3 October 2011

ถึงแม้ช่วงนี้วีซ่าของออสเตรเลียอาจจะยังทรงๆอยู่ แต่ก็มีข่าวออกมามากมายเกี่ยวกับธุรกิจไมเกรชั่น หรือวีซ่าที่ดำเนินงานอย่างผิดกฎหมาย จนเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าไปปิด และจับกุมเป็นแถบๆ คุณหมอวีซ่าจึงขอคัดเนื้อข่าวข้างล่างมาให้ทุกคนอ่าน ซึ่งข่าวนี้คุณหมอวีซ่าก็ได้มาจากเว็บของอิมมิเกรชั่นโดยเฉพาะ

Immigration targets unregistered migration advice syndicate

A criminal syndicate providing unregistered migration advice to foreign nationals has been shut down following a police operation in Perth early today.

The execution of the search warrants brings to a close a 12-month multi-jurisdictional investigation.Prosecutions are now under consideration as the Department of Immigration and Citizenship (DIAC) works with the Commonwealth Director of Public Prosecutions to pursue further action.“People who practise as unregistered migration agents in Australia are breaking the law and may be subject to fines of up to $6600 or imprisonment for up to 10 years,” a DIAC spokesman said.The investigation involved DIAC officers with the assistance of the Australian Federal Police (AFP) in which the scheme’s unregistered migration agents claimed to be able to arrange ‘working visas’ for non-citizens.“Organisers were charging exorbitant fees for unregistered migration assistance, and were also lodging visa applications which contained false information relating to claims for asylum,” the spokesman said. “Over the past 12 months, DIAC has conducted a series of targeted operations in New South Wales, Victoria and Western Australia aimed at dismantling this syndicate.”As a result of information obtained during recent operations, search warrants were executed by immigration investigators with the assistance of the AFP early today in Perth.The operation follows the execution of warrants Sydney in July in which large numbers of visa applications were seized at the residence and office of the principal suspect of this investigation.“The department has received outstanding support from the AFP, Victoria Police and other government agencies during this investigation which has demonstrated the whole-of-government resolve to protect the integrity of Australia’s migration programs,” the spokesman said. “In Australia there are strict rules about helping someone with their visa application.“If you are a migration agent you must be registered with the Office of the Migration Agents Registration Authority [Office of the MARA],” he added.

From: http://www.newsroom.immi.gov.au/media_releases/962

ข่าวนี้มาจาก newsroom ของ Department of Immigration and Citizenship เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2011 เนื้อข่าวข้างต้นกล่าวถึงว่าทางเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นได้ดำเนินการปิดบริษัทเอเยนต์เถื่อนที่เพิร์ธเมื่อวันที่ 25 และได้ดำเนินการจริงจังกับเอเยนต์เถื่อนที่ดำเนินการทางด้านวีซ่า โดยการเรียกร้องค่าบริการเป็นจำนวนมากจากลูกค้า และรับสมัครด้านวีซ่าถาวรต่างๆ โดยการให้ข้อมูลเท็จกับเจ้าพนักงาน ซึ่ง DIAC ยังกล่าวอีกว่าถ้าหากพบว่าบุคคลใดดำเนินการในฐานะเอเยนต์เถื่อน หรือที่ไม่ได้จดทะเบียนกับ Office of the Migration Agents Registration Authority หรือ MARA มีสิทธิโดนปรับเป็นจำนวนเงินสูงสุด $6600 และมีสิทธิโดนจำคุกเป็นเวลาสูงสุด 10 ปี จากเนื้อข่าวข้างต้น ก็พอจะสรุปได้ว่าในปัจจุบันอิมมิเกรชั่นเคร่งครัดมากกับบุคคลที่ดำเนินการเป็น ไมเกรชั่นเถื่อน หรือไม่ได้รับการจดทะเบียนที่ถูกต้อง เพราะหากพบว่ามีบุคคลใดดำเนินการธุรกิจอย่างผิดกฎหมาย ก็มีสิทธิที่จะโดนซิวเข้าคุกได้ง่ายๆ ข้อนี้ก็เป็นข้อเตือนใจสำหรับทุกๆคนที่ต้องการจะยื่นวีซ่าไม่ว่าจะเป็นในออสเตรเลีย หรือนอกออสเตรเลียก็ตาม สมควรที่จะเลือกใช้บริการเอเยนต์ที่ได้เป็นสมาชิกของ MARA เพราะสมาชิกที่ได้รับการรับรองโดย MARA ย่อมมีความน่าเชื่อถือกว่าคนที่ไม่ได้รับการรองอยู่แล้ว แถมมีสิทธิเสียเงินมากโดยไม่จำเป็น และอาจจะโดน refuse visa ได้ง่ายๆอีกด้วยMARA หรือที่เรียกว่า Office of the Migration Agents Registration Authority นั้นเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุญาติและรับรองไมเกรชั่นเอเยนต์ทั้งหลาย ว่าจะต้องอยู่ในกฎตามที่พระราชบัญญัติการตรวจคนเข้าเมือง (Migration Act 1958) ได้กำหนดเอาไว้ กฎหมายที่มีหน้าที่ในการควบคุมเจ้าหน้าที่เอเยนต์ทั้งหลายของ MARA นี้เรียกว่า Code of Conduct หรือที่คุณหมอวีซ่าขอเรียกสั้นๆว่าระเบียบแบบแผนที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่เอเยนต์จะต้องดำเนินการไปในทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็น การทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ยื่นข้อความเท็จ และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่ง Code of Conduct นี้ก็มีจุดประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานในระดับเดียวกันสำหรับเอเยนต์ทุกๆคนว่าทุกคนจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของกฎหมายคุณหมอวีซ่าต้องขอบอกว่าการจะเข้ามาเป็นสมาชิก หรือจดทะเบียนกับ MARA ในการเป็นไมเกรชั่นเอเยนต์ที่สามารถดำเนินงานให้กับลูกค้านั้นไม่ใช่ง่ายๆ เพราะจะว่าไปแล้วการเป็น ไมเกรชั่นเอเยนต์ที่จดทะเบียนกับ MARA นั้นก็ถือว่าผ่านการรับรองจากภาครัฐ ดังนั้นทาง MARA จึงเข้มงวดกับผู้ที่ต้องการจะสมัครเป็น ไมเกรชั่นเอ-เยนต์ เพราะต้องมีการตรวจสอบทั้งทางด้านความประพฤติ ทางด้านการเงินว่าเคยล้มละลายมามั้ย หรือตลอดจนต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ดังนี้- เคยทำผิดกฎหมายมาหรือเปล่า- เคยล้มละลายมาหรือเปล่า – ซึ่งจะต้องส่งเรื่องให้ the Insolvency Trustee Service Australia (ITSA) ตรวจสอบสถานะการเงินของเรา- มีเงินประกันจากหัวหน้างาน หรือในบริษัทถึง $250,000 ถ้าหากไม่ใช่ทนายความ – เรียนจบปริญญาตรีมาเป็นขั้นต่ำ-ถ้าหากไม่ใช่ทนายความ ก็จะต้องไปลงเรียนหลักสูตร Graduate Certificate in Australian Migration Law and Practice และต้องผ่านหลักสูตรนั้นอีกด้วย- ต้องมีความสามารถทางภษาอังกฤษอีกด้วย โดยมีการเสนอให้ต้องสอบ IELTS Academic ให้ได้ 7 เหล่านี้เป็นเพียงคุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่จะสมัครเป็นไมเกรชั่นเอเยนต์ได้ จะเห็นว่าทาง MARA นั้นค่อนข้างเข้มงวดและตั้งมาตรฐานไว้สูงสำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะสมัคร เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าใครๆก็เป็นได้ เพราะถ้าไม่มีคุณสมบัติตามที่ทาง MARA กำหนดก็ไม่สามารถที่จะสมัครเป็นเอเยนต์ได้ สาเหตุที่ทาง MARA กำหนดเช่นนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวลูกค้านั่นละคะ เพื่อที่ลูกค้าทั้งหลายจะได้มั่นใจว่าเอเยนต์ที่เราเลือกใช้นั้นเป็นเอยนต์ที่ได้รับการรับรองและมีความรู้ทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่น เพื่อที่จะช่วยเราในการดำเนินการทางด้านวีซ่าได้ ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้มีการกำหนดไว้ใน Code of Conduct ว่าเอเยนต์ที่ได้รับการจดทะเบียนจาก MARA จะต้องมีความรู้ทางด้านพระราชบัญญติการตรวจคนเข้าเมือง (Migration Act 1958) และต้องมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ใน Migration Agents Regulations 1998 นอกจากความรู้ทางด้านกฎหมาย สิ่งที่จำเป็นที่สุดของการเป็นไมเกรชั่นเอเยนต์ที่ดีคือ จะต้องไม่ทำผิดกฎหมาย โดยการปิดบังข้อมูล หรือจงใจบอกลูกค้าว่าเอเยนต์สามารถออกวีซ่า หรือสามารถโน้มน้าวให้อิมมิเกรชั่น ออกวีซ่าได้ไวขึ้นเป็นต้น ซึ่งเอเยนต์ที่ดีนั้นจะต้องมีความซื่อตรง ไม่หลอกลวงลูกค้า เพราะมีกรณีมานักต่อนักแล้วที่เอเยนต์บางคนอาจจะไปสัญญากับลูกค้าว่าสามารถยื่นวีซ่าให้ผ่าน แล้วเก็บเงิน ทั้งๆที่รู้ว่าเคสนั้นมีโอกาสที่จะไม่ผ่าน แต่ก็เลือกที่จะปิดบังลูกค้า ไม่ยอมบอกความจริง ซึ่งคุณหมอวีซ่าเชื่อว่าความซื่อตรงและความจริงใจที่เอเยนต์มีต่อลูกค้าถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจนี้ รัฐบาลออสเตรเลีย หรือสถานทูตออสเตรเลียในประเทศไทยจะมีแถลงการณ์ออกมาว่า บุคคลใดก็ตามที่ต้องการจะยื่นสมัครวีซ่าไม่จำเป็นต้องใช้เอเยนต์ แต่เพื่อความสบายใจ หรือถ้าหากไม่มั่นใจในการยื่นวีซ่าจะใช้เอ-เยนต์ก็ได้ แต่ทางสถานทูตนั้นแนะนำว่าควรจะเลือกใช้เอเยนต์ที่ได้รับการจดทะเบียนกับ MARA และเป็นเอเยนต์ที่จดทะเบียนในประเทศออสเตรเลียอีกด้วย เพราะถ้าหากลูกค้าหรือน้องๆไปเลือกใช้บริการกับไมเกรชั่นที่ไม่ได้จดทะเบียนก็ต้องระวังในเรื่องของข้อกฎหมาย แทนที่จะได้รับการใช้บริการ แต่อาจต้องเสียเงินไปเปล่าๆ เพราะอาจโดนเค้าหลอกก็เป็นได้ วิธีในการสังเกตว่าเอเยนต์ที่เราไปหานั้นเป็นเอเยนต์ที่จดทะเบียนกับ MARA นั้นทำได้ง่ายๆ โดยขอดูใบขึ้นทะเบียนที่ทาง MARA ออกให้ ขนาด A4 และมีหมายเลขทะเบียนเจ็ดตัวเลข เช่นของคุณหมอวีซ่าก็จะเป็น 9896337 โดย 2 ตัวแรกเช่น 98 จะเป็นการบ่งบอกปีที่ขึ้นทะเบียน เช่นของคุณหมอวีซ่าก็ขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ปี คศ 1998 เป็นต้น อีกอย่างที่สังเกตได้คือ สำนักงานของเอเยนต์นั้นจะต้องมีการแสดงข้อมูล Code of Conduct ไว้ในสถานประกอบการ หรือถ้าหากไม่มีแล้วลูกค้าร้องขอ ทางเอเยนต์นั้นๆก็ต้องมีเอกสารให้ลูกค้าให้พร้อม ตลอดจนเมื่อลูกค้าตัดสินใจที่จะดำเนินการกับเอเยนต์นั้นๆ ทางเอเยนต์จะต้องออก Statement of Service Fees หรือ Migration Agent Representation Agreement ให้กับลูกค้าด้วยว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ถ้าหากน้องๆไม่ได้รับในส่วนนี้ก็สามารถร้องขอได้ค่ะ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างต้นๆที่สามารถสังเกตได้เวลาไปที่สำนักงานของเอเยนต์นั้นๆ ถ้าหากเราขอไปแล้วเค้าไม่มีให้ก็พึงระวังไว้นะคะ ว่าอาจจะเจอเอเยนต์ที่ไม่ได้จดทะเบียนกับทาง MARA ก็เป็นได้ ก่อนจะจากกันไป มีข้อมูลจำนวนมากมายเกี่ยวกับการเลือกไมเกรชั่นเอเยนต์ ที่ได้รับการจดทะเบียนกับทาง MARA โดยสามารถเข้าไปดูที่ http://www.immi.gov.au/visas/migration-agents/_pdf/information-migration-agents-operating-outside-australia.pdf และ https://www.mara.gov.au/Code-of-Conduct/Code-of-Conduct/default.aspx โดยในเว็บของ MARA ยังมีการเปิดเผยชื่อของเอเยนต์ที่ถูกเพิกถอน หรือพักปฏิบัติการ ท่านผู้อ่านจึงควรเช็คให้ดีก่อนจ่ายเงิน หรือไปฟังคำชักจูงชวนเชื่อของผู้ที่ไม่หวังดี เพราะการเลือกใช้เอเยนต์ที่จดทะเบียนก็มีชัยไปมากกว่าครึ่งแล้วค่ะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: