Dr Visa Article – 2 October 2018

สวัสดีค่ะแฟนๆคุณหมอวีซ่าทุกท่าน กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ ครั้งนี้มาเร็ว มาไว ชดเชยที่เคยเงียบหายไปนานนะคะ ตามที่สัญญากันไว้ใน blog ก่อนหน้านี้ว่าคุณหมอวีซ่าจะมาอธิบายเรื่องวีซ่าถูกปฏิเสธ (refusal) กับวีซ่าถูกเพิกถอน ( cancellation) ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงจะมาอธิบายเรื่องกฎหมายยุ่งยากซับซ้อนอย่าง Public Interest Criterion 4019 ให้ดูเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น จะได้ช่วยให้แฟนๆของคุณหมอได้ระวังตัวและเตรียมตัวกันไว้ล่วงหน้าทั้งสำหรับคนที่กำลังจะยื่นวีซ่าหรือคนที่ถือวีซ่าอยู่ในมือแล้วก็ตามก่อนอื่นเลยตัวคุณหมอต้องขอไขความกระจ่างเรื่องความแตกต่างระหว่างวีซ่าถูกปฏิเสธ (refusal) และวีซ่าถูกเพิกถอน ( cancellation) ก่อนนะคะ เพราะลูกค้าของคุณหมอหลายคนก็สับสนมึนงงกันเป็นแถวว่า เอ๊ะ มันต่างกันยังไงน้า? วีซ่าถูกปฏิเสธคือเวลาที่ผู้สมัครยื่นขอวีซ่าเข้าไปที่อิมมิเกรชั่นแล้ว แต่ผลออกมาว่าคุณไม่ผ่าน ซึ่งนั่นก็คือการที่วีซ่าของคุณถูกปฏิเสธนั่นเอง ในกรณีที่วีซ่าถูกปฏิเสธนั้น ผู้สมัครสามารถยื่นขอวีซ่าใหม่ได้ก็ต่อเมื่อผู้สมัครมีคุณสมบัติครบถ้วนมากขึ้น หรือถ้าคิดว่าตนเองมีคุณสมบัติครบถ้วนอยู่แล้วแต่กลับโดนปฏิเสธเพราะไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือพบข้อผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ ก็สามารถยื่น visa application เข้าไปขอวีซ่าใหม่ได้ทันทีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น นายเอยื่นขอวีซ่านักเรียนเพื่อไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย แต่ไม่ได้แนบผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS หรือ PTE เข้าไป ทั้งๆที่ตามระดับความเสี่ยงของตนจะต้องแนบผลภาษาอังกฤษเข้าไปด้วยพร้อมกันตอนยื่นวีซ่านักเรียน ผลที่ตามมาก็คือวีซ่าถูกปฏิเสธเพราะมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามนโยบายของกฎหมายนั่นเอง ในกรณีนี้นายเอสามารถยื่นวีซ่าเข้าไปใหม่พร้อมแนบผลภาษาอังกฤษไปด้วยในครั้งใหม่นี้ ก็มีโอกาสผ่านได้ แต่บางครั้งก็น่าเห็นใจ เพราะมีนักเรียนหลายคนมาให้คุณหมอวีซ่าแก้เคสให้หลังถูกปฏิเสธมา อ่านจดหมายปฏิเสธแล้ว ส่วนใหญ่จะพบว่าเอเจนท์บางรายไม่รู้กฎดีพอ บ้างก็ทำงานสะเพร่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยื่นเข้าไปโดยทำงานไม่รอบคอบ ทำให้เด็กโดนปฏิเสธวีซ่ามาทั้งๆที่ควรจะผ่านอย่างน่าเสียดาย และที่อยากแนะนำก็คือ การยื่นเคสเข้าไปใหม่นั้น ต้องแก้จุดบกพร่องที่เจ้าหน้าที่ติงมาให้ได้ ก็จะช่วยให้น้องๆมีโอกาสผ่านวีซ่าในครั้งใหม่ที่ยื่นเข้าไป สำหรับทีมงานคุณหมอวีซ่า เวลาแก้เคสให้ผู้ที่ถูกปฏิเสธวีซ่ามา เราจะมีทีมงาน Migration Agent คอยเขียนเคสแก้ต่างให้ โดยอ้างอิงนโยบายของกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง จะได้ช่วยให้มีโอกาสผ่านวีซ่ามากยิ่งขึ้น

สำหรับวีซ่าถูกเพิกถอน หรือโดนแคนเซิลมา ก็คือกรณีที่ผู้ที่ถือวีซ่าอยู่ในมือแล้ว แต่ทำผิดกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งของวีซ่าที่อิมมิเกรชั่นกำหนดมา ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ผู้ที่ถือวีซ่าอยู่ก็จะโดนเพิกถอนวีซ่าและวีซ่าที่ถืออยู่ก็จะกลายเป็นโมฆะทันทีที่พ้นเวลาที่อิมฯกำหนดมาให้ อย่างเช่นภายใน 28 วันเป็นต้น การที่วีซ่าถูกปฏิเสธ กับโดนเพิกถอนนั้นมีความแตกต่างกันมาก โดยผู้ที่ถูกปฏิเสธวีซ่า สามารถยื่นขอใหม่ได้ทันที แต่ผู้ที่ถูกเพิกถอนวีซ่าจะโดนทำโทษโดยมีการกำหนดช่วงทัณฑ์บน หรือ ban 3 ปี หรืออธิบายง่ายๆก็คือในระหว่าง 3 ปีนี้จะไม่สามารถกลับเข้าไปในออสเตรเลียได้ด้วย temporary visas ใดๆ ยกตัวอย่างเช่น นายเออยู่ออสเตรเลียโดยถือวีซ่านักเรียนไปเรียนภาษาอังกฤษ 6 เดือน โดยที่วีซ่านักเรียนนั้นมีเงื่อนไขตามที่หลายๆคนรู้อยู่แล้วว่าตัวนักเรียนต้องเข้าเรียนให้ครบ 80 เปอร์เซ็นต์ของเวลาเรียนทั้งหมด ซึ่งนายเอก็รู้เงื่อนไขข้อนี้ดีจึงขาดเรียนน้อยมาก ถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็จะไม่หยุดเรียน แต่ที่นายเอไม่รู้คือการเข้าเรียนสายก็มีผลต่อการเช็ค attendance เช่นกัน ถึงแม้นายเอจะขาดเรียนน้อยแต่เขาไปสายบ่อยมากจนแทบจะเรียกว่าเป็นกิจวัตรประจำวันเลยก็ว่าได้ เพราะอากาศที่ออสเตรเลียเย็นสบาย หน้าหนาวก็หนาวเย็น ทำให้นายเอตื่นไปเรียนไม่ทันทุกเช้า ด้วยเหตุนี้ทำให้นายเอได้รับจดหมายเตือนจากทางสถาบันเรื่อง attendance ไม่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การได้จดหมายเตือนครั้งแรกนี้ถือว่าทางสถาบันยังให้โอกาสนายเออยู่โดยที่ไม่รายงานเรื่องไปถึงอิมมิเกรชั่น (โดยส่วนมากแล้วสถาบันจะให้โอกาสเพียง 3 ครั้งเท่านั้น โดยแต่ละครั้งที่โดนเตือน นักเรียนต้องเข้าไปพบ supervisor เพื่ออธิบายเหตุผลที่ฟังขึ้นและปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น) แต่ถ้าหลังจากโดนเตือนแล้วตัวนายเอก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงใดๆทั้งสิ้น จุดจบของนายเอคนนี้ก็คือจะถูกเพิกถอน CoE โดยทางสถาบัน และตามด้วยวีซ่านักเรียนโดยเพิกถอนโดยอิมมิเกรชั่น และตามมาด้วยการโดน ban ห้ามเข้าออสเตรเลียอีกเป็นเวลา 3 ปี นับเป็นโทษที่รุนแรงพอควรเลยทีเดียวค่ะ

ทั้งวีซ่าถูกปฏิเสธและวีซ่าถูกเพิกถอนนั้นมีทางแก้ไขทั้งคู่ แต่การแก้ไขวีซ่าที่ถูกเพิกถอนนั้นยุ่งยากและลำบากกว่ามากตามที่คุณหมอได้เกริ่นไปนิดๆหน่อยๆในบทความก่อนหน้านี้ เพราะวีซ่าถูกเพิกถอนจะมีเรื่องของ Public Interest Criterion 4019 หรือที่เรียกันย่อๆว่า PIC4019 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ใจความหลักๆของ PIC4019 คือผู้ที่ถือวีซ่าต้องให้เกียรติและเคารพในค่านิยมของชาวออสซี่ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลียด้วย ถ้าไม่ทำตามก็จะถือว่าขัดต่อ PIC4019 ดังนั้นผู้ที่โดนเพิกถอนวีซ่าจึงถือว่าเป็นผู้ที่ขัดต่อเงื่อนไข PIC4019 ด้วยเช่นกัน อีกทั้งข้อที่ยากก็คือ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การที่รัฐบาลออสเตรเลียจะคืนวีซ่าให้ใหม่ในระหว่างที่โดน ban 3 ปีอยู่นั้น มีการส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาวออสเตรเลีย หรือประเทศออสเตรเลียอย่างใด ซึ่งการที่จะแก้ไขเหตุการณ์นั้น คุณหมอวีซ่าและทีมงานต้องขุดสารพัดเหตุผล ซึ่งต้องเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้น แสดงถึงความจำเป็นและความน่าเห็นใจจริงๆเท่านั้น รวมถึงข้อโต้แย้งทางกฎหมายต่างๆนานาส่งให้อิมมิเกรชั่นเพื่อชุบชีวิตลูกค้าของคุณหมอวีซ่า ทางคุณหมอวีซ่าและทีมงานเราสู้กันเต็มที่ค่ะเพื่ออนาคตลูกค้า และที่ผ่านๆมา ทีมงานเราก็ได้ช่วยให้น้องๆกลับไปเรียนต่อจนจบภายในระยะเวลาที่โดน ban 3 ปีมามากต่อมากแล้ว ดีใจที่เห็นน้องๆรับปริญญาในที่สุด อย่าลืมส่งรูปมาให้ทีมงานเราชื่อชมด้วยนะคะ

หลังจากอ่านบทความนี้แล้วคุณหมอวีซ่าขอฝากแฟนๆของคุณหมอฯทุกคน รวมทั้งน้องๆหนูๆทั้งหลายที่คิดว่าตัวเองกำลังเสี่ยงต่อการทำผิดกฎวีซ่า ก็รีบกลับตัวกลับใจกันนะคะก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ สำหรับใครที่ปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาขอคำปรึกษาจากทีมงานคุณหมอวีซ่าได้ที่ CP International Education and Migration Centre 408/35 ชั้น 9 อาคารพหลโยธินเพลส ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม 10400 เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์: 9.00-18.00น.
เบอร์โทรติดต่อ: 02-278-1236
CP International Official Line:@cpinter
ทางคุณหมอวีซ่าและทีมงานยินดีช่วยเหลือเต็มที่ค่ะ

ก่อนจากกันไป คุณหมอก็มี 2 โปรโมชั่นสุดพิเศษสำหรับเดือนตุลาคมมาฝากกันค่า


มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: