22 June 2014

สวัสดีจากกรุงเทพฯค่ะ ช่วงนี้สถานการณ์โลกไม่ค่อยดีเลย เครื่องบินมาเลเซีย MH 17 ก็โดนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน Donetsk ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในยูเครนยิงจนเครื่องตก ทำให้ผู้โดยสารทั้งลำเสียชีวิตหมด ช่างเป็นเรื่องที่น่าสลดใจจริงๆค่ะ โดยเฉพาะผู้เสียชีวิตประกอบไปด้วย professors กับคุณหมอผู้ทรงคุณวุฒิตั้งหลายท่านที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย มีรุ่นน้องที่เป็นแพทย์ที่เดินทางไปประชุมโรคเอดส์ที่กรุงเมลเบิร์นแจ้งว่า อาจารย์หมอจาก Netherland ที่ให้ทุนสนับสนุนสภาโรคเอดส์แห่งประเทศไทยนั่งมากับลำนี้ด้วย เสียดายสุดๆกับชีวิตคุณภาพที่ต้องจากโลกนี้ไปอย่างไม่ทันรู้ตัวเลย คุณหมอวีซ่าขออธิษฐานเผื่อดวงวิญญาณทุกดวงให้ไปสู่สุขตินะคะ

ผ่านมาเพียงแค่ 3 อาทิตย์หลังเริ่มปีภาษีใหม่ 1 July 2014 ดูเหมือนอิมมิเกรชั่นจะนิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฎใดๆ แต่หารู้ไม่ว่าอิมฯสมัยนี้ทำการเปลี่ยนแปลงกฎหมายกันโดยไม่บอกไม่กล่าวกันล่วงหน้าเลยนะคะ ครั้งนี้เกี่ยวกับการยื่นวีซ่าคู่ครองในออสเตรเลียสำหรับผู้ที่เป็นผีทั้งหลาย ทั้งๆที่การเปลี่ยนนโยบายการยื่นวีซ่าคู่ครองภายในออสเตรเลียสำหรับผู้ที่ไม่มีวีซ่าอยู่นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่พอควร จากที่คุณหมอวีซ่าเคยช่วยเหลือลูกค้าหลายต่อหลายคู่ให้ได้อาศัยอยู่อย่างถาวรในออสเตรเลียทั้งๆที่ฝ่ายหนึ่งไม่มีวีซ่าและเคยชินกับเงื่อนไขเก่าที่คู่รักเคยอยู่กินกันมาครบ 2 ปี หรือหนึ่งปีมีลูกด้วยกันที่ประกาศใช้มาตั้งแต่กันยาฯ คศ 2009 นั้น ก็ปรากฎว่าเปลี่ยนนโยบายอีกแล้วนะคะ จึงอยากนำมาบอกกล่าวในฉบับนี้ให้กระจ่าง เผื่อใครเข้าข่ายไม่เข้าข่ายก็จะได้เตรียมตัวกันถูกนะคะ

เอาฉบับภาษาอังกฤษตาม Policy Advice Manual หรือที่เรียกว่า PAM3 ที่คัดมาให้อ่านคร่าวๆไปก่อนดังนี้นะคะ:

8.7 Other unlawful ​non-citizens

Clause 820.211(2)(d)(ii), the ‘compelling reasons’ provision, allows certain persons who are unlawful in Australia to regularise their status if compelling reasons exist.

The Migration Regulations do not prescribe the circumstances that need to be considered when assessing whether or not ‘compelling reasons’ exist to not apply Schedule 3 criteria 3001, 3003 and 3004. As such, officers should consider circumstances on a case by case basis.

In doing so, however, officers should be mindful that the intent of the waiver provisions is to allow persons whose circumstances are genuinely compelling to regularise their status. The provisions are not intended to give, or be perceived to give, an unfair advantage to persons who:

  • fail to comply with their visa conditions or
  • deliberately manipulate their circumstances to give rise to compelling reasons or
  • leave Australia and apply for and leave Australia and apply for a Partner visa outside Australia.

An example of where the circumstances may not be compelling to waive the Schedule 3 requirements may be where an applicant has remained unlawful for a number of years, made little or no effort to regularise their status and claims compelling circumstances on the basis of a long term relationship with their sponsoring partner and/or hardship caused by separation if they were to apply outside Australia for the visa.

With the intent of the waiver provisions in mind, it is generally reasonable to expect that compelling reasons to exercise the waiver provision exist where an applicant’s circumstances happened beyond their control. That is, circumstances beyond the applicant’s control had led them to become unlawful and/or prevented them from regularising their status through means other than the Partner visa application for which they seek the waiver.

For example, in the scenario given earlier, it is reasonable to accept that compelling circumstances exist to waive the Schedule 3 criteria if, for reasons beyond the applicant’s control – such as severe illness or incapacity – the applicant was prevented from regularising their status in the years they had been unlawful.

As a general rule, the existence of a genuine spouse or de facto relationship between the applicant and sponsoring partner, and/or the hardship suffered from the separation if the applicant were to leave, and apply for the visa, outside Australia are not, in themselves, compelling reasons not to apply the Schedule 3 criteria. This is because a genuine relationship forms the basis of all Partner visa applications, and hardship caused by separation, whilst it differs in degree from one case to another, is common in the Partner visa caseload, particularly in the offshore context where partners may be separated for extended periods during visa processing.

Policy intends that the waiver provision should not be applied where it is reasonable to expect the applicant to leave Australia and apply outside Australia for a Partner visa. This not only ensures fairness and equity to other applicants and discourages deliberate non-compliance, but also preserves the integrity of the Partner visa program in general and the waiver provisions in specific.

(Source: The Procedures Advice Manual III (PAM 3) as of 1 July, 2014)

หลายๆคน อาจได้รับผลประโยชน์จากการที่เคยยื่นวีซ่าคู่ครองภายในประเทศออสเตรเลียได้ทั้งๆที่ไม่มีวีซ่าอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายจากนโยบายที่ทางอิมมิเกรชั่นเคยประกาศใช้มาตั้งแต่ครั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน คศ 2009 โดยท่านรัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองฯในสมัยนั้นได้ออกประกาศอนุมัติให้ผู้ที่ไม่มีวีซ่าอยู่อย่างถูกต้องในออสเตรเลีย สามารถยื่นวีซ่า Partner ในออสเตรเลียได้หากมีความสัมพันธ์การกินอยู่ฉันท์สามี – ภรรยาครบ 2 ปี ขึ้นไป หรือ 1 ปี + มีลูกด้วยกัน นับจากนั้นเป็นต้นมา ก็ทำให้ผู้ที่ไม่มีวีซ่ามีกำลังใจ และกล้าที่จะยื่นวีซ่า partner กับคู่ครองกันมากขึ้น ซึ่งทางอิมมิเกรชั่นก็ออกวีซ่าให้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ ผ่านมาหลายต่อหลายเคสแล้ว เนื่องจากมีความเห็นอกเห็นใจไม่อยากให้คู่รัก คู่ครองต้องพลัดพรากจากกัน โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปรอที่ไทย หลายๆคนก็มีเหตุจำเป็นต่างกันไปที่ทำให้ตัวเองนั้นต้องหลบหนีวีซ่าอยู่อย่างไม่สบายใจ จะด้วยเหตุผลมีลูก มีสามี-ภรรยาที่ต้องคอยดูแลหรืออื่นๆ เป็นต้น

แต่นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2014 ที่ผ่านมา ทางอิมมิเกรชั่นก็ได้ออกกฎใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ว่านับต่อไปนี้ผู้ที่ไม่มีวีซ่าอยู่อย่างถูกต้องในออสเตรเลีย หากจะอยากยื่นวีซ่า partner ในออสเตรเลียไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เว้นแต่ว่ามีเหตุผลหรือเหตุจำเป็น (Compelling Reasons beyond control) ที่ตัวผู้สมัครไม่สามารถที่จะควบคุมได้ กล่าวคือถ้าหากต่อไปนี้ผู้ยื่นจะใช้เหตุผลว่ามีความสัมพันธ์กับแฟนที่เป็น PR หรือ citizen มาครบ 2 ปี หรือ 1 ปีมีลูกด้วยกัน และต้องการขอยื่นวีซ่าในออสเตรเลียโดยไม่กลับไทยไปยื่น วีซ่าก็อาจจะโดนปฏิเสธได้อย่างง่ายๆ เพราะถือว่ามีเหตุจำเป็นไม่เพียงพอที่จะขออยู่ยื่นในออสเตรเลีย หรือในบางคู่ที่บอกว่าถ้าหากแฟน หรือคู่ชีวิตจำเป็นต้องกลับไทย ครอบครัวของตนก็จะประสบปัญหาความยากลำบากเรื่องเงินทอง ค่าเลี้ยงดู ไม่มีอีกคนคอยดูแลช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย หรือจะต้องทนทุกข์จากการแยกกันอยู่ กินไม่ได้นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผล ซึ่งทางอิมมิเกรชั่นก็บอกว่าต่อไปนี้ ผู้สมัครทั้งหลายไม่สามารถใช้เหตุผลทำนองนี้มาอ้างได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจะว่าไปแล้ว ถ้าหากต้องกลับไทย เหตุการณ์ที่ต้องแยกกันอยู่กับสปอนเซอร์ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้สมัครวีซ่า partner มาจากเมืองไทยก็ประสบปัญหาอย่างเดียวกันเช่นกันอยู่แล้ว

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าอิมมิเกรชั่นจะไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีวีซ่ายื่นในออสเตรเลียได้อีกต่อไปนะคะ เว้นแต่ว่ามีเหตุจำเป็นเกินกว่าที่ตัวผู้สมัครจะควบคุมได้ ทำให้ต้องยื่นวีซ่าที่นี่โดยไม่กลับไทยไปยื่น ซึ่งในแต่ละเคสก็จะได้รับการพิจารณาเป็นเคสๆไป เช่นตัวผู้สมัครป่วยหนัก เดินทางไม่ได้ หรือท้องแก่ใกล้คลอด ซึ่งอิมมิเกรชั่นเองก็มีกฎในการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น

  • เคยมีประวัติโดนปฏิเสธวีซ่า / หรือโดนยกเลิกวีซ่ามาก่อนหรือเปล่า
  • ไม่มีวีซ่ามาแล้วกี่ปี
  • เหตุผลว่าทำไมถึงไม่มีวีซ่า และทำไมถึงไม่พยายามทำเรื่องให้อยู่ถูกต้องในออสเตรเลีย หรือเคยยื่นวีซ่าประเภทอื่นนอกเหนือจากวีซ่าแต่งงานหรือเปล่า

จะว่าไปแล้วการที่อิมมิเกรชั่นออกกฎหมายใหม่ตัวนี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการให้ทุกคนอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายในออสเตรเลีย การที่คนส่วนใหญ่อาศัยวีซ่าเข้ามาอยู่ในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นวีซ่านักเรียน วีซ่าท่องเที่ยว หรือวีซ่าอะไรก็ตามแล้วตัดสินใจโดดวีซ่า หรือไม่ปฏิบัติตามกฎของวีซ่านั้นๆ ก็เท่ากับเป็นการ abuse หรือเอาเปรียบใช้ประโยชน์ระบบวีซ่าของออสเตรเลียไปในทางที่ผิดๆ ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้อิมมิเกรชั่นและรัฐบาลออสเตรเลียออกมาตรการนี้ขึ้นมาใหม่เพื่อการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น

ท่านผู้อ่านทั้งหลายที่ได้อ่านบทความนี้ก็อย่าเพิ่งเสียใจหรือตกใจกันไปนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการจะยื่นวีซ่า partner และยังมีวีซ่าอยู่อย่างถูกต้องในออสเตรเลียก็ยังสามารถยื่นวีซ่าที่นี่ได้เหมือนเดิม หรือท่านใดที่กำลังประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องวีซ่านักเรียนกำลังจะโดนแคนเซิลหรืออะไรก็ตาม ก็ขอให้รีบจัดการให้ถูกต้อง อย่าปล่อยให้ตัวเองโดนยกเลิก พอถึงเวลาอยากจะยื่นวีซ่า partner จริงๆ ก็อาจจะต้องกลับไปยื่นที่ไทย แต่จะว่าไปแล้วการยื่นที่ไทยก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไปนะคะ ไม่ว่าจะเป็นด้วยค่าวีซ่าที่ถูกกว่า แถมระยะเวลาในการรอวีซ่าก็ไวกว่า ระหว่างรอก็สามารถขอวีซ่าท่องเที่ยวกลับมาเยี่ยมแฟนที่ออสเตรเลียได้ แถมยังได้กลับไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ที่เมืองไทยอีก ส่วนใครที่คิดว่าตัวเองนั้นมีเหตุจำเป็นเพียงพอที่จะยื่นวีซ่าในออสเตรเลียได้ เพื่อความชัวร์ สามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่ซีพี ฯ ทุกสาขาเลยค่ะ เนื่องจากการเขียน compelling reasons หรือเหตุผลที่น่าเห็นใจที่ขอให้อิมมิเกรชั่นอนุมัติให้ยื่นวีซ่าที่ออสเตรเลียได้โดยไม่ต้องกลับไปยื่นที่ไทยนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามแต่เหตุการณ์และกรณีของแต่ละผู้สมัคร อันนี้คุณหมอวีซ่าเองก็ต้องคุยถามรายละเอียดถึงจะตอบได้ว่าสามารถยื่นได้ไหมนะคะ ในกรณีที่ประเมินแล้ว เหตุผลพอเขียนกันได้ ก็จะช่วยเต็มที่สมตามฉายานาม “คุณหมอวีซ่า” อยู่แล้วค่ะ

สำหรับวันนี้คุณหมอวีซ่าขอลาไปก่อนนะคะ

เมื่อวันที่9 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นวันคล้ายวันเกิดครบ60ปีของคุณหมอวีซ่าหรือคุณปิ๊ปค่ะ ทีมงานที่กรุงเทพHappy Birthdayกันค่ะ
เมื่อวันที่9 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นวันคล้ายวันเกิดครบ60ปีของคุณหมอวีซ่าหรือคุณปิ๊ปค่ะ ทีมงานที่กรุงเทพHappy Birthdayกันค่ะ
พร้อมด้วยคุณAndrew Biggsด้วยค่ะ
พร้อมด้วยคุณAndrew Biggsด้วยค่ะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: