30 October 2014

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับคุณหมอวีซ่าอีกครั้ง ฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายสิ้นเดือนตุลาคม อีกแค่ไม่ถึง 2 เดือนก็จะเป็นช่วงคริสมาสต์และปีใหม่กันอีกแล้ว ปีนี้ช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วจริงๆนะคะ ช่วงนี้คุณหมอวีซ่าอยู่ประจำการที่ซิดนีย์ โดยได้บินเข้า Melbourne พบลูกค้า เยี่ยมสถาบันไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่น้องลูกหลานคนไหนอยากเข้ามาปรึกษาก็สามารถโทรมานัดได้เลยนะคะที่ 02-9267-8522 พร้อมตอบและหาทางออกวางแผนอนาคตให้ทุกท่านเดินทางถึงเป้าหมายตามกฎเกณฑ์และนโยบายที่อิมมิเกรชั่นวางไว้ให้อย่างถูกต้องปลอดภัยนะคะ

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางอิมมิเกรชั่นก็ได้ออกจดหมายเตือนเกี่ยวกับเรื่อง work visa scams หรือถ้าจะแปลเป็นภาษาไทยก็คืออุบายกลโกงเกี่ยวกับวีซ่าทำงานละค่ะ อย่างที่ทราบกันว่าวีซ่าทำงานนั้นเป็นที่ฮอตฮิตติดตลาดจริงๆ หลายเอเย่นทุกชาติก็พากันโฆษณาชวนเชื่อในหลายรูปแบบว่าสามารถทำวีซ่าทำงานในออสเตรเลียให้ได้ เพราะถือเป็นอีกวีซ่าที่สามารถขอพีอาร์อยู่ต่อได้ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และไม่จำเป็นต้องพึ่งพา partner หรือแฟนเป็นสปอนเซอร์ให้ในการขอวีซ่า สำหรับบางคนที่อาชีพโดนตัดไป (ไม่ได้อยู่ในลิสต์พีอาร์ต่อไป) ก็ลองหันมาดูวีซ่าทำงานกันเป็นหลัก เมื่อเป็นช่องทางในการได้วีซ่า นายจ้างบางคนก็นำวีซ่าตัวนี้มาหากินโดยการเรียกร้องขอเงิน ถ้าลูกจ้างไม่จ่าย ก็ไม่ได้วีซ่าไป คุณหมอวีซ่าเลยขอยกเรื่องนี้มาบอกกล่าวเล่าให้ฟังกัน จะได้รู้ข้อเท็จจริงและสิทธิ์ของตนเองโดยไม่ไปโดนหลอกล่อจนหลายท่านแทบถอนตัวไม่ขึ้น ตกอยู่ในที่นั่งลำบากนะคะ
ลองมาอ่านข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นลงผ่านเว๊ปไซท์ของทางกระทรวงฯเพื่อตักเตือนสาธารณชนกันก่อน ตามใจความดังนี้ :

Work visa scams. Don’t pay the price.

A scam is an attempt to intentionally mislead people to steal money, property, or personal information, or to dishonestly obtain something else of value.

We are aware that criminals around the world and in Australia use scams with false promises of work and permanent residence in Australia as a way to exploit or steal money from people.

We are committed to educating people about the correct processes for applying to live and work in Australia and to assist them to protect themselves from migration fraud and scams. It is important that you understand your rights and your employer’s obligations to ensure you are protecting yourself.

Most people follow the appropriate and lawful process in meeting visa and sponsorship requirements, a minority do not. We undertake a range of measures to identify those who are engaging in fraudulent activities and have penalties in place to deal with visa holders and sponsors who are found to be doing the wrong thing.

What are we doing to stop these scams?

We take scams very seriously and have a number of strategies in place to prevent people from becoming victims of scams but also to take action against those engaging in fraudulent behavior.

We educate people about current scams and the warning signs to look out for.

We run monitoring and educational campaigns in addition to standard sponsor audits to ensure that sponsors and visa holders are meeting their visa conditions and sponsorship obligations in accordance with migration laws.

We take action when visa holders and/or sponsors are found to be doing the wrong thing, this may include visa cancellation, administrative sanctions such as cancellation of sponsorships, issuing financial penalties, or taking court action. In 2013-14, we monitored 2,294 sponsors, resulting in 365 sanctions and 28 financial penalties. We cancelled 10,454 subclass 457 visas where visa holders were found to be in breach of their visa conditions.

We share information and work cooperatively with the Fair Work Ombudsman to monitor sponsors against their obligations. We also share information with other government agencies such as the Australian Competition and Consumer Commission (ACCC) to ensure that employment scams or exploitation are dealt with in a comprehensive manner.

What can you do to avoid being the victim of a work visa scam?

There are a number of things you can do to ensure you remain vigilant and do not become the victim of a work visa scam.

Ensure you are aware of the visa application charges and processes that apply to your situation.

Make sure you are aware of your work rights and your sponsor’s obligations.

Be cautious of any job offer requiring an upfront payment or paying back some of your salary.

Familiarise yourself with current scam warnings and be alert to the warning signs of scams.

If you use a Migration Agent, ensure you are using a Registered Migration agent. Always check with Office of the Migration Agents Registration Authority to see if an Agent is registered.

(Source: http://www.immi.gov.au/Work/Pages/work-visa-scams.aspx)

จากข้อความข้างบน คุณหมอวีซ่าขอสรุปอย่างคร่าวๆว่าปัจจุบันนี้วีซ่าทำงานถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาเงิน (เข้ากระเป๋า) ของบรรดานายจ้างมากขึ้น คนทำงานหลายๆคนที่มีประสบการณ์การทำงาน และต้องการจะมาสร้างรายได้ในออสเตรเลียในยุคนี้ ก็มักจะถูกหลอกจากบรรดานายจ้าง หรือคนกลางว่าให้จ่ายเงินจำนวนเท่านี้ แล้วทางเราจะให้วีซ่าทำงานแก่คุณ หรือหลังจากที่ให้วีซ่าแล้ว ก็บอกลูกจ้างทั้งหลายให้ไปทำงานนอกเหนือจากอาชีพที่ยื่นไป เช่นนายจ้างสปอนเซอร์มาในตำแหน่ง Marketing Specialist แต่โดนให้ไปทำงานในตำแหน่งเชฟซึ่งไม่ตรงกับสายที่เรียนมา บ้างก็ต้องไปทำความสะอาดบ้านของนายจ้าง ล้างสระน้ำ หรือเลี้ยงเด็กให้ด้วย แถมยังโดนให้ทำงานอาทิตย์ละมากกว่า 50 ชั่วโมง ทั้งๆที่ชั่วโมงทำงานตามกฎหมายแรงงานคือ 38 ชั่วโมงแต่อาทิตย์ แถมยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างตามกำหนดกฎหมายอีกด้วย หรืออย่างบางรายนายจ้างสัญญว่าจ่ายเงินมาเท่านี้ แล้วเดี๋ยวจะทำวีซ่าให้ สุดท้ายนายจ้างก็หลบหนีหายไปพร้อมเงินเลยก็มี หลายๆกรณีที่คุณหมอวีซ่ามักจะได้ยินจากทีมงานคุณหมอวีซ่า เช่น มีน้องคนหนึ่งไปหา recruiting agency หรือ agent ช่วยจัดหางานให้ ทางเอเจนท์บอกว่าถ้าหากจ่ายเงินให้เค้า $15,000 แล้วเค้าจะหานายจ้างช่วยสปอนเซอร์ตำแหน่งพีอาร์ให้ ซึ่งน้องคนนี้ก็ยินดีจ่ายอย่างไม่ลังเลให้กับเอเจนท์ สุดท้ายแล้วพอไปติดต่อนายจ้าง นายจ้างไม่ทราบในข้อตกลงระหว่างเอเจนท์กะน้องคนนี้ในเรื่องของสปอนเซอร์เป็นพีอาร์ เลยแม้แต่เล็กน้อย แต่นายจ้างก็ยังใจดีนะคะ อุตส่าห์สปอนเซอร์วีซ่าทำงาน (457) ให้ รอเพียง 2 ปี ก็ได้พีอาร์แล้ว เห็นมั้ยคะบริษัทเอเจนท์ก็ฟันเงิน หลอกเงินไป เพราะฉะนั้นถ้าหากบริษัทมาอ้างว่าสามารถหานายจ้างที่สปอนเซอร์พีอาร์ได้ก็ต้องดูดีๆ นายจ้างดีๆที่ยินดีสปอนเซอร์ก็ยังมี ขอเพียงแค่เรามีความสามารถ ในอีกกรณีหนึ่งมีน้องคนหนึ่งมาหาทีมงานคุณหมอวีซ่าแล้วบอกว่านายจ้างจะทำวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ (457) ให้ ขอเพียงแค่จ่ายเงินให้เป็นจำนวน $100,000 สามารถสปอนเซอร์จนได้พีอาร์เลย ถ้าต้องจ่ายเงินถึงจำนวนนี้ คุณหมอวีซ่าแนะนำให้แจ้งอิมมิเกรชั่นเลยนะคะ เป็นการขูดรีดขูดเนื้อกันจริงๆ ค่ะ

ในปัจจุบัน (ช่วงปี 2013 – 2014) ทางอิมมิเกรชั่นได้แคนเซิลสปอนเซอร์ไปแล้ว 2,294 ราย และแคนเซิลผู้ถือวีซ่า 457 ไปแล้ว 10,454 คน เพราะจับได้ว่ามีการหลอกลวง ปฏิบัติผิดกฎของการสปอนเซอร์และการว่าจ้างงาน เพราะฉะนั้นในช่วงนี้ ถ้าน้องๆคนไหนที่ยื่นวีซ่าทำงานไปและพบว่าอิมมิเกรชั่นขอเอกสารเยอะแยะมากมาย ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะพอเกิดเหตุการณ์อย่างที่กล่าวมาข้างบนมากขึ้น อิมมิเกรชั่นก็ต้องขอเอกสารเพิ่มมากขึ้นเพื่อคงไว้ซึ่งความยุติธรรมของวีซ่าค่ะ

สำหรับน้องๆ คนไหนที่กลัวว่าจะโดนหลอกเหมือนอย่างกรณีข้างบน ก็ขอให้ปฏิบัติดังนี้

  • รู้รายละเอียดเรื่องค่าสมัครวีซ่า
  • ในฐานะลูกจ้าง เราควรรู้เรื่องสิทธิในการทำงานของเรา และคุณสมบัติของนายจ้าง
  • ระมัดระวังในเรื่องของสัญญา โดยเฉพาะเวลาที่นายจ้างเรียกร้องให้จ่ายเงินก่อน หรือหลังจากยื่น
  • ระมัดระวังในเรื่องกลโกงของวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ต่างๆ
  • สิ่งสำคัญที่สุด ถ้าหากไม่ชัวร์ ควรจะเลือกใช้เอเจนท์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทาง MARA (Office of the Migration Agents Registration Authority)

เพราะฉะนั้นก่อนจะยื่นวีซ่าทำงานอย่าลืมตรวจสอบข้อมูลต่างๆก่อนนะคะ เพื่อความแน่นอน น้องๆสามารถติดต่อได้ที่ ซีพี อินเตอร์ฯ ทุกสาขาเลยนะคะ ปัญหาวีซ่าเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากโดนปฏิเสธหรือแคนเซิลแล้ว โอกาสที่จะได้วีซ่าก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก สำหรับวันนี้คุณหมอวีซ่าลาไปก่อนค่ะ

ด้วยความปรารถนาดี
คุณหมอวีซ่า

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: