Dr Visa Article – 9 Feb 2019

สวัสดีค่ะ แฟนคลับคุณหมอวีซ่าทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องที่กำลังเป็นหัวข้อท๊อปฮิ๊ตโดยเฉพาะในหมู่นักเต๊ะลูกหนัง นักฟุตบอล กับแฟนคลับซ๊อกเกอร์ทั้งหลาย เนื่องจากคุณฮาคีม  (Hakeem al-Araibi) เป็นนักเต๊ะฟุตบอลที่ดั้งเดิมมีต้นกำเนิดเป็นชาวบาร์เรน แต่ต่อมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014ได้รับสถานภาพเป็นผู้ลี้ภัย (refugee) และได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นักเตะลูกหนังมืออาชีพท่านนี้ รูปร่างหน้าตาดีหล่อเหลาเอาการ อายุก็เพียง 25 ปีเศษๆ ยังหนุ่มยังแน่นและแน่นอนมีอนาคตไปได้ไกลมากโดยเฉพาะในเมืองจิงโจ้ที่ผู้คนชื่นชอบจนเรียกว่าบ้าคลั่งในการกีฬาสายนี้มาก ฮาคีมจึงเป็นนักกีฬาฟุตบอลที่โด่งดังเป็นที่ชื่อชอบของแฟนๆลูกหนังในออสเตรเลียไม่เบาเลยทีเดียว เมื่อไม่นานมานี้ คุณฮาคีมก็ได้พบรัก และแต่งงานตั้งครัวเรือน และเมื่อสองเดือนก่อนก็ได้พาภรรยาสุดที่รักไป honeymoon ที่เมืองที่ใครๆก็กล่าวขวัญกันมานานว่าเป็นเมืองสวรรค์ คือที่เมืองไทย บ้านของพวกเราๆกันนี่เอง แต่พอลงจากเครื่องบินปุ๊บ ก็ปรากฏว่า ตกใจอย่างแรง เพราะมีขบวนตำรวจไปต้อนรับอย่างเป็นทางการเลยค่ะ คือถูกจับเข้าคุกอย่างไม่รู้ตัวมาก่อนล่วงหน้าเลย น่าสงสารมาก จนทุกวันนี้เท้าคุณฮาคีมก็โดนล่ามโซ่ยิ่งกว่าเป็นนักอาชญากรซะอีก จนท่านนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ ท่าน Scott Morrison ของออสเตรเลียค่อนข้างเคืองอย่างแรงและจดหมายไปถึงนายกรัฐมนตรีท่านประยุทธ์ จันทร์โอชา ขอให้ปล่อยตัวส่งคุณฮาคีมกลับออสเตรเลียด้วยเถิด จนถึงทุกวันนี้ คุณฮาคีมก็ยังติดอยู่ในคุก เรื่องคงยังลากยาวไปอีกสักระยะ บางข่าวก็บอกว่าถึงสิงหาคมปีนี้ จะได้ปล่อยตัวออกมาหรือเปล่าก็ยังไม่มีใครทราบได้เลยค่ะ

Refugee and Humanitarian Program

Hakeem al-Araibi’s legs are shackled as he is escorted by Thai prison officers after Monday’s extradition hearing. Photograph: Diego Azubel/EPA

(Source: ภาพจาก The Guardian, Australian edition ลงวันที่  Wed 6 Feb 2019 08.03 AEDT)

คุณหมอวีซ่าตามข่าวมาได้ซักระยะ สรุปเอาว่าเรื่องแบบนี้ เมืองไทยเองก็ตกอยู่ที่นั่งลำบากไม่น้อย เพราะประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศทั้งบาร์เรนกับออสเตรเลีย โดยเฉพาะประเทศออสเตรเลียเพิ่งจะผูกมิตรกันอย่างแน่นแฟ้นจากผลงานช่วยเหลือน้องหมูป่า 13 คนรอดชีวิตออกจากถ้ำ จนผลงานของชาวออสซี่ คุณหมอ Dr Craig Challen and Dr Richard Harris  กับท่านอื่นๆและทั้งจากความร่วมมือของสถานทูตออสเตรเลียที่เมืองไทยอย่างอบอุ่น มาเจอเรื่องแบบนี้ เป็นใครก็เซ็งนะ เหมือนกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก ฝั่ง Interpol บ้านเราก็ถือว่าทำหน้าที่ได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เอาไงดีเนี๊ยะ เรื่องของการเมือง ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ เอาเป็นว่าท่านผู้อ่านก็คอยติดตามข่าวกันเองต่อไปก็แล้วกันนะ คุณหมอวีซ่าไม่ขอลงความเห็น แต่อยากให้ปลดโซ่ติดเท้าของคุณฮาคีมจัง เห็นเลือดไหลซิ๊บๆแล้วสงสารอ่ะ

ในเมื่อเชี่ยวชาญเรื่องวีซ่าเข้าออสเตรเลีย คุณหมอวีซ่าก็จะขอนำเรื่องของวีซ่าผู้ลี้ภัย (Refugee and Humanitarian Program) มาคุยให้ฟังกันคร่าวๆ เผื่อท่านผู้อ่านอยากรู้อยากเห็นว่า เอ๊ะ แล้วคุณฮาคีม เป็นราษฎรชาวบาร์เรนแท้ๆ อยู่ดีๆมีสิทธิ์อพยพมาอยู่ออสเตรเลียกลายเป็นผู้ลี้ภัยไปได้ไงเอ่ย

เช่นเดียวกับหลายๆประเทศในยุโรป อเมริกา แคนนาดา ประเทศออสเตรเลียก็มีโปรแกรมรับผู้ลี้ภัยภายใต้โครงการสนับสนุนมนุษยธรรมที่ลงนามไว้กับประเทศต่างๆทั่วโลกในความร่วมมือจากนานาประเทศ สำหรับประเทศออสเตรเลีย โครงการนี้ จะให้ความช่วยเหลือกับ

  • ผู้ลี้ภัยที่อยู่นอกออสเตรเลีย แต่มีความจำเป็นขอเข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากไม่มีทางเลือกอื่นในชีวิต หรือไม่มีประเทศอยู่
  • ผู้ที่ได้เดินทางเข้ามาถึงออสเตรเลียแล้ว และต้องการขอความคุ้มครองจากประเทศออสเตรเลีย เพราะไม่สามารถกลับเข้าประเทศของตนได้ด้วยเหตุผลตรงตามคำจำกัดความของกฎหมาย Migration Act 1958 ว่าด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบสากลของประเทศออสเตรเลียที่จะไม่ส่งคนที่เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายกลับไปเสี่ยงภัยรุนแรง หรือเสียชีวิตในประเทศตน

นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ออสเตรเลียได้รับผู้ลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศแล้วกว่า 880,000 คนจากประเทศต่างๆทั่วโลกหลายเชื้อชาติ โดยให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีชีวิตที่ปลอดภัยและดีขึ้นภายใต้โครงการนี้ ในปี 2018-2019 ออสเตรเลียได้รับผู้ลี้ภัยเข้ามาแล้วเป็นจำนวนถึง 18,750 คน ด้วยคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับนานาประเทศทั่วโลกที่ร่วมโครงการมนุษยธรรมครั้งนี้

ตามคำจำกัดความคร่าวๆ ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยและอาจมีสิทธิ์ขอความคุ้มครองจากรัฐบาลออสเตรเลียได้ จะต้องเป็นผู้ที่อยู่นอกประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่โดยปกติ (บ้านเกิดของตน) และ ต้องมีความหวาดกลัวอย่างรุนแรงว่ากลับไปแล้วจะมีภัยเกิดกับตัวอาจถึงชีวิตได้ (well-founded fear of persecution) ที่สามารถพิสูจน์ได้ หรือไม่ปรารถนาที่จะกลับเข้าไปอยู่ประเทศของตนเองอีกได้เพราะมีความเสี่ยงภัยต่ออันตรายที่อาจได้รับหากกลับเข้าไปในประเทศของตนอีก จะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกกลุ่มในสังคม หรือเหตุผลทางการเมือง ก็ตาม หากพิสูจน์ได้ว่าหากตนเองต้องกลับไปบ้านเกิดของตน อาจต้องภัยต่างๆตามที่เว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นลงไว้อย่างชัดเจน ได้แก่:

  • a threat to the person’s life or liberty
  • significant physical harassment of the person
  • significant physical ill treatment of the person
  • significant economic hardship that threatens the person’s capacity to subsist (ability to survive)
  • denial of access to basic services, where the denial threatens the person’s capacity to subsist (ability to survive)
  • denial of capacity to earn a livelihood of any kind, where the denial threatens the person’s capacity to subsist (ability to survive)

(Source: https://immi.homeaffairs.gov.au/what-we-do/refugee-and-humanitarian-program/about-the-program/seek-protection-in-australia/australia-protection-obligations)

หรือจะด้วยเรื่องของการถูกกีดกัน ดั่งเช่น สาวน้อยที่โดนบังคับเรื่องแต่งงาน และหนีออกจากประเทศตะวันออกกลางไปเมืองไทย และขอเป็นผู้ลี้ภัยจนประเทศแคนนาดาได้รับเข้าไปอยู่แล้วทุกวันนี้ เป็นต้น สาวน้อยคนนี้เข้าข่ายกรณีตามนี้:

Modifying behaviours

According to the Act, a person does not have a well-founded fear of persecution if they can take reasonable steps to modify their behaviour so as to avoid a real chance of persecution in their home country. However, this would not be the case if such a change would:

  • conflict with a characteristic that is fundamental to the person’s identity or conscience
  • require the person to conceal or hide a characteristic that is innate or immutable (one that they could not change), or
  • require the person to:
    • change their religious beliefs, including by renouncing a religious conversion, or conceal their true religious beliefs, or cease to be involved in the practice of their faith
    • conceal their true race, ethnicity, nationality or country of origin
    • change their political beliefs or conceal their true political beliefs
    • conceal a physical, psychological or intellectual disability
    • enter into or remain in a marriage to which that person is opposed, or accept the forced marriage of a child
    • alter their sexual orientation or gender identity or conceal their true sexual orientation, gender identity or intersex status.

(Source: https://immi.homeaffairs.gov.au/what-we-do/refugee-and-humanitarian-program/about-the-program/seek-protection-in-australia/australia-protection-obligations)

สำหรับคุณฮาคีม ออสเตรเลียยังมีกฎหมายกับนโยบายการรับผู้ลี้ภัยภายใต้โครงการที่เรียก ว่า Complementary Protection ซึ่งให้ความคุ้มครองกับคนที่ ไม่เข้าข่ายเป็นผู้ลี้ภัยตามคำจำกัดความทางกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถส่งกลับไปบ้านของตนได้ เพราะจะได้รับอันตรายรุนแรงบางอย่างที่ไม่คล้องจองตามหลักของมนุษยธรรม จึงมาขอความคุ้มครองจากประเทศออสเตรเลียภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรียกกันว่า Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) and the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) and have been incorporated into the Act.

ภัยอันตรายที่ว่านั้น กฎหมายระบุไว้ค่อนข้างชัดเจน ก็แล้วแต่กรณีที่ผู้ยื่นจะต้องมีเหตุผลและหลักฐานไปพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นด้วยกับการอนุมัติวีซ่าคุ้มครองให้ได้อยู่ในประเทศออสเตรเลียเป็นราษฎรเสรีที่นี่ อย่างเช่นเป็นภัยที่ส่งอันตรายถึงชีวิต การทรมานแบบไร้มนุษยธรรมจนถึงตาย การจะโดนประหารชีวิต เป็นต้น

เรื่องของวีซ่าผู้ลี้ภัย เป็นเรื่องซับซ้อน ไม่ใช่ใครก็เข้ามาขอความคุ้มครองจากรัฐบาลออสเตรเลียได้ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นกรณีที่เกิดจริง และมีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยทั่วไป เอาเป็นว่าคุณหมอวีซ่าเขียนเล่าคร่าวๆให้อ่านเล่นสนุกๆกันนะคะ ไว้เจอกันฉบับหน้าโดยจะมีเรื่องแปลกๆมาเล่าให้ฟังกันอีกค่ะ บ๊ายบาย…

สำหรับวันนี้ คุณหมอวีซ่ามีโปรโมชั่น ดีๆจากทีมงาน CP International มาฝากอีกเช่นเคย

One on one Macquarie

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: