงจะมีโอกาสผ่านวีซ่าโดยไม่สร้างปัญหาให้ตนเองมากนักตามมาภายหลังนะคะ***

สมัครเข้าร่วมงาน สัมมนาวีซ่าคู่รักมีปัญหาและเคสซับซ้อน โดยคุณหมอวีซ่า

งานสัมมนาที่ CP International อาคารพหลโยธินเพลส ชั้น 9 วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2562 เวลา 13.00 - 16.00 น.

ติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราโดยตรง