2 February 2012

ผ่านไปแล้วสำหรับเทศกาลตรุษจีนที่ส่งความร่ำรวยมาถึงทุกๆท่านนะคะ ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลที่จะส่งความหวานฉ่ำมาถึงหัวใจของทุกท่านที่มีความรักก็คือวันวาเลนไทน์นั่นเองค่ะ คุณหมอวีซ่าก็ขอเริ่มต้นด้วยการส่งข่าวถึงทุกท่านที่กำลังมองหาฤกษ์ดีในการจดทะเบียนทะเบียนสมรสเพื่อเป็นมงคลตรงกับวันแห่งความรัก อนึ่ง ท่านจะได้นำใบทะเบียนสมรสไปใช้ประกอบการยื่นวีซ่า ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าคู่ครอง หรือวีซ่าติดตามก็ตาม ก็อย่าลืมรีบจับจองการจดทะเบียนสมรสมาในงาน “CP Partner Visas Seminar – 14 February 2012” ซึ่งทางซีพี อินเตอร์ฯ ได้จัดขึ้นทุกปีนะคะ (ดูรายละเอียดข้างล่าง) ในปักษ์ที่แล้วคุณหมอวีซ่าได้พูดถึงเรื่องการทำวีซ่าคู่ครองซึ่งต้องยื่นมาจากประเทศไทย ฉบับนี้คุณหมอวีซ่าจึงขอพูดต่อถึงการทำวีซ่าคู่ครอง แต่เป็นการยื่นภายในออสเตรเลียค่ะ อย่างที่หลายๆคนทราบมาบ้างแล้วว่าการทำวีซ่าคู่ครอง หรือ Partner visas นั้น มีด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ซึ่งในปักษ์ที่แล้วคุณหมอวีซ่าได้พูดถึงเรื่องวีซ่า sc 309 และ sc 300 ซึ่งเป็นวีซ่าคู่ครองและวีซ่าคู่หมั้นไปแล้ว ฉบับนี้จะขอเขียนถึง sc820/801 ข้อมูลข้างล่างนี้อาจช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจโครงสร้างของ Partner Visas อย่างง่ายๆนะคะ

Partner Permanent Onshore – sc801 การทำวีซ่าคู่ครองภายในประเทศออสเตรเลียในขั้นแรกนั้นจะเรียกว่า Partner Temporary Onshore – sc 820 หรือที่เรามักเรียกกันสั้นๆว่า ทีอาร์ (TR) หรือเทมพ์ (Temp) ซึ่งเป็นวีซ่าชั่วคราว และเมื่อครบ 2 ปี หากความสัมพันธืยังอยู่ด้วยกันดี ก็จะมีสิทธิ์เปลี่ยนเป็นวีซ่าถาวร หรือ Partner Permanent Onshore – sc801 หรือเป็นขั้นพีอาร์นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าคู่หมั้นมาจากเมืองไทย ก็สามารถจะทำเรื่องวีซ่า sc 820 ภายใน 9 เดือนตามระยะเวลาที่ได้วีซ่ามา โดยลักษณะความสัมพันธ์ 3 ประเภทที่สามารถยื่นวีซ่าประเภทนี้ได้ก็คือ 1.คู่แต่งงาน 2. คู่ที่ไปจดทะเบียนความสัมพันธ์ (Relationship Registration) และ 3. คู่ที่อยู่กินฉันท์สามี-ภรรยา (De-facto relationship) ซึ่งจะรวมไปถึง same-sex relationship หรือคู่ที่เป็นเพศเดียวกันด้วยนั่นเองค่ะ อย่างที่เกริ่นไปในฉบับที่แล้วว่า ผู้ยื่นวีซ่าคู่รักที่จดทะเบียนความสัมพันธ์ (Relationship Registration) ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานกินอยู่ครบปี ก็สามารถยื่นเรื่องได้แล้วนะคะ แต่ความสัมพันธ์ต้องเป็นจริงค่ะ หลายๆคนสงสัยในเรื่องของหลักฐานการกินอยู่ว่าจะต้องเก็บเป็นเวลานานเท่าไรถึงจะยื่นเรื่องได้ แล้วเราต้องใช้เอกสารอะไรเวลายื่น ขอชี้แจงว่าสำหรับคู่ De-facto นั้นจะต้องมีหลักฐานการกินอยู่ร่วมกัน 12 เดือนขึ้นไปถึงจะสามารถยื่นได้ ยกเว้นแต่ว่ามีเหตุจำเป็นจริงๆ จึงจะสามารถขอยกเว้น หรือ waive ตรงส่วนนี้ได้ หรือถ้ามี Relationship Registration Certificate ตามที่แจ้งไว้ข้างต้นก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานกินอยู่ครบปีก็สามารถยื่นเรื่องได้ ทำนองเดียวกับกรณีของคู่แต่งงาน แต่หากท่านผู้อ่านมีหลักฐานยิ่งยาวนานเท่าไรก็ยิ่งดีค่ะ หลายๆคนมาหาคุณหมอวีซ่าว่าอยากจะทำวีซ่าแต่งงาน แต่วีซ่าจะหมดแล้วอีก 3 เดือน แถมหลักฐานก็ไม่เคยเก็บกันมาก่อนเลย ยื่นก็ยื่นได้ตามกฎหมาย แต่ก็อาจโดนเรียกเอกสาร สัมภาษณ์หนักหน่อยเป็นต้น ซึ่งคุณหมอวีซ่าก็จะย้ำอยู่เสมอว่าหลักฐานเราก็ต้องเก็บกันไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลายื่นจะได้ไม่เกิดปัญหาค่ะ การยื่นวีซ่าคู่รัก ควรมาขอคำปรึกษาการทำวีซ่าและจัดเตรียมหลักฐานกินอยู่เสียแต่เนิ่นๆ อย่างเช่นกรณีของน้องหลายคนที่มาพบคุณหมอวีซ่าเอาตอนเมื่อสายเกินไปเสียแล้ว ตอนนี้มีกลุ่มนักเรียนจำนวนมากเลยค่ะ ที่ความสัมพันธ์ยังไม่ถึงปี แต่วีซ่าใกล้จะหมด ก็มาขอแนะนำคุณหมอวีซ่าว่าควรจะไปต่อวีซ่านักเรียนหรือทำเรื่องแต่งงานดี บางคนเห็นค่าใช้จ่ายเยอะก็ไม่อยากที่จะทำวีซ่าคู่ครอง แต่ไปเลือกสมัครวีซ่านักเรียนแทน (โดยลืมไปว่าการเสียค่าเล่าเรียน ก็เป้นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มอยู่ดี) หรือบางคนเห็นว่าหลักฐายยังไม่ครบปี อย่างเช่นน้องที่คุณหมอวีซ่ากล่าวถึงในสัปดาห์ที่แล้ว ได้รับคำแนะนำผิดให้ไปต่อวีซ่านักเรียน ก็ปรากฎว่าวีซ่านักเรียนโดนปฏิเสธ(ภายใต้กฎ GTE ที่เคี่ยวมาก) ตามที่คุณหมอวีซ่าคาดการณ์ แทนที่จะได้ยื่นวีซ่าคู่ครองไปเลย โดยไม่ต้องมีประวัติเสีย กลับกลายเป็นต้องกลับไปยื่นที่เมืองไทย นอกจากจะต้องรอเวลานานแล้ว ค่าใช้จ่ายก็ต้องเสียมากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าๆ น้องอีกคนหนึ่งก็ต่อวีซ่านักเรียนเป็นรอบที่ 4 แล้ว เพราะอยากจะอยู่กับแฟนที่นี่ แต่ปรากฎโดนปฏิเสธวีซ่า เพราะไม่เชื่อว่าเป็นนักเรียนที่แท้จริงภายใต้กฎ GTE (Genuine Temporary Entrant) หากเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นไม่เชื่อว่าน้องๆนั้นตั้งใจจะมาเรียนจริง เช่นน้องคนนี้ที่ถือวีซ่าดิโพลม่ามา 3 รอบแล้ว เพราะจะต่ออีกรอบ อิมมิเกรชั่นก็ต้องสงสัยแล้วล่ะค่ะ ว่าจะมาเรียนอะไรอีกทำไมไม่กลับบ้านสักที เห็นมั้ยคะว่าวีซ่านักเรียนนั้นยากแค่ไหน ซึ่งนับแต่กฎ GTE เริ่มประกาศใช้ วีซ่านักเรียนก็นับว่ายากขึ้นมากทุกวัน แต่ถ้าหากเป็นนักเรียนที่ตั้งใจจะมาเรียนที่นี่จริง วีซ่านักเรียนก็ไม่ยากเกินควร แต่ถ้าหากมีประวัติต่อเรียนดิโพลม่าหลายๆรอบ หรือมาเรียนในระดับปริญญาโทแต่ว่าสุดท้ายก็ลาออกไปเรียนดิพแทน ถ้าจะต่อวีซ่าคราวนี้ก็คงจะยากแสนยากแล้วล่ะค่ะ หลายๆคนที่ชอบคิดว่ายื่นวีซ่านักเรียนรอทำเรื่อง หรือสร้างเอกสารเพิ่มดีกว่า แทนที่จะได้อยู่กับแฟนที่นี่ แต่กลับโดนปฏิเสธ ทำให้เคสอยากขึ้นไปอีก แถมต้องไปยื่นจากที่ไทยมา กว่าจะได้อยู่กับแฟนอีกก็ใช้เวลาเป็นปี ดังนั้นคุณหมอวีซ่าถึงย้ำเสมอว่าเราควรจะเลือกใช้เอเจนท์ที่ได้รับการจดทะเบียนรับรองจาก MARA เพื่อที่ผู้อ่านทั้งหลายจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง เพราะถ้าหากไปเลือกใช้เอเจนท์ที่ไม่ได้รับรอง หรือทำเป็นแต่วีซ่นักเรียนเพียงอย่างเดียว ก็อาจประสบปัญหาเช่นตัวอย่างน้องๆข้างต้น เศร้าเลยค่ะ จบเรื่องข่าวร้ายๆไปแล้ว เรามาว่ากันเรื่องข่าวดีบ้างดีกว่า หนึ่งในคู่รักที่ได้รับวีซ่าทีอาร์เรียบร้อยแล้ว ที่ทำเรื่องผ่านกับทางซีพี อินเตอร์ ได้แก่น้องนุ่ม และน้องนิ่ม (นามสมมุติ) ทั้งสองคนนั้นเป็นคู่รักเพศหญิงเดียวกัน ซึ่งฝ่ายสปอนเซอร์นั้นเคยแต่งงานกับผู้ชายมาก่อนค่ะ ก่อนที่จะมาพบรักกับเนื้อคู่ทุกวันนี้ น้องนุ่มได้เดินทางมาออสเตรเลียและได้พบรักกับผู้ชายคนหนึ่งจนตัดสินใจที่จะแต่งงานกัน แต่เนื่องจากความสัมพันธ์ไม่เป็นไปตามที่หวังก็เลยต้องเลิกกัน แต่เรื่องของความรักก็ไม่เข้าใครออกใคร พอมาอยู่ออสเตรเลียได้สักพัก โชคก็นำพาให้น้องหนึ่งได้มาพบรักกับน้องนิ่ม จนตัดสินใจที่จะทำวีซ่าแต่งงานด้วยกัน ในตอนแรกทั้งสองนั้นก็ไม่แน่ใจว่าจะยื่นวีซ่าอย่างไร เนื่องจากกลัวว่าถ้าหากยื่นเคสไปแล้วเคสไม่ผ่าน ทางเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธไม่ให้วีซ่าแก่น้องนิ่ม เพราะอยู่ดีๆน้องนุ่มที่เคยรักและแต่งงานกับผู้ชายมาก่อน จะมาเปลี่ยนชอบแฟนเพศเดียวกันได้อย่างไร แต่เนื่องจากทั้งสองได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากคุณหมอวีซ่า ประกอบกับการเขียนสำนวนดีๆเสนออิมฯเข้าไป และความรักทั้งสองก็เป็นเรื่องจริง ทำให้ในปัจจุบันนี้น้องนิ่มได้วีซ่าไปเรียบร้อยแล้ว ได้ทั้งเมดิแคร์ และมีโอกาสได้ไปเรียนภาษาเพิ่มเติมด้วยจากสิทธิในการเป็นทีอาร์จากวีซ่าคู่ครองค่ะ คุณหมอวีซ่าจะรู้สึกดีมากทุกครั้งที่สามารถช่วยให้น้องๆทั้งหลายได้วีซ่าที่ถูกต้องกันนะคะ เพราะนั่นหมายความว่าน้องๆสามารถมีอนาคตที่สดใสในประเทศออสเตรเลียและอยู่ร่วมกับคนที่เรารักไปได้นานๆ ก่อนจบ คุณหมอวีซ่าก็ขอย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าการเลือกใช้เอเจนท์ที่ดีนั้นมีชัยไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 นี้ ทางซีพี อินเตอร์จะจัดงาน “CP Partner Visas Seminar” ซึ่งจัดกันมาเป็นประจำทุกปี และประสบความสำเร็จมาทุกปี โดยได้รับความอุปการะและสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่ประจำนครซิดนีย์ในการขนหน่วยเคลื่อนที่จากสถานกงสุลฯมาให้บริการรับจดทะเบียนสมรสให้แก่คู่บ่าวสาวประชาชนชาวไทยและเทศ (ที่แต่งกับไทย) นอกสถานที่ ซึ่งในปีนี้สถานที่ของเราได้ย้ายไปจัดที่ โรงแรม Metro Sydney Central ตรงไทยทาวน์ มีคนโทรมาสอบถามมากมายว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการจดทะเบียน แล้วจะต้องทำอะไรบ้างในวันงาน คุณหมอวีซ่าก็เขียนมาไว้ตรงนี้เลยนะคะ ในวันงานจะได้ไม่ฉุกละหุกค่ะ

สำหรับคนไทย

  1. Passport + สำเนา 1 ชุด
  2. บัตรประชาชน + สำเนา 1 ชุด
  3. ทะเบียนบ้าน + สำเนา 1 ชุด
  4. ใบหย่า (ถ้ามี)

สำหรับชาวต่างชาติ

  1. Passport + สำเนา 1 ชุด
  2. Single Status Certificate + สำเนา 1 ชุด (ต้องแปลเป็นภาษาไทยให้เรียบร้อยนะคะ)
  3. Divorce Certificate (ถ้ามี) + สำเนา 1 ชุด (ต้องแปลเป็นภาษาไทยด้วยคะ)

sydney@cpinternational.com หรือจะโทรมาที่ 02-9267-8522 งานดีๆ อย่างนี้ ห้ามพลาดเด็ดขาดค่ะ เรื่องวีซ่า ต้องยกให้ CPInter – เพราะที่นี่ วันไหนไม่มีวีซ่าผ่าน จะถือว่าเป็นเรื่องแปลก.. มั่นใจในคุณภาพของ CPInter..15 ปีแห่งการบริการอันเป็นเลิศ


วีซ่าคู่รัก คู่ครอง ผู้ติดตาม – มางานเดียว รู้ครบทุกอย่าง “CP Partner Visas Seminar 2012” ตามคำเรียกร้องอีกครั้งหนึ่ง CP Inter ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน Partner Visas Seminar ประจำปี 2012 ในวันแห่งความรัก – อังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 11.00 น. ถึง 15.00 น. ที่ Metro Hotel Sydney Central ตรง Thai Town ภายในงานพบกับ เทคนิคการจัดงานแต่งงาน การแต่งหน้าทำผม และการเลือกชุดเจ้าสาว โดยผู้เชี่ยวชาญ ทางด้าน wedding planner ฟังอภิปรายสัมมนาเคล็ด (ไม่) ลับของการยื่นวีซ่าคู่ครองและผู้ติดตามอย่างไรให้มีโอกาสผ่านสูง… โดย “คุณหมอวีซ่า” รวมทั้งการจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายไทย โดยได้รับเกียรติจากท่านกงสุลใหญ่ประจำสถานกงสุลไทย นครซิดนีย์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสนุกอื่นๆอีกมากมาย และร่วมชิงรางวัล “Honeymoon Package Vouchers” จากสปอนเซอร์ใจดี

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: