Dr Visa Article – 9 September 2020

สวัสดีค่ะ แฟนคลับคุณหมอวีซ่าทุกท่าน

ในยุคโควิดที่มีแต่ข่าวไม่ดีที่หลายๆสื่อเสนอให้ฟังกันมากมายจนล้นหู วันนี้คุณหมอวีซ่ากลับมีข่าวดีมาแชร์นะคะ แต่ก่อนอื่นขอแชร์ข่าวหมอฟันคนไทยคนเก่งประจำอยู่ที่ No Gap Dental ที่ 384 Oxford Street ที่  Bondi Junction  ชื่อ ทพ. Nattapong Teswattana หรือ คุณหมอนัท ที่คุณหมอวีซ่าเพิ่งไปใช้บริการมาแล้วติดใจจนอยากแชร์ให้แฟนคลับในออสเตรเลียรู้กัน เพราะเครื่องมือที่คลีนิคหมอนัททันสมัยมาก โดยเฉพาะเครื่องตัดฟันครอบจากประเทศ Germany ซึ่งใช้เวลาตัดฟัน enamel เพียงแค่ไม่ถึง 20 นาทีก็เสร็จ ครอบได้ทันทีในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องส่งแบบพิมพ์ฟันไปทำที่ห้อง Lab เยี่ยงสมัยก่อนอีกแล้ว ราคาก็ถูกกว่า แถมฝีมืออุดฟันของคุณหมอนัทก็เนี๊ยบยอดเยี่ยมจริงๆ คุณหมอนัทยังหนุ่มและน่ารักมาก มาเรียนที่ออสเตรเลียตั้งแต่ชั้นประถมจนจบทันตแพทย์จาก Griffith University แล้วย้ายมาอยู่ Sydney และก็โดยบังเอิญแท้ๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ไปทำฟันกับคุณหมอนัท เพิ่งทราบว่าภรรยาคนสวยสุด friendly ของคุณหมอชื่อคุณ Tanya เป็นลูกค้าคุณหมอวีซ่ามาก่อน ทุกวันนี้ได้เป็น Australian citizen แล้วคอยให้ความช่วยเหลือคนไทยที่อยากขอนัดทำฟันคุยกันเป็นภาษาไทยอย่างเป็นกันเอง คุณหมอวีซ่าดีใจมากที่มีหมอฟันคนไทยเก่งๆมาประจำอยู่ที่ซิดนีย์คอยให้บริการชุมชนที่นี่ จึงอยากช่วยสนับสนุนหมอคนไทยเก่งๆที่นี่ ใครที่มีปัญหาเรื่องฟัน โทรไปนัดเลยนะคะที่เบอร์ (02) 8007 6702 รับรองไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ

วีซ่าบุริมสิทธิ  (Priority Migration)

เอาหล่ะคราวนี้ก็มาเข้าเรื่องของวีซ่ากันเลยนะคะ

มีข่าวดีเพิ่งประกาศออกมาสดๆร้อนๆเมื่อวันที่ 2 September 2020  นี้เอง โดย ฯพณฯท่าน Hon Alan Tudge MP, Acting Minister for Immigration, Citizenship, Migrant Services and Multicultural Affairs ร่วมกับ ฯพณฯ ท่าน Hon Michaelia Cash, the Minister for Employment, Skills, Small and Family Business ได้ประกาศลิสต์รายการสายอาชีพต่างๆที่เพิ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเรียกว่าเป็นบุริมสิทธิก็ได้ สำหรับนายจ้างในออสเตรเลียในการขอสปอนเซอร์วีซ่าให้ลูกจ้างจากต่างประเทศเข้ามาอาศัยอยู่และทำงานที่ประเทศออสเตรเลียโดยอาศัยทักษะ วุฒิและประสบการณ์งานของผู้สมัคร

List สายอาชีพดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Priority Migration Skilled Occupation List หรือเรียกย่อๆว่า PMSOL  ลิสต์ใหม่นี้ประกาศออกมาพร้อมกับข้อบังคับให้นายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์ต้องแสดงหลักฐานการโฆษณางานในเว๊ปไซท์ Jobactive ตามกระบวนการที่เรียกว่า Labour Market Testing requirements หรือ LMT ว่าไม่มีการไปเบียดเบียน ตัดสิทธิ์ หรือแย่งงานจากชาวออสซี่ที่นี่ แต่เป็นเพราะตลาดแรงงานขาดบุคลากรด้านนั้นจริงๆจนต้องสปอนเซอร์มาจากต่างประเทศ

Labour Market Testing (LMT) คืออะไร?

โดยปกติ ก่อนที่นายจ้างในออสเตรเลียจะได้สิทธิ์สปอนเซอร์ลูกจ้างจากต่างประเทศเข้ามาเติมเต็มในตำแหน่งงานที่ขาดแคลนที่ประเทศออสเตรเลียได้นั้น จะมีเงื่อนไขบังคับให้นายจ้างต้องได้พยายามลองโฆษณาหาลูกจ้างที่ถือวีซ่าถาวร หรือเป็น Australian citizen ในตลาดแรงงานภายในประเทศออสเตรเลียก่อน และถ้าหาไม่ได้จริงๆ รัฐบาลจึงจะอนุมัติให้ไปสปอนเซอร์ลูกจ้างมาจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานในประเทศออสเตรเลียได้ โดยข้อเปลี่ยนแปลงใหม่คือบังคับให้จะต้องมีการโฆษณาตำแหน่งงานที่ว่างนั้นในเว็บไซต์ของ Jobactive (http://www.jobactive.gov.au) เป็นภาคบังคับสำหรับตำแหน่งงาน (Nomination) ของวีซ่าทำงาน 457, 482, หรือ 494 ที่ยื่นภายในหรือหลังวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2020 เพิ่มเติมจากแหล่งโฆษณาอีกสองแห่งตามที่เคยทำกันมา เพื่อให้โอกาสคนออสเตรเลียได้มีโอกาสได้งานก่อน และเพื่อพิสูจน์ว่านายจ้างมีความต้องการจ้างบุคลากรในตำแหน่งที่ขาดแคลนนั้นๆจริง

ความโชคดีของคนไทย

โดยปกติแล้ว การสปอนเซอร์ลูกจ้างให้เข้ามาทำงานในออสเตรเลียจากประเทศทั่วโลก จะต้องผ่านขั้นตอนของ LMT แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบางประเทศที่มีสนธิสัญญาเซ็นไว้กับประเทศออสเตรเลียภายใต้ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศที่เรียกว่า International Trade Obligations ซึ่งรวมประเทศไทย ที่ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกเว้นด้วย ตามข้างล่างนี้เลยนะคะ

International trade obligations (ITOs)

LMT is not required where it would conflict with Australia’s ITOs, in any of the following circumstances:

  • the worker you nominate is a citizen/national of China, Japan, Mexico, Thailand or Vietnam, or is a citizen/national/permanent resident of Canada, Chile, South Korea, New Zealand or Singapore
  • the worker you nominate is a current employee of a business that is an associated entity of your business and the associated entity is located in an Association of South-East Asian Nations (ASEAN) country (Brunei, Myanmar, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand or Vietnam), Canada, Chile, China, Japan, Mexico, South Korea or New Zealand
  • the worker you nominate is a current employee of an associated entity of your business and that associated entity operates in a country that is a member of the World Trade Organisation (WTO), and the nominated occupation is an Executive or Senior Manager occupation for the purposes of ITOs and the nominee will be responsible for the entire or a substantial part of your company’s operations in Australia
  • your business currently operates in a WTO member country or territory and is seeking to set up a business in Australia, and the nominated occupation is an Executive or Senior Manager occupation for the purposes of ITOs
  • the worker you nominate is a citizen or an eligible permanent resident* of a WTO member country or territory and has worked for you in the nominated position in Australia on a full-time basis for the last two years.

Note: the above ITO exemptions do not apply for nominations lodged under a labour agreement and the Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa (subclass 494).

*eligible permanent residents in this circumstance include permanent residents of Armenia, Canada, New Zealand or Switzerland.

(Source: https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/employing-and-sponsoring-someone/sponsoring-workers/nominating-a-position/labour-market-testing)


Priority Migration Skilled Occupation List (PMSOL)

ลิสต์บุริมสิทธิที่ทางรัฐบาลออสเตรเลียประกาศออกมาในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากคำแนะนำที่ได้รับจากคณะกรรมการทักษะแห่งชาติ (National Skills Commission) ซึ่งเป็นการประกาศออกมาใช้เป็นครั้งแรกโดยจะมีการทบทวนอยู่เรื่อยๆ อาจจะมีการนำเข้าอาชีพที่เป็นที่ต้องการ และ/หรือตัดอาชีพที่ไม่เป็นที่ต้องการออกตามสภาวะของตลาดงานในประเทศออสเตรเลียในแต่ละยุคสมัย สำหรับลิสต์สายอาชีพปัจจุบันที่อนุมัติให้นายจ้างสปอนเซอร์ลูกจ้างที่มีทักษะเข้ามาทำงานในออสเตรเลียได้นั้น ก็ยังคงใช้ได้อยู่ตามปกติ แต่รัฐบาลออสเตรเลียจะให้ความสำคัญกับผู้ที่มีอาชีพอยู่ในสาย PMSOL ก่อน โดยขอเน้นว่า ลิสต์นี้จะใช้ได้เฉพาะกับสายอาชีพที่มีนายจ้างเป็นสปอนเซอร์ให้เท่านั้น

PMSOL ประกอบไปด้วยอาชีพดังต่อไปนี้ ทั้งหมด 17 อาชีพด้วยกัน:

  • Chief Executive or Managing Director (111111)
  • Construction Project Manager (133111)
  • Mechanical Engineer (233512)
  • General Practitioner (253111)
  • Resident Medical Officer (253112)
  • Psychiatrist (253411)
  • Medical Practitioner nec (253999)
  • Midwife (254111)
  • Registered Nurse (Aged Care) (254412)
  • Registered Nurse (Critical Care and Emergency) (254415)
  • Registered Nurse (Medical) (254418)
  • Registered Nurse (Mental Health) (254422)
  • Registered Nurse (Perioperative) (254423)
  • Registered Nurses nec (254499)
  • Developer Programmer (261312)
  • Software Engineer (261313)
  • Maintenance Planner (312911)

ผู้ที่ได้วีซ่าผ่าน PMSOL ยังสามารถขออนุมัติเดินทางเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย (Travel Exemption) ได้เป็นกรณีพิเศษ แต่ปัจจุบันยังต้องโดน quarantine 14 วันตามกฎหมายโดยต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยตนเองนะคะ 

ดังนั้น หากท่านผู้อ่านท่านใดที่ประกอบอาชีพในสายดังกล่าวและมีนายจ้างที่ออสเตรเลียยินดีเป็นสปอนเซอร์ให้เข้ามาทำงานที่ออสเตรเลีย ก็รีบติดต่อทีมงานคุณหมอวีซ่าเดินเรื่องเลยนะคะ

ทั้งนี้ข้อมูลเพิ่มเติม อ่านได้จาก website ของกระทรวงกิจกรรมภายในของออสเตรเลีย ที่ : https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/employing-and-sponsoring-someone/sponsoring-workers/learn-about-sponsoring

 

ด้วยความปรารถนาดี

จากทีมงานคุณหมอวีซ่า

—————————————

คุณหมอวีซ่าและทีมงานได้ดูแลเรื่องวีซ่าให้กับลูกค้ามาแล้วเป็นเวลา 23 ปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 สามารถให้คำแนะนำและวาง roadmap ของวีซ่าที่ถูกต้องให้กับท่านได้ อีกทั้งช่วยท่านยื่นขอวีซ่า รวมทั้งแก้ปัญหาวีซ่าให้ท่านโดยเคสยิ่งซับซ้อน เราถือว่ายิ่งท้าทายค่ะ ข่าวดีคือ ตอนนี้สำนักงาน CP Bangkok, CP Chiang Mai กับ CP Sydney ของเราได้กลับมาเปิดทำการตามปกติแล้ว ส่วนที่ CP Melbourne ช่วงนี้ยัง Work from Home อยู่จนกว่ารัฐบาล Victoria จะปลด lockdownในเดือน October 2020 หรือจนกว่าสถานการณ์ Covid-19 จะคลี่คลายลง ส่วนการบริการคุณภาพของพวกเรา ยังเหมือนเดิมค่ะ ที่ CP International, we are Caring and Professional ติดต่อทีมงานเราได้ที่: Contact Us