คุณหมอวีซ่า – 1 May 2011

เดือนเมษายนที่ผ่านมาเป็นเดือนที่หลายคนชอบกันมาก โดยเฉพาะสำหรับประชาชนชาวอ๊อฟฟิส เพราะฝั่งไทยเพิ่งจะได้ฉลองสงกรานต์กันไปหมาดๆ ฝั่งออสฯก็ตามติดๆมาด้วยเทศกาล Easter ได้ฉลองเทศกาลวันหยุดยาวพักผ่อนกันได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหน่อย คุณหมอวีซ่าก็หวังว่าทุกคนคงได้สนุกสนานกับสงกรานต์ และ Happy Easter กันทุกๆท่านเลยนะคะ

เผอิญช่วงนี้มีลูกค้าหลายท่านที่เพิ่งจะเดินทางกลับจากไทย จากการไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่และลูกหลานครอบครัวกันมา คงจะยังคิดถึงกันอยู่เนื่องจากพลัดพรากจากกันมาหลายปี จึงพากันเข้ามาปรึกษาคุณหมอวีซ่าเรื่องอยากสปอนเซอร์ญาติพี่น้องฝั่งโน้นให้มาอาศัยอยู่ด้วยในออสเตรเลีย บ้างก็อยากให้คนที่เรารักและห่วงใยที่บ้านมีชีวิตที่ดีขึ้น บ้างก็อยากให้มาบุกเบิกธุรกิจทำการค้าร่วมกัน บ้างก็อยากให้มาช่วยงานของตนเองหรือกิจการที่กำลังเติบโตทำคนเดียวไม่ไหวแล้ว บ้างก็อยากให้มาช่วยเลี้ยงลูก และกรณีที่คุยมากหน่อยในช่วงนี้ อาจเป็นเพราะเป็นช่วงปิดเทอมเด็กๆที่ไทยกันพอดี ก็คงจะเป็นกรณีคุณพ่อบ้าง คุณแม่บ้างที่ได้เป็นผู้ถือถิ่นฐานถาวรที่ออสเตรเลีย หรือที่เรียกว่า PR เรียบร้อยแล้ว แต่ได้ทิ้งลูกๆไว้ที่บ้านมานาน พอตนเองตั้งตัวได้ ก็อยากสปอนเซอร์ให้ลูกๆตามมาอยู่ด้วย เนื่องจากประเทศออสเตรเลียมีสวัสดิดีๆให้หลายอย่าง เช่นลูกๆจะได้เรียนฟรี ยามเจ็บป่วยก็ได้ Medicare ช่วยออกค่าหมอ ค่าเยียวยาให้อีก และที่สำคัญคือมาอยู่เป็นเพื่อนพ่อแม่จะได้หายเหงา หายห่วง หลายรายก็สารภาพเลยว่ากังวลมากว่าลูกจะไปคบเพื่อนผิดกลุ่ม ติดยาบ้าเมื่อใด ก็คงยุ่งไม่น้อยเลยนะคะ อาจทำให้เด็กเสียอนาคตได้ หากท่านผู้อ่านติดตามอ่านคอลัมคุณหมอวีซ่าเป็นประจำ ก็จะสังเกตว่าคุณหมอวีซ่ามักจะเขียนเรื่องที่ทันยุคสมัยอยู่เสมอ และเป็นเรื่องที่เป็นความรู้อย่างแท้จริง เป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านโดยทั่วไป

วันนี้คุณหมอวีซ่าจึงอยากหยิบยกเรื่องของการสปอนเซอร์ลูกๆที่อายุเกิน 18 ปีแล้ว มาเขียนให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงสิทธิทั้งของคุณลูกและของคุณพ่อ-แม่ให้แจ่มแจ้งสักที จะได้ไม่ตกเป็นกรณีอย่างตัวอย่างล่าสุด (ตามที่คุณหมอวีซ่าเขียนยกตัวอย่างข้างล่างนี้ไว้) เห็นได้อย่างเด่นชัดเลยว่า คุณพ่อ-แม่ต้องมาเกิดอาการเสียใจภายหลังที่พลาดโอกาสทำเรื่องให้ลูกไปแล้วอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆที่ลูกมีสิทธิที่จะได้ PR หลังอายุเกิน 18 โดยแท้ๆ ครั้นจะโทษคุณพ่อคุณแม่ว่าไม่รู้จักใช้สิทธิตรงนี้ก็ไม่ถูก คุณหมอวีซ่าว่าน่าเห็นใจมากกว่าที่พวกเขาอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปปรึกษากับผู้ที่ด้อยประสบการณ์และความรู้ไม่ถึง จึงได้รับคำแนะนำมาอย่างผิดๆ ทำให้ลูกพลาดโอกาสชีวิตที่ดีๆไปอย่างน่าเสียดาย

กรณีแรก ที่คุณหมอวีซ่าอยากยกตัวอย่าง ขอเรียกเป็นคุณพ่อ A ก็แล้วกันนะคะ ท่านก็เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในออสเตรเลียมาก มีร้านทำขนมปังฝรั่งขายทั้งปลีกทั้งส่ง ลูกค้ามากมาย มีฐานะ เป็นที่รู้จักและนับหน้าถือตาของชุมชนที่นี่พอควรเลยทีเดียว ตอนคุณพ่อ A มาพบคุณหมอวีซ่า ลูกชายที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ในออสเตรเลีย (ด้วยวีซ่านักเรียน แบบเสียตังเท่าเด็ก international students อย่างเต็มๆ) อายุเพิ่งจะครบ 25 ไปได้ 3 วัน เผอิญคุณพ่อเอาเอกสารมาแปลที่ CP International แล้วเห็นคุณหมอวีซ่านั่งทำงานอยู่ ท่านหยิบหนังสือพิมพ์ Thai Press ดูรูปแล้วถามพนักงาน CP ว่า “คนที่นั่งอยู่ตรงนั้น ใช่คุณหมอวีซ่าคนนี้ไหม” พอทราบว่าใช่คนเดียวกัน ท่านก็ตรงดิ่งขอเข้ามาคุยปรึกษาด้วยเลยทันทีถึงเรื่องของลูกชาย เพราะอยากให้ลูกได้เป็น PR อยู่กับท่านไปนานๆที่นี่ – กรณีนี้น่าเสียดายสุดๆที่คุณพ่อ A ไม่ได้มาพบคุณหมอวีซ่าเร็วกว่านี้สักนิด สัก 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ก็ยังดี คุณหมอวีซ่าจะได้รีบปั่นเรื่องยื่นลูกให้เป็นผู้ติดตาม โดยทำ PR ได้จากออสเตรเลียโดยตรง ไม่ต้องบินกลับไปทำที่ไทยเลย ฟังดูหลักฐานการส่งเสียก็เยอะ และสม่ำเสมอมาโดยตลอด แถมเด็กก็เรียนมาโดยตลอด ถึงจะอายุเกิน 18 แต่ก็ยังต่ำกว่า 25 มีโอกาสได้ PR ในฐานะผู้ติดตามคุณพ่อแน่นอน คุณหมอวีซ่าฟังเคสแล้วได้แน่ๆ แถมยังเป็นเคสที่ดีด้วย แต่น่าเสียดายที่คุณพ่อบอกว่าไปหาเอเย่นมาตั้งหลายเจ้า ทุกคนยืนยันว่าต้องทำวีซ่านักเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะลูกอายุเกิน 18 ปี หัวเด็ดตีนขาด เขาก็ยืนยันว่าทำกันไม่ได้ คุณพ่อจึงได้ให้ลูกถือวีซ่านักเรียนมาโดยตลอดหลายปี และเสียค่าเล่าเรียนมามากต่อมากแล้วทุกๆปี อันนี้คุณหมอวีซ่าอยากชี้แจงให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักอยู่สองเรื่องใหญ่ๆที่ควรรับทราบกันไว้นะคะ คือในวงการวีซ่านั้น หากความรู้ของที่ปรึกษาไม่ถึง หรือเป็นผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไม่ได้เรียนรู้ศึกษากฎหมายมาดีพอ หรือมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ ก็อาจไม่ทราบว่าเรื่องแบบนี้ทำได้ หรืออาจจะไม่เคยทำ หรือไม่กล้าทำ จึงหาทางออกง่ายๆให้ไปทำเป็นวีซ่านักเรียนซะ เพราะการทำวีซ่านักเรียนนั้น หากอายุเด็กอยู่ในเกณฑ์เรียน และพ่อแม่มีสตางค์ส่ง ก็ทำได้ไม่ยาก และเอเย่นเองก็ได้กิน commission จากค่าเล่าเรียนที่เด็กจ่ายเป็นค่าเทอมให้ทางสถาบันไปเรื่อยๆ และยิ่งถ้าเป็นหลักสูตรดิปโพลม่าโรงเรียนเอกชนราคาถูกๆ ก็ได้กินยาวทุกเทอมจนเด็กจบคอร์ส การให้คำแนะนำแบบนี้ จึงง่ายและสะดวกต่อการทำมาหากิน ถ้าจะพูดแบบภาษาชาวบ้านนะคะ (ช่วงนี้ เราจึงเห็นข่าวรัฐบาลออสฯออกมาประกาศกฎเข้มงวดเรื่องวีซ่านักเรียนขึ้นมาก เพื่อบังคับให้ที่ปรึกษาทางการศึกษา หรือ education consultants ทั้งหลาย ต้องเริ่มขึ้นทะเบียน เรียนจรรยาบรรณเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคทั้งหลายบ้าง) แต่จะเห็นได้อย่างกรณีนี้ ลูกเสียโอกาสได้ PR คุณพ่อเองก็เสียโอกาสได้ลูกมาอยู่อย่างถาวร แถมเสียค่าเล่าเรียนไปมากมาย ทั้งๆที่ลูกมีโอกาสเข้าโรงเรียนรัฐบาลดีๆหลายแห่งและเรียนฟรีที่นี่ จะเห็นได้ว่า คำแนะนำที่ถูกต้องนั้น ส่งผลต่อชีวิตและอนาคตของเด็กคนหนึ่งมากมายจนเรียกว่าพลิกอนาคตได้เลยทีเดียว เสมือนคนไข้ไปหาหมอมือใหม่ๆที่ความรู้และประสบการณ์ยังไม่ถึง จ่ายยารักษาผิดวิธีมา คนไข้ก็ย่อมไม่รอด แถมอาการหนักกว่าเดิมก็มีมากมายนะคะ บางคนก็เสียดายว่าต้องจ่ายค่าปรึกษาหมอ อยากได้คำแนะนำฟรี เข้ากรณีเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายเป็นก่ายกอง แต่อนาคตที่เสียไปนั้นนะสิที่น่าเสียดายที่สุด เพราะเรียกคืนมาไม่ได้อีกแล้ว ใช่ไหม

ในเคสของคุณพ่อ A นี้ ลูกชายสามารถยื่นวีซ่าที่มีชื่อทางการว่า Child (Subclass 802) Visa ภายในออสเตรเลียได้ ทั้งๆที่อายุเกิน 18 แต่ยังต่ำกว่า 25 มีหลักฐานเรียนมาโดยตลอด เป็นโสดและยังไม่ทำงาน ยังพึ่งคุณพ่อส่งเสียมาโดยตลอด จริงๆแล้ว ลูกคนนี้สามารถยื่น PR เป็นผู้ติดตามตรงมาจากเมืองไทยด้วยวีซ่า 101 โดยไม่ต้องมาเป็นวีซ่านักเรียนเลยด้วยซ้ำไป คุณหมอวีซ่าอยากมี magic wand หมุนเวลากลับไปอีกสักสัปดาห์ก่อนน้องครบ 25 ปี แล้วจะช่วยเตรียมเอกสารกลับอนาคตให้น้องยื่นวีซ่าถาวรได้ – คนละเรื่องกับที่เป็นอยู่ปัจจุบันจังเลย คุณหมอวีซ่าขอคัดเงื่อนไขของการทำวีซ่าตัวนี้จากเว๊ปอิมมิเกรชั่นโดยตรงมาให้ดูคร่าวๆเป็นหลักฐานว่าทำได้จริงๆ ท่านผู้อ่านจะได้กระจ่าง และเข้าใจ ไม่ไปหลงเชื่อคำแนะนำที่ผิดๆอีกนะคะ
Child (Subclass 802) Visa – วีซ่าถาวรสำหรับลูก

Dependency

The child must be dependent on their sponsor. A child under 18 years of age is considered to be dependent. However for a child who has turned 18 years of age to be considered dependent, they must rely more on their sponsor than on any other person or source of financial support in either one of the circumstances below:

  • to meet their basic needs of food, shelter and clothing, and they must have relied on this support for a substantial period (usually 12 months)
  • because of a disability that prevents them working to support themselves.
    Note: Disability means that the child has total or partial loss of their bodily or mental functions, and they are unable to work because of it.

Age The child must be under 25 years of age when the visa application is lodged. If the child has turned 18 years of age, they must also be a full-time student and financially dependent on their sponsoring parent. To be considered a full-time student, the child must:

  • be validly enrolled, and actively participating, in a full-time post-secondary course of study leading to a professional, trade or vocational qualification
  • have been undertaking that course since turning 18 years of age, or have commenced studies within six months or a reasonable period of completing secondary education
  • not be in full-time employment.


Note:
The only exception to this age limit and full time student requirement is where the child has a disability that stops them from working. Relationship status The child must be single. They must not be married, in a de-facto relationship or engaged to be married.

Note: If the child has turned 18 years of age, the child must not only be single, but they must never have been married or had a de facto partner.

อ่านดูข้างต้นแล้ว จะเห็นว่า คุณหมอวีซ่าบอกคุณพ่อ A ว่าเคสลูกเขาทำ PR ได้ ก็คือได้จริงๆตามกฎค่ะ

กรณีที่สอง ขอเรียกว่าคุณแม่ B ที่เมื่อ 8 ปีก่อนได้ยื่นวีซ่าติดตามให้ลูก 3 คนที่อายุเกิน 18 แต่ต่ำกว่า 25 ที่สถานทูตอสเตรเลียที่เมืองไทย คุณแม่เล่าว่ามีเอกสารการสนับสนุนการเงิน การเรียนครบทุกอย่าง แต่สถานทูตฯปฏิเสธไป 2 คน โดยให้เหตุผลว่าเป็นเด็กไม่มีคุณภาพ (อะไรกันเนี่ยะ มีการปฏิเสธด้วยเหตุผลอย่างนี้ด้วยหรือคะ?) ส่วนอีกคนเขาก็ว่าจะผ่านให้ แต่รอมาเกือบ 8 ปี เพิ่งจะได้รับจดหมายปฏิเสธจากทางสถานทูตเมื่อเร็วๆนี้เอง เคสอย่างนี้ คุณหมอวีซ่าเสียดายแทนคุณแม่ B ที่ไม่ได้ยื่นอุทรณ์สู้เพื่อลูก 2 คนที่ถูกปฏิเสธไป อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่ได้รับคำแนะนำมาอย่างถูกต้อง และไม่เข้าใจในระบบอุธทรณ์ของศาลตุลาการ (Migration Review Tribunal) ที่นี่ดีพอ จึงไม่ได้ใช้สิทธิยื่นอุธทรณ์ตรงนี้ เพราะฟังเคสแล้ว ถ้าสู้ก็มีโอกาสชนะทั้งสองคน ส่วนลูกคนที่ 3 ที่สถานทูตเพิ่งปฏิเสธมา ตอนนี้ลูกก็เกิน 25 แล้ว แต่คุณหมอวีซ่าอ่านจดหมายปฏิเสธแล้ว พบจุดบกพร่องหลายจุดที่คิดว่ามีโอกาสเอาชนะคดีได้ จึงยินดีรับยื่นอุธทรณ์ให้คุณแม่ B ถ้าชนะครั้งนี้ คุณแม่อย่างน้อยก็ได้ลูกมาอยู่ด้วย 1 คนก็ยังดีนะคะ แล้วเอาไว้คุณหมอวีซ่าจะรายงานความคืบหน้าต่อไป คดีอย่างนี้ คุณหมอวีซ่าชอบทำมาก เพราะท้าทายดี และถ้าเป็นเคสยิ่งยาก และเราสามารถเอาชนะได้เพื่อกลับชีวิตและอนาคตให้กับคนๆหนึ่งได้ ความปลื้มใจตรงนี้ ใช้คำพูดบรรยายไม่ได้จริงๆเลยค่ะ

ก่อนจบ ขอเกริ่นเรื่องเกี่ยวกับพ่อแม่ที่ทำเรื่องคู่ครองกับชาวออสเตรเลีย และที่มีลูกที่เมืองไทยซึ่งได้ขาดการติดต่อไปนานแล้ว โดยไม่ประสงค์จะเอาลูกมาอยู่ด้วยจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ขอเตือนว่าทางอิมฯยังคงต้องขอหลักฐานเกี่ยวกับลูกที่เราขาดการติดต่อไปแล้วนั้น อีกทั้งยังขอผลตรวจร่างกายเด็กอีกด้วยนะคะ แต่คุณหมอวีซ่าก็มีทางออกให้เสมอ ขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถูกต้อง แจ้งความประสงค์มาให้กระจ่าง ก็จะพยายามแก้ไขให้ สาเหตุที่เกริ่นเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากช่วงนี้ มีวีซ่าคู่ครองทยอยผ่านมาหลายคู่ รับจดหมาย Grant Visa เกือบจะเป็นรายวันเลยก็ว่าได้ โชคดีที่เกือบทุกเคสที่คุณหมอวีซ่ายื่นให้ ผ่านโดยไม่มีการสัมภาษณ์ กระทั่งกับการยื่นให้ผู้ไม่มีวีซ่าแล้วก็ตาม ก็ยังผ่านอย่างไม่มีสัมภาษณ์ เรียกว่าเป็นความโชคดีของลูกค้าคุณหมอวีซ่าทั้งหลายที่ไม่ต้องเข้าไปนั่งเครียดกับเจ้าหน้าที่ แต่หากเคสที่คุณหมอวีซ่ารับทำแล้ว เกิดเจอเจ้าหน้าที่งอแง มีปัญหาใดๆคุณหมอวีซ่าก็ fight ให้เต็มที่ไม่ทิ้งกันเช่นกันค่ะ

ขอประกาศย้ำอีกครั้งว่า CP International ที่ กรุงเทพฯกับเชียงใหม่ ได้ย้าย offices แล้ว ไปในที่ที่ใหญ่กว่า ใหม่กว่า ทันสมัยกว่า แต่คุณภาพคงเดิม หรือดีกว่า จึงขอต้อนรับทุกท่านแวะไปเยี่ยมเยือนสำนักงานใหม่ของเรา ดังรายละเอียดข้างล่างนี้นะคะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: