13 November 2013

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับคอลัมน์คุณหมอวีซ่า ตอนนี้ใกล้จะสิ้นปีแล้วสำหรับนักเรียนไทยทั้งหลายที่กำลังจะสอบ หรือส่งรายงานก็ขอให้ประสบความสำเร็จกันทุกคนนะคะและเช่นเคยเป็นประจำเกือบจะทุกปี สำหรับน้องๆที่เรียนจบและจะต้องการหาวีซ่าอยู่ต่อในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะด้วยหาประสบการณ์การทำงาน หรืออยู่เที่ยวต่อและสำหรับน้องๆที่เรียนจบปริญญาโทในหลักสูตร 2 ปีในปีนี้ ก็จะเป็นปีแรกที่สามารถสมัครวีซ่า 485 ภายใต้ Post – Study Work stream ได้ (น้องๆที่ได้วีซ่านักเรียนตัวแรกหลังจากวันที่ 5 พฤศจิกายน 2011) สำหรับน้องๆคนอื่นๆ ที่ต้องการจะสมัครวีซ่า 485 ภายใต้ Graduate Work โดยเฉพาะในสาขาอาชีพไอที วันนี้คุณหมอวีซ่ามีข่าวคราวมาอัพเดทจาก ACS (Australian Computer Society) ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินคุณวุฒิของอาชีพไอทีมาบอกกันค่ะ

Graduate Skills Assessment Application Process Changes

The ACS is choosing to implement the changes effective from January 15, 2014, (instead of October 28, 2013) which will provide certainty to those studying courses that are scheduled for completion in the final months of 2013. The implementation of the ACS graduate application changes will ensure applicants are being assessed in line with the Migration Amendment (Skills Assessment) Regulation 2013 changes announced by the Department of Immigration and Border Protection to take effect on Oct 28, 2013.

(Source: ACS Migration Agent Notice – Ref [595395])

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมาทางอิมมิเกรชั่นได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการประเมินคุณวุฒิ ภายใต้กฎหมาย Migration Amendment (Skills Assessment) Regulation 2013 ซึ่งกฎหมายตัวนี้ก็พูดถึงกรณีผู้ที่ถือวีซ่า 485 ไม่สามารถนำใบประเมินทักษะมาใช้ในการสมัครพีอาร์ประเภททักษะ (วีซ่าทักษะ sc 189, sc190, ENS (นายจ้างสปอนเซอร์) และ RSMS (นายจ้างสปอนเซอร์ในเขตท้องถิ่น)ได้ ถ้าหากจะสมัครวีซ่าเหล่านี้ต่อไปจะต้องมีใบประเมินคุณวุฒิใหม่ (Full Skills Assessment) ถึงจะสมัครได้

การที่อิมมิเกรชั่นออกกฎใหม่นี้มา จะว่าไปน่าจะส่งผลกระทบกับผู้ที่ถือวีซ่า 485 หรือ graduate visa ซะเป็นส่วนใหญ่นะคะ โดยเฉพาะผู้ทีต้องการจะยื่น EOI ต่อไปในอนาคต สายอาชีพไอทีก็เป็นอีกสายงานที่มีคนเรียนเป็นจำนวนมาก โดยแต่ก่อนนั้นนักเรียนที่จบมาในสายไอที สามารถที่จะยื่นประเมินคุณวุฒิเป็น full skills assessment ได้ แต่หลังจากวันที่ 15 มกราคม 2014 เป็นต้นไป การประเมินกับทาง ACS ผู้สมัครจะได้รับการประเมินอาชีพเบื้องต้นเพื่อจุดประสงค์ในการสมัครวีซ่า 485 ก่อน (โดยดูตามคอร์สที่เรียนในระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท) ถ้าหากในภายหลัง นักเรียนถือวีซ่า 485 เป็นที่เรียบร้อยแล้วและต้องการจะสมัคร SkillSelect ต่อไป นักเรียนจำเป็นจะต้องมีประสบการณ์การทำงานในสายอาชีพไอทีก่อน 1 ปี หรือจะลงเรียน professional year ก็ได้ เสร็จแล้วถึงจะค่อยสมัคร ACS Post Australian Study Skills Assessment เพื่อรับ full skills assessment จาก ACS ได้ค่ะ

เพราะฉะนั้นน้องๆ หรือท่านผู้อ่านท่านไหนที่กำลังจะเรียนจบปริญญาตรี หรือปริญญาโททางสาขาไอทีภายในสิ้นปีนี้ ขอให้รีบจัดการทำ skills assessment กับทาง ACS ให้เรียบร้อย เพราะถ้าหากทำหลังวันที่ 15 มกราคม 2014 แล้ว อาจจะต้องไปหาประสบการณ์การทำงานในสายไอทีก่อนจะยื่น SkillSelect ได้นะคะ แถมการยื่นประเมินทักษะกับทาง ACS นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ผลสอบ IELTS ประกอบอีกด้วยค่ะ

ส่วนน้องคนไหนที่ไม่มั่นใจในการยื่นประเมินผลทักษะ หรือเพื่อความชัวร์ สามารถติดต่อมาได้ที่ซีพีฯที่เบอร์ 02-92678522 เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่ เติมได้ค่ะ

และข่าวล่ามาแรงที่คุณหมอวีซ่าต้องรีบนำมาบอกต่อ ก็คือนับจากวันที่ 23 พฤศจิกายน 2013 เป็นต้นไป นายจ้างที่ต้องการจะสปอนเซอร์ลูกจ้างภายใต้ working visa (subclass 457) จำเป็นต้องมี Labour Market Testing ก่อนที่จะเสนอตำแหน่งงานให้ลูกจ้างได้ ซึ่งนายจ้างหรือสปอนเซอร์จำเป็นต้องแสดงหลักฐานว่าได้มีการประกาศเสนอตำแหน่งงานนี้ให้กับซิติเซ่นหรือพีอาร์ของออสเตรเลียมาก่อนแล้ว อย่างเช่นอาจจะลงประกาศในหนังสือพิมพ์ ในเว็บสมัครงาน และอื่นๆ เพราะฉะนั้นน้องๆคนไหนที่ต้องการจะสมัครวีซ่า 457 ขอให้รีบมาติดต่อซีพีฯก่อนวันที่ 23 พ.ย. นะคะ ไม่งั้นอาจต้องทำ Market Testing จะยิ่งยุ่งยากเข้าไปใหญ่ค่ะ

เรื่องราวที่เกิดจริง

ก่อนจบวันนี้ คุณหมอวีซ่าขอเบี่ยงจากการเขียนเรื่องวิชาการมาเล่าเรื่องที่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดใจมากให้ท่านผู้อ่านได้รู้ไว้เป็นอุทธาหรณ์จะได้ไม่โดนคนไทยด้วยกันหลอกนะคะ

เพื่อสะดวกต่อการเขียนเรื่องเอาเป็นว่าเป็นเรื่องของ’น้องหลง’ (นามสมมุติ) ก็แล้วกันนะคะ น้องหลงเป็นเด็กน่ารักที่ซื่อมากและมีผลการเรียนที่ดีมาก จบ High School ชื่อดังมาจากเมืองไทยด้วยเกรด GPA 3.6 แล้วไปเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังในระดับแนวหน้าที่เมือ ไทยมาเกือบ 1 ปี จนคุณแม่น้องหลงไปเจอกับคุณแม่ของพี่คนหนึ่งที่อ้างตัวเป็นเอเย่นที่เมืองไทย เอาเป็นเรียกชื่อว่าเป็น ‘พี่หลอก’ (นามสมมุติ) ก็แล้วกันนะคะ จู่ๆวันหนึ่งน้องหลงก็มาพบพี่ๆที่ซีพีฯสาขาซิดนีย์ บอกว่าพี่หลอกเขาทำวีซ่า 573 ให้หนูมาเรียนออสเตรเลียจากเมืองไทย เขาว่าหนูจะได้เข้าเรียนคณะเภสัชฯที่มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในซิดนีย์หลังหนูเรียนจบภาษา แต่หนูไม่เคยได้เอกสารอะไรจากเขาทั้งสิ้น หนูเห็นเพื่อน เขามี COE กันแต่หนูไม่เห็นได้ เลยอยากให้พี่ช่วยโทรไปขอ COE จากมหาวิทยาลัยให้หน่อย เพราะหนูรู้ว่าที่ซีพีฯเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

ความจริงแล้ว ตามกฎเราก็ไม่สามรถไปขอเอกสารแทนเด็กที่ไม่ได้สมัครเรียนผ่านทางซีพีฯมาให้ได้ เพราะเราไม่ได้รับมอบอำนาจให้ทำอย่างนั้นได้ ก็เลยให้น้องช่วยเซ็นใบมอบอำนาจ แล้วพี่ที่ซีพีฯเลยยกหูโทรไปถามที่มหาวิทยาลัยให้ แต่ปรากฎว่าเป็นข่าวร้าย ไม่เพียงแต่คณะเภสัชฯไม่รู้เรื่องด้วย กระทั่ง ชื่อน้องหลงคนนี้ก็ไม่ปรากฎได้อยู่ในบัญชีรายชื่อของทางมหาวิทยาลัยเลยด้วยซ้ำไป น้องเลยงงมาก…

น้องหลงเป็นเด็กที่โชคร้ายซ้ำซ้อน เรื่องของเรื่องเขาเล่าว่าคุณแม่เป็นคนหัวอ่อนใจพระ บ้านอยู่ต่างจังหวัดไม่ค่อยรู้เรื่อง จึงตกเป็นเหยื่อไปฟังคำชวนเชื่อของเอเย่นพี่หลอกที่ร่วมกับแม่พี่หลอกคอยเกลี้ยกล่อมให้น้องหลงทำเรื่องลาออกจาหมหาวิทยาลัยที่ไทยเพื่อมาเรียนต่อเมืองนอก จ่ายเงินไปแม่พี่หลอกไปล้านกว่าบาท พอวีซ่าออก ก็บินมาพักอยู่ที่บ้านของพี่หลอกคนนี้ที่เปิดให้เด็กไทยคนอื่นๆที่ถูกกล่อมมาในทำนองเดียวกันแถวๆทิศตะวันตกไกลเมืองแหล่งหนาแน่นไปด้วยประชากรชาวลาวชาวเวียดอยู่มากมาย ย่านนี้ จำได้ว่า ที่เคยดูรายการสารสนเทศทางทีวี ABC หรือ SBS ที่เคยไปทำ รายการสารคดีเกี่ยวกับแก๊งขายยาเสพติดที่ขายกันเกลื่อนกลาดแถวสถานีรถไฟย่านๆนั้น เป็นย่านที่ไม่ปลอดภัย น้องหลงโดนจัดให้เข้าเรียนหลักสูตรในสถาบันสอนภาษาอังกฤษเอกชนแห่งหนึ่งในซิดนีย์ และพักอยู่บ้านพี่หลอกตั้งสามเดือนล่วงหน้าก่อนคอร์สเปิด โดยจ่ายทั้งค่ามัดจำพันกว่าเหรียญ + ค่าที่พักก็พันกว่าเหรียญต่อเดือนให้พี่หลอกอย่างไม่ขาดสาย โดยน้องถูกจัดให้เดินทางมาอยู่ว่างๆตั้งสามเดือนที่ซิดนีย์ล่วงหน้าก่อนคอร์สภาษาจะเปิดโดยไม่มีอะไรทำจนน้องเบื่อมาก ชีวิตเรียกว่าอยู่ในกำมือพี่หลอกโดยสิ้นเชิง ทุกๆอย่างน้องหลงก็จะเชื่อฟังพี่หลอกบอกให้ไปโรงเรียนก็ไป บอกว่าให้หยุดเรียนก็หยุด จนกระทั่งเรียนไปเรียนมา พี่หลอกบอกว่าไม่ต้องไปอีกแล้วเพราะเป็น holiday น้องหลงเลยไม่ไปโรงเรียนเฉยตามคำสั่งของพี่หลอก ช่วงนี้เองเอเย่นที่พี่หลอกใช้ก็โทรไปบอกให้โรงเรียน cancel COE ส่งเด็กกลับเพราะเด็ก attendance ไม่ถึง แสบไม๊ละคะ? ต่อมาสืบไปมาปรากฎว่าพี่หลอกไม่เคยสมัครคอร์สเภสัชที่มหา’ลัยขึ้นชื่อดังกล่าวให้เลย COE ที่ได้มาก็เป็ ของสถาบันเอกชนห้องแถวที่มีชาวจีนเป็นเจ้าของ น้องหลงเลยยิ่งงงยิ่งหลงกันไปใหญ่เลยคราวนี้

เมื่อเช๊คไปทางโรงเรียนภาษา ปรากฎว่าน้องโดนถอน COE เข้าแล้วจริงๆในระบบของอิมฯ อันตรายมาก เลยแนะให้น้องไปเคลียร์กับอิมฯให้เรียบร้อย ทางซีพีฯเห็นใจน้องมาก เลยยินดียื่นมือติดต่อกับแผนก Student Intergrity ที่อิมมิเกรชั่นให้ แต่เรื่องที่น่าเศร้าน่าสลดที่สุดก็คือ ทางพี่หลอกพอรู้เรื่องเข้า เลยใช้เทคนิคไม้ตายให้แม่เขาไปกล่อมแม่น้องหลงฝั่งเมืองไทย เท่าที่รู้มีการให้เงินกู้หนี้ยืมสินไปมากันอย่างไรก็ไม่ทราบนะคะ แม่ของน้องหลงไม่กล้าเอาเรื่อง และเนื่องจากพี่หลอกทะเลาะกับเอเย่นที่เคยใช้ในซิดนีย์ที่ทำเรื่องให้น้องหลงร่วมกัน เกิดการแตกหัก ทางพี่หลอกก็เลยส่งน้องหลงไปพบเอเย่นใหม่ในซิดนีย์ที่ทำงานร่วมกับพี่หลอกที่ถึงกับกล้าให้สัญญาว่าน้องหลงจะได้เข้าเรียนและได้วีซ่าคืนภายใน 7 วัน น่ากลัวมากเลยนะคะ คุณหมอวีซ่าเป็น Migration Agent มาเกือบ 17 ปียังไม่เคยไปกล้าการันตีเรื่องวีซ่ากับใครเลยในชีวิต เพราะผิดกฎหมายค่ะ แต่เอเย่นเจ้านี้กล้าลั่นวาจาออกมาเช่นนี้ ท้ากฎหมายเลยค่ะ

เรื่องน้องหลงจบอย่างไร

คุณหมอวีซ่าก็ยังไม่ได้ตามข่าว เพราะถูกคุณแม่ที่ไปหลงคารมแม่พี่หลอกบังคับไม่ให้น้องหลงเปลี่ยนเอเย่น อย่างนี้ก็คงไม่มีใครไปก้าวก่ายหรือช่วยน้องหลงได้หลอกค่ะ ก็คงต้องรับชะตากรรมกันไปนะคะ คุณหมอวีซ่า doubt it ว่าน้องจะได้เข้าเภสัชฯ อย่างไรเราก็ขอสวดมนต์ภาวนาให้เรื่องร้ายของน้องหลงกลับกลายเป็นเรื่องดีเถิอดนะคะ

เรื่องนี้ที่เล่าให้ฟัง

เพราะอยากให้เป็นอุธาหรณ์ให้คุณพ่อคุณแม่จากทางเมืองไทย ก็ต้องรู้จักถามไถ่ข้อมูลให้ละเอียดก่อนจะส่งลูกหลานไปอยู่นอก สถานทูตออสเตรเลียที่เมืองไทยก็มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาให้โทรถามข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ไปใช้บริการเขาเหอะ อนาคตของลูกเราแท้ๆ น่าเสียดายนะคะ

ส่วนน้องๆที่มาเรียนนอก

ก็ต้องหัดรู้จักดูแลและช่วยตัวเองให้มากๆ หาข้อมูลและทำในสิ่งที่ถูกต้อง หากเราเองไม่สามารถ fight เพื่อตนเองได้ มัวแต่อ่อนข้อหลงตามคารมพี่เอเย่นแบบพี่หลอกที่พูดเก่ง ใช้ความเป็นเพื่อนความสนิทสนมมาคอยหลอกน้องๆไปทีละขั้นละตอน แล้วน้องๆมาเรียนนอกมีความรู้จะยอมตกเป็นเหยื่อของคนแบบนี้ไปอีกกี่นาน หากเราเองยังไม่สามารถดูแลและไฟท์เพื่อตนเองได้ คำถามต่อมาก็คือแล้ววันหลังเราจะดูแลพ่อแม่เรายามแก่เฒ่าได้อย่างไร? จริงไม๊ ?

และท้ายสุดของฉบับนี้

ขอปิดท้ายแสดงความยินดีให้กับน้องไอซ์ที่เพิ่งได้พีอาร์จากSkillSelect ในอาชีพพยาบาล โดย CP เป็นผู้ดูแลและเดินเรื่องวีซ่าให้มาโดยตลอดตั้งแต่วีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน sc485 ตลอดจนได้ PR ผ่านช่องทางของ SkillSelect จนประสบความสำเร็จทุกขั้นตอน ยิ่งรัฐบาลออสเตรเลียขาดแคลนพยาบาลเป็นจำนวนมาก เพดานอาชีพ (Occupation Ceilings) – จำนวนที่อิมมิเกรชั่นสามารถออกจดหมายเชิญให้ได้มีจำนวนถึง 13,560 คน แต่ในปัจจุบันี้มีเพียงแค่ 1,297 คนเท่านั้นที่ได้รับจดหมายเชิญจากอิมมิเกรชั่นให้สมัครในตำแหน่งพยาบาลเพราะฉะนั้นน้องๆคนไหนที่อยากได้พีอาร์เช่นเดียวกับน้องไอซ์ ลองหันมาเรียนพยาบาลกันมั้ยคะ เพราะโอกาสที่จะได้พีอาร์นั้นยังมีโอกาสอยู่มากค่ะ

My Future My CP

สวัสดีค่ะ My Future My CP วันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดี Happy Ending ค่ะ …….เป็นเรื่องของน้องไอซ์ (ชื่อเล่นอันแสนน่ารักจนน้องอนุญาตให้ลงชื่อเล่นตามจริงได้เลยค่ะ) CP ขอแสดงความยินดีกับน้องไอซ์ ที่เพิ่งจะได้รับพีอาร์ (PR) ไปหมาดๆเมื่อต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา จากอาชีพนางพยาบาล (Nurse) น้องไอซ์เป็นนักเรียนเก่าแก่ของซีพีฯ มีครอบครัวที่แสนอบอุ่น และคุณแม่ที่ทั้งแสนสวยและแสนจะห่วงใยลูกจนตามมาอยู่ออสเตรเลียดูแลน้องไอซ์ตั้งแต่สมัยเรียน high school ที่ Sydney จนอายุครบ 18

น้องไอซ์สมัครเรียนกับทางซีพีฯมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมฯ หลังจากเรียนจบมัธยมฯ CP ก็สมัครให้เข้าเรียน Bachelor of Nursing ที่ University of Technology Sydney (UTS) ซึ่งทางซีพีฯเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการอยู่ หลังจากเรียนจบก็สมัคร พี่ๆที่ซีพีฯก็เดินเรื่อง Temporary Graduate Visa (sc485) โดยยื่นอาชีพ Registered Nurses เข้าไป ในระหว่างที่รอวีซ่า 485 ก็ยื่น Expression of Interest (EOI) เข้าไปในระบบ SkillSelect ให้เลยทันทีโดยไม่รีรอล่าช้า หลังจากรอเพียงแค่ 2 เดือนก็ได้รับจดหมายเชิญจากอิมมิเกรชั่นให้สมัครพีอาร์ Skilled Independent visa (subclass 189) ทั้งๆที่ 485 ยังไม่ออกเลย เจ้าหน้าที่ขอให้ไปตรวจสุขภาพ จากนั้นก็ไวมากเลย รวมเวลาแล้วเสร็จทั้งหมด 5 เดือนนับจากวันยื่น EOIเห็นจะได้ น้องก็ได้พีอาร์เป็นทีเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันน้องไอซ์ทำงานเป็นนางพยาบาลสุดแสนน่ารัก คอยดูแลผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล Royal Prince Alfred Hospital เงินเดือนดี เป็นที่รักยิ่งของคนไข้ คุณหมอและเพื่อนร่วมงานทุกคนค่ะ คุณหมอวีซ่าและทีมงานขอแสดงความยินดีในความสำเร็จของน้องไอซ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นที่น่าปลาบปลื้มและภาคภูมิใจของคุณพ่อคุณแม่จริงๆค่ะ

สำหรับน้องๆคนไหนที่อยากจะมีโอกาสได้พีอาร์เช่นเดียวกับน้องไอซ์ ก็สามารถเข้ามาติดต่อที่ซีพีฯได้ทุกสาขาเลยนะคะ โดยเฉพาะในตอนนี้ที่อาชีพพยาบาลยังขาดคนอีกเป็นจำนวนมาก อาชีพพยาบาลอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการพีอาร์อยู่ต่อในออสเตรเลียค่ะ ให้ซีพีฯช่วยวางแผนและดูแลอนาคตของคุณตั้งแต่วันนี้

น้องไอซ์กับ Justine ที่ CP Sydney
น้องไอซ์กับ Justine ที่ CP Sydney
มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: