10 July 2015

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับคุณหมอวีซ่ากันอีกครั้งนะคะ ตอนนี้ก็เข้าสู่ครึ่งปีหลังของปี 2015 กันแล้ว ถ้าเป็นที่ออสเตรเลียก็เป็นช่วงเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ประจำปี 1 July 2015 – 30 June 2016 (Financial Year) ผู้อ่านหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับปีงบประมาณของออสเตรเลียกัน เพราะที่เมืองไทยเราจะนับจาก 1 January – 31 December ของทุกปีกันค่ะ นับว่าเป็นช่วงคึกคักช่วงหนึ่งของปีในออสเตรเลียเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยเฉพาะบรรดาห้างร้านจะพากันลดราคาเพื่อโละสต๊อกของออก จะได้นำเสนอสินค้าใหม่ ช่วงนี้คนก็จะพากันเคลมภาษี บางคนโชคดีได้ภาษีคืน บางคนต้องเสียภาษีเพิ่ม หากไม่แน่ใจ ก็ควรไปพบ Tax Agent ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษี จะได้ทำให้ถูกต้อง ทางที่ดี อยู่เมืองไหน ก็จ่ายภาษีเสียให้ถูกต้องซะ อย่าพยายามไปหาลางเลี่ยงเลย อย่าลืมว่าอนาคตหากเราอยากสปอนเซอร์วีซ่าให้ใครก็ตาม ใบจ่ายภาษีเหล่านี้ จะเป็นหลักฐานประกอบการยื่นวีซ่าที่ดีมากเลยค่ะ อีกอย่าง เงินภาษีที่จ่ายไปก็ใช่ว่าจะจ่ายไปฟรีๆ รัฐฯก็คืนกลับให้พวกเราในรูปสวัสดิการ เช่น บำรุงโรงเรียนให้ลูกๆเราได้เรียนฟรี ค่ารักษาพยาบาลก็ฟรี มีถนนหนทางที่ดีๆใช้ ดังนั้น ทุกคนจึงพึงทำหน้าที่ราษฎรที่ดีโดยการจ่ายภาษีที่พึงจ่ายกันนะคะ

และเป็นประจำของทุกปีที่ทางอิมมิเกรชั่นจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎต่างๆ ในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี ปีนี้ก็เช่นเดียวกันนะคะ โดยเฉพาะในปีนี้ นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2015 เป็นต้นมา ทางกรมศุลกากรและหน่วยตรวจคนเข้าเมือง ได้มารวมตัวกันกับ Department of Immigration and Boarder Protection (DIBP) และกลายเป็นกระทรวงใหญ่เดียวในการดูแลงานตรวจคนเข้าเมืองและปกป้องเขตแดนของประเทศออสเตรเลีย ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการปกครองและดูแลประเทศ เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจไปนะคะ ถ้าหากว่าเข้าไปในเว็บไซต์อิมมิเกรชั่นแต่เดิมที่ใช้ว่า www.immi.gov.au และพบว่ามีการเปลี่ยนเป็น www.border.gov.au เรียบร้อยแล้ว รวมถึงอีเมลต่างๆของอิมมิเกรชั่นด้วย ที่มีการเปลี่ยนจาก “@immi.gov.au” เป็น “@border.gov.au” แทน ซึ่งเว็บใหม่ก็ดูเหมือนจะใช้งานได้ง่ายขึ้น มีการจัดวางแผนผังเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งการค้นหาข้อมูลและอื่นๆ ในขณะที่กระทรวงอิมมิเกรชั่นมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการรวมหน่วยงาน ในขณะที่คุณหมอวีซ่าเขียนอยู่นี้ทางเจ้าที่อิมมิเกรชั่นทั้งที่กระทรวงและที่สนามบินก็พากันออกมาประท้วงในเรื่องของรัฐบาลที่ได้บีบให้พนักงานกระทรวงลาออกมากมาย รวมถึงลดเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ (ตามที่ได้เขียนไปแล้วในฉบับที่แล้ว) เพราะฉะนั้น ใครที่ต้องเดินทางหรือติดต่อเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นในช่วงนี้ ก็ขอให้เผื่อเวลากันไว้สักนิดหนึ่งค่ะ ส่วนใครที่รอผลวีซ่าก็ขอให้ใจเย็นๆเช่นเดียวกันค่ะ

เข้าสู่วันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเป็นประจำทุกปีที่ทางอิมมิเกรชั่นจะมีการออกมาอัพเดทเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่าต่างๆ แปลกมากนะคะที่ปีนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่ควร หลักๆที่เห็นก็จะเป็นค่าวีซ่าที่มีการปรับขึ้น ส่วนในเรื่องของรายละเอียดของวีซ่าประเภทต่างๆก็ยังไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงมาก ท่านผู้อ่านหลายท่านถามเข้ามาว่า “อาชีพบัญชีจะยังอยู่ในลิสต์ให้ยื่นพีอาร์มั้ยคะ หนูจะลงเรียนอะไรดีคะถึงจะได้พีอาร์” เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทางอิมมิเกรชั่นได้มีการอัพเดท SOL Lists และ Occupation Ceilings (เพดานอาชีพ) ประจำปีงบประมาณ 2015 -2016 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว SOL Lists หรือ Skilled Occupations List (SOL) – ลิสต์อาชีพที่สามารถขอพีอาร์หรือวีซ่า Temporary Graduate (subclass 485 แบบ Graduate) ได้ เป็นอาชีพในตลาดแรงงานที่ทางออสเตรเลียต้องการ และ Occupation Ceilings ถ้าพูดเป็นภาษาไทยก็คือจำนวนพีอาร์ที่ทางอิมมิเกรชั่นสามารถออกจดหมายเชิญได้ในปีนี้ SOL Lists และ Occupation Ceilings ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการจะสมัครพีอาร์ด้วยตัวเองภายใต้วีซ่า

  • Business Talent (Permanent) visa (subclass 132)
  • Business Innovation and Investment (Provisional) visa (subclass 188)
  • Skilled Independent visa (subclass 189)
  • Skilled – Nominated visa (subclass 190)
  • Skilled – Nominated or Sponsored (Provisional) visa (subclass 489)

หรือพูดง่ายๆก็คือวีซ่าที่ใช้ทักษะตัวเองในการสมัครพีอาร์นั่นเองค่ะ ทักษะเหล่านี้ต่างเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งในแต่ละปีงบประมาณ ทางอิมมิเกรชั่นจะออก Occupation Ceilings เพื่อแจ้งว่าทางอิมมิเกรชั่นสามารถออกจดหมายเชิญผู้สมัครพีอาร์ได้เป็นจำนวนเท่าไร ในการจะสมัครวีซ่าเหล่านี้ ผู้สมัครจะต้องได้แต้มหรือ point tests เป็นจำนวน 60 แต้มขึ้นไป และยื่น Expression of Interest (EOI) ผ่านในระบบ SkillSelect แสดงเจตจำนงค์ในการต้องการจะสมัครพีอาร์ ซึ่งทางอิมมิเกรชั่นจะส่งจดหมายเชิญให้สมัครพีอาร์ในแต่ละรอบไปค่ะ ทีนี้เรามาดูกันว่าอาชีพยอดฮิตเช่น บัญชี ไอที พยาบาล หรือครูจะมีจำนวนเป็นที่ต้องการเท่าไรประจำปีนี้ค่ะ (ต้องบอกก่อนว่าเพดานอาชีพนี้เฉพาะสำหรับผู้ที่จะใช้ทักษะตัวเองในการยื่นพีอาร์ โดยยังไม่รวมถึงให้รัฐต่างๆและนายจ้างสปอนเซอร์ หรือวีซ่าธุรกิจนะคะ)

Occupation ceilings for the 2015-16 programme year

Occupation IDDescriptionCeiling ValueResults to date
2211Accountants25250
2212Auditors, Company Secretaries and Corporate Treasurers10000
2321Architects and Landscape Architects16500
2331Chemical and Materials Engineers10000
2332Civil Engineering Professionals29700
2333Electrical Engineers12300
2334Electronics Engineers10000
2335Industrial, Mechanical and Production Engineers17880
2411Early Childhood (Pre-primary School) Teachers19800
2414Secondary School Teachers83520
2531General Practitioners and Resident Medical officers35580
2541Midwives10000
2544Registered Nurses138720
2611ICT Business and Systems Analysts15360
2613Software and Applications Programmers53640
2631Computer Network Professionals19860
2711Barristers100040
2713Solicitors32520
2723Psychologists12120
2725Social Workers21660
3513Chefs24750

(Source: https://www.border.gov.au/Trav/Work/Skil)

และแล้วบัญชีก็ยังไม่ได้ถูกถอนไปจากในลิสต์นะคะ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่ แต่ในปีนี้ ทางอิมมิเกรชั่นสามารถรับได้ 2,525 คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นคนไหนมีประสบการณ์การทำงานหรือภาษาดีก็ยิ่งได้เปรียบค่ะ อาชีพไอทีก็ยังเป็นที่ต้องการเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในอาชีพครูทั้งที่สอนเด็กอนุบาล และคุณครูในระดับมัธยมที่เป็นที่ต้องการถึง 8,352 คน แต่อาชีพที่เป็นที่ต้องการที่สุดเห็นจะเป็นนางพยาบาลนะคะ ซึ่งเป็นที่ต้องการถึง 13,872 คน อาชีพเชฟก็ยังเป็นที่ต้องการเช่นเดียวกัน ใครที่กำลังเรียนอยู่ก็สบายใจกันได้แล้วค่ะ ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูลิสต์ฉบับเต็มได้ที่เว็บไซท์ด้านบนเลยค่ะ

การวางแผนอนาคตเป็นสิ่งสำคัญที่คุณหมอวีซ่าได้เน้นย้ำท่านผู้อ่านทั้งหลายมาตลอด บางคนกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว บางคนอยู่มา 10 ปีเพิ่งอยากจะเรียนในสายอาชีพพีอาร์ พอถึงเวลาวีซ่านักเรียนไม่ผ่าน บางคนมาเรียนต่อปริญญาโท หลังเรียนจบก็สมัครพีอาร์ ได้พีอาร์ภายใน 2 เดือนก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผน น้องๆท่านไหนต้องการความชัวร์ ก็สามารถติดต่อมาได้ที่ซีพี อินเตอร์ฯ ทุกสาขา หรือจะไปเข้าร่วมสัมมนากับทางซีพี อินเตอร์ฯ ทั้งที่กรุงเทพฯ และซิดนีย์ก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ

งานที่หนึ่ง: จัดที่ CP SYDNEY เป็นงานสัมมนา Migration Seminar ในวันที่ 15 และ 16 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลาเที่ยงครึ่งถึงบ่ายสามโมงครึ่งของทั้ง 2 วันเลยค่ะ โดยทางซีพี ซิดนีย์จะรวบรวมการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากอิมฯมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบโดยทั่วกัน พร้อมทั้งบรรยายเกี่ยววีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ subclass 457 และวีซ่า subclass 485 (graduate) ที่ท่านผู้อ่านสามารถสมัครเพื่ออยู่ทำงานได้ 1. 5 – 2 ปีหลังจากเรียนจบด้วยนะคะ และปีนี้ถือว่าพิเศษกว่าทุกปีเพราะทาง Greenwich College จะเข้าร่วมงานสัมมนากับเราด้วยโดยจะมาร่วมบรรยายในหัวข้อของ Cambridge English คืออะไร ต่างจาก IELTS อย่างไร พร้อมตัวอย่างแบบฝึกหัดเพื่อเตรียมตัวทำข้อสอบด้วยค่ะ! อย่าลืมสำรองที่นั่งงานสัมมนาดีๆแบบนี้ที่จัดขึ้นเพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้นนะคะ งานนี้รับจำนวนจำกัดค่ะ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นด้วยค่ะ สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งกับได้ที่ 02 9267 8522 หรือ 0422 289 189

ส่วนงานที่สอง: ก็เป็นงานการศึกษาต่อประเทศออสเตรเลียประจำปีที่จัดโดย CP Bangkok ในวันเสาร์ที่ 4 July 2015 ตั้งแต่เวลา 11.00-17.00 น. ชื่องาน “CP Australia Education Fair 2015” ที่ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส มาบุญครอง ซึ่งประกอบพิธีเปิดโดยตัวแทนจากท่านทูตพาณิชน์จากสถานทูตออสเตรเลีย ภายในงาน นอกจากจะมีการแจกทุน ลุ้นตั๋วเครื่องบิน กับโปรโมชั่นอื่นๆแล้ว ยังมีการลุ้นรับ Power Bank กับหนังสือ / CD IELTS โดย British Council สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนร่วมงานล่วงหน้าผ่านทางเว๊ปไซท์ cpinternational.com ของเราอีกด้วย พบกับสัมมนาหัวข้อที่แปลกแตกต่างจากงานทั่วไป ในการสร้างโอกาสขอวีซ่าทำงานต่อในออสเตรเลียหลังเรียนจบหลักสูตรปริญญาสองปี ด้วย Talk Show บรรยายโดยคุณหมอวีซ่าเองโดยตรงในหัวข้อ “โอกาสและเส้นทางการทำงานหลังเรียนจบที่ออสเตรเลีย” มาฟังดูว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อก้าวสู่ช่องทางของการขอ Temporary Graduate visa subclass 485 หรือ Training and Research visa subclass 402 หรือ Temporary Work (Skilled) Visa subclass 457 ประเภทที่มีนายจ้างเป็นสปอนเซอร์ให้ทำงานต่อในออสเตรเลียหลังเรียนจบ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศก่อนกลับบ้าน เพิ่มคุณค่าให้กับตนเองในตลาดงานโลก และแถมบางคนก็อาจมีโอกาสทำ Skilled Visa อยู่ต่อเป็น Permanent Resident (PR) จนได้สัญชาติออสเตรเลียเพิ่มไปอีกหนึ่งสัญชาติก็เป็นไปได้ จึงขอเชิญมาพบกับคุณหมอวีซ่าและฟังข้อมูลที่มีประโยชน์ยิ่งต่อผู้ที่กำลังเรียน หรือวางแผนจะไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย นะคะ วางแผนให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น จะได้ไม่ต้องไปเสียใจภายหลัง

สำหรับฉบับนี้คุณหมอวีซ่าขอลาไปก่อนนะคะ แล้วไว้พบกันในวันงาน 4 July 2015 ที่ โรงแรมปทุมวัน ปรินเซส นะคะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: