พักนี้วีซ่าเข้าออสเตรเลียดูจะเข้มงวดขึ้นทุกวัน ดูเหมือนรัฐบาลชุดนี้จะไม่ค่อยส่งเสริมให้คนเข้าประเทศเขาด้วยวีซ่าชั่วคราวเอาซะเลย ค่อยๆปิดช่องทางของวีซ่าแต่ละตัว ตั้งแต่วีซ่าทักษะ วีซ่านักเรียน กระทั่งกับวีซ่าท่องเที่ยวที่เคยออกให้ง่ายๆในยุครัฐบาลชุดเก่าที่มีการส่งเสริมการศึกษา การท่องเที่ยวของประเทศมาเป็นอุตสาหกรรมในระดับต้นๆของประเทศออสเตรเลีย รองๆจากอุตสาหกรมเหมืองแร่เลยทีเดียว ความที่ช่วงนี้คุณหมอวีซ่าทำงานอยู่ที่สำนักงาน CP International Education & Migration Centre ที่เมืองไทย จึงมีโอกาสคุยกับผู้ที่ถูกปฏิเสธวีซ่าแต่ละประเภทที่เข้ามาพบและให้แก้เคสให้เกือบทุกวัน บอกได้เลยว่า หากจะยื่นวีซ่าจากเมืองไทยเข้าออสฯในยุคปัจจุบัน ระเบียบมันเข้มงวดขึ้นอีกมากเลย จึงควรเตรียมเอกสารเข้าไปดีๆกันนะคะ แต่ที่แน่ๆ วีซ่าที่คุณหมอวีซ่าเห็นว่ารัฐบาลยังอลุ่มอล่วยให้กันอยู่ ก็เห็นจะได้แก่วีซ่าสำหรับบิดามารดา โดยคุณหมอวีซ่าเชื่อว่าหลายๆท่านที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียมานานปี ได้ก่อร่างสร้างตัว หรือสร้างครอบครัว หลายท่านก็มีลูกน้อยๆตามกันมาให้คุณปู่-ย่า-ตา-ยายชื่นใจกัน อนึ่ง ด้วยความกตัญญู จึงคิดอยากพาพ่อแม่ของตนเองมาอาศัยอยู่ด้วยกันในประเทศนี้ นัยหนึ่งก็ได้เลี้ยงดูท่านยามชรา อีกนัยท่านก็ช่วยเลี้ยงหลาน ช่วยให้เราไปทำงานค้าธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยฝากเจ้าตัวน้อยกับศูนย์โน่นนี่ หรือคอยรบกวนคนเลี้ยงไปทั่ว ครอบครัวก็จะดูมีความสุขดีนะคะ วันนี้คุณหมอวีซ่าจึงอยากเขียนเรื่องของ Parent Visas ที่หลายๆคนคงได้ยินมาว่าค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่าพ่อแม่นั้นสูงชะลูด หากไม่มีเงินเก็บก็คงไม่สามารถพาพ่อแม่มาอยู่ได้ อันนี้ก็ถูกเพียงบางส่วน แต่การทำวีซ่าพ่อแม่นั้นมีหลายประเภทและอาจจะไม่ยากอย่างที่คิดก็ได้ค่ะ ก่อนอื่น คุณหมอวีซ่าขอชี้แจงว่า Parent Visas นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. Parent category – วีซ่าพ่อแม่ประเภททั่วไป — Parent Visa (Migrant) sc 103 (offshore/onshore) — Aged Parent (Residence) sc 804 (onshore) 2. Contributory parent category – วีซ่าพ่อแม่ที่ต้องลงทุนสมทบ — Contributory Parent (Migrant) sc 143 (offshore/onshore) — Contributory Parent (Temporary) sc 173 (onshore/offshore) — Contributory Aged Parent (Residence) sc 864 (onshore) — Contributory Aged Parent (Temporary) sc 884 (onshore) ในกลุ่ม Parent Visas แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทแรกคือวีซ่าสำหรับพ่อแม่ทั่วไป และวีซ่าที่ต้องลงทุนสมทบ สำหรับวีซ่าที่เป็นที่นิยมยื่นกันบ่อย ก็คือ sc 103 และ sc 143 แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายในประเภทแรกนั้นถูกกว่าประเภท contributory ครึ่งต่อครึ่ง แต่เนื่องจากระยะเวลาในการรอวีซ่าอนุมัตินั้นใช้เวลานานกว่ามาก ซึ่งในปัจจุบันตามนโยบายประชากรของรัฐบาลออสเตรเลียในปัจจุบันนี้ระยะเวลาในการรอ parent visas โดยเฉพาะในประเภทแรกนั้นใช้เวลารอทั้งหมดประมาณ 20 ปี เนื่องจากมีผู้สมัครเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดคิวที่ยาวเป็นหางงูในการอนุมัติวีซ่า ในขณะที่วีซ่าประเภทที่สองนั้นใช้ระยะเวลารอเพียงแค่ประมาณ 2 ปี ถึงแม้ว่าจะมีค่าสมทบทุนที่เรียกว่า Contributory fund ที่ค่อนข้างสูงตามมา แต่ลูกๆที่สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ตรงส่วนนี้ได้ เขาก็ไม่ mind กัน จึงทำให้วีซ่าประเภท Contributory sc 143 และ sc173 เป็นที่นิยมมากกว่า ว่ากันแล้ว จะให้พ่อแม่รอตั้ง 20 ปีถึงมาอยู่กับเราได้ อายุท่านก็มากขึ้นทุกวัน จะเป็นไปได้ไง จริงไหมคะ คุณหมอวีซ่ามักพูดเสมอว่าท่านเลี้ยงดูเรามาแต่เกิดจนโต แล้วเราจะตอบแทนท่านบ้าง ทำไมจะไม่ได้หล่ะ แต่ถ้าเป็นได้ ก็พึงทำในระหว่างที่ท่านยังแข็งแรง สามารถเดินทางมาอยู่กับเราได้จะดีกว่านะคะ คุณสมบัติของผู้สมัครวีซ่าพ่อแม่ 1. เป็นพ่อแม่ของตัวสปอนเซอร์ดังนี้ – Natural parent (เป็นพ่อแม่ที่ให้กำเนิด) – พ่อแม่บุญธรรม – พ่อแม่ของลูกที่เกิดจาก surrogate arrangement คือฝากท้องหญิงอื่นตั้งครรภ์ให้ เป็นต้น 2. ส่วนลูกที่เป็นสปอนเซอร์นั้น จะต้องเป็นพีอาร์หรือเป็นซิติเซ่น และต้องอยู่ในออสเตรเลียมาอย่างน้อย 2 ปี และมีหลักฐานแสดงชัดเจน 3. จะต้องผ่าน Balance of Family Test 4. มีผู้ค้ำประกัน (Assurance of Support) 5. ผ่านการตรวจสุขภาพและการสอบประวัติ (Character and Health Criteria) คุณสมบัติส่วนใหญ่ของผู้สมัครวีซ่าพ่อแม่ก็เหมือนกับการสมัครวีซ่าทั่วไป ที่เราจะต้องแสดงหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ที่เป็นจริงระหว่างตัวผู้สมัคร (พ่อแม่) หรือลูกๆ แต่จริงๆแล้ว หลักฐานที่สำคัญที่สุดของการสมัครวีซ่าประเภทนี้ก็คือคุณสมบัติในข้อ 3 ที่ถ้าหากไม่ผ่านคุณสมบัติในข้อนี้ ก็จะถือว่าไม่เข้าข่ายเลยทันที Balance of Family Test (ผ่านหรือไม่ผ่านกฎแห่งความสมดุลในครอบครัว) คือผู้ยื่นจะต้องผ่านการทดสอบความสมดุลระหว่างครอบครัว กล่าวคือ สายสัมพันธ์ระหว่างลูกๆซึ่งอาศัยอยู่ในออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ ที่ได้กำหนดให้ลูกๆจำนวนเกินครึ่งของผู้สมัครจำต้องอาศัยอยู่ในออสเตรเลียและเป็นพีอาร์หรือถือสัญชาติออสเตรเลีย จึงจะมีสิทธิสมัครวีซ่าตัวนี้ได้ ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ผ่านแบบทดสอบนี้ก็ไม่สามารถที่จะสมัครวีซ่าตัวนี้ได้ ไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม แล้วลูกๆหมายถึงใครบ้าง – ลูกๆของพ่อแม่ ไม่ว่าจะมาจากความสัมพันธ์ครั้งก่อน ทั้งที่แต่งงาน และไม่ได้แต่งงาน รวมทั้งลูกบุญธรรม หรือลูกเลี้ยง – ลูกๆทั้งที่แต่งงาน ยังไม่ได้แต่งงาน หรือยังต้องพึ่งพาพ่อแม่อยู่ – ลูกๆที่อาจจะหายสาบสูญไป ติดต่อไม่ได้ ทั้งหมดนี้ ทางอิมมิเกรชั่นถือว่าเป็นลูกๆที่นับรวมอยู่ในแบบทดสอบนี้ทั้งหมด ถ้าหากจำนวนลูกๆไม่ถึงครึ่งที่อาศัยในประเทศออสเตรเลีย ก็เท่ากับว่าไม่สามารถสมัครวีซ่าตัวนี้ได้ค่ะ ตัวอย่างเช่น คุณพ่อสมหวังมีลูกทั้งหมด 3 คน ลูก 1 คนอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่อีก 2 คนนั้นอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลีย และได้ถือพีอาร์มากว่า 2 ปีแล้ว อย่างนี้คุณพ่อสมบัติก็มีคุณสมบัติครบถ้วนพอที่จะผ่าน Balance of Family Test ค่ะ แต่ในขณะเดียวกัน คุณแม่มะลิมีลูก 4 คน แต่มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียเป็น PR/citizen อีกคนถือวีซ่านักเรียนอยู่ในออสฯ ส่วนอีก 2 คนนั้นยังอยู่ไทย กรณีนี้ เท่ากับว่าคุณแม่มะลิก็ไม่มีสิทธิที่จะสมัครวีซ่าตัวนี้ได้ค่ะ Assurance of Support ก็คือการค้ำประกันว่าจะเลี้ยงดูคุณพ่อคุณแม่ไปจนถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่ทางรัฐจะอนุมัติให้เงินบำนาญหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆตามที่ประชาชนชาวออสเตรเลียพึงมี ซึ่งการค้ำประกันนี้เป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายที่สปอนเซอร์ หรือใครก็ตามจำต้องจัดเตรียมเงินทุนให้กับคุณพ่อคุณแม่ตลอดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องมีเงินมาช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่เป็นช่วงระยะเวลา 10 ปีของผู้ที่สมัคร sc 143 และ ระยะเวลา 2 ปี สำหรับผู้ที่สมัคร sc 103 การค้ำประกันนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน แต่ผู้ค้ำประกันในที่นี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสปอนเซอร์ แต่เป็นผู้ค้ำประกันที่รับรองว่ายินดีรับภาระค่าใช้จ่ายของผู้สมัครวีซ่า โดยเฉพาะในกรณีของพ่อแม่ เพื่อที่ว่าทางรัฐบาลจะได้ไม่ต้องรองรับภาระทางนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของเงินบำนาญ หรือประกันสุขภาพ ซึ่งถ้าหากสมัครวีซ่าที่สนับสนุนพ่อแม่มาที่นี่ sc 143 ผู้ค้ำประกันจะต้องการันตีว่ามีเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆของพ่อแม่ที่จะมาอาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลา 10 ปี ระยะเวลาในการค้ำประกันเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้รับวีซ่า หรือนับแต่วันที่ผู้สมัครเข้ามายังประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นในกรณีที่สมัคร permanent Contributory Parent visa (ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยส่วนใหญ่จะนิยมสมัคร sc 143) ผู้ค้ำประกันจะต้องวางเงินถึงจำนวน $10000 เป็นค่ามัดจำตลอดระยะเวลา 10 ปี และ $4000 สำหรับผู้สมัครคนที่สอง สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.immi.gov.au/media/fact-sheets/34aos.htm เมื่อคุณสมบัติพร้อมแล้วก็สามารถที่จะสมัครได้เลยค่ะ โดยเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบเข้าไปให้พร้อม เช่น หลักฐานแสดงว่าเป็นพีอาร์ หรือซิติเซ่น สูติบัตร (แสดงชื่อพ่อแม่ทั้งสองคน) หลักฐานพิสูจน์รายได้เป็นต้น

ตอนนี้หลายๆคนคงอยากทราบแล้วว่าค่าใช้จ่ายในการสมัครวีซ่าพ่อแม่นั้นเท่าไร แต่เนื่องจากเนื้อที่จำกัดคุณหมอวีซ่าจึงขอยกตัวอย่างเพียงวีซ่าบางประเภท โดยเฉพาะในประเภท Contributory Parent (Migrant) visa (subclass 143) ที่เป็นที่นิยมของคนไทย

Parent (Migrant) visa (subclass 103)

Charge TypeCharge Amount
1st instalment$1995
2nd instalment$1735
2nd instalment
For applicants under 18 years
$1735

Contributory Parent (Migrant) visa (subclass 143)

Charge TypeCharge Amount
1st instalment$1995
2nd instalment$40 015
2nd instalment
For applicants under 18 years
$1730

น้องๆทั้งหลายคงจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการสมัครประเภท Contributory มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่นั่นก็แลกมาด้วยช่วงเวลาที่เร็วขึ้นในการพิจารณาวีซ่า เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น เพราะเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่เสียไปก็อาจจะคุ้มค่าเมื่อเราสามารถพาคุณพ่อคุณแม่ได้มาอยู่ถาวรที่ประเทศออสเตรเลียได้ เพราะเพียงแค่ช่วงเวลา 10 ปีที่รอ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถได้รับสวัสดิการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ ค่ารักษาพยาบาลต่างๆตามที่สิทธิของประชาชนออสเตรเลียพึงมี ดังนั้นคุณหมอวีซ่าจึงคิดว่านี่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ายิ่งนัก นอกจากนี้ยังถือเป็นการลงทุนเพื่อคนที่เรารักอีกต่างหากนะคะ คุณพ่อคุณแม่ก็มีสิทธิที่จะได้มาอยู่อาศัยกับเราในประเทศแห่งนี้ และมีสิทธิทำธุรกิจหรือทำงานต่างๆได้อีกด้วยค่ะ ก่อนจบ คุณหมอวีซ่าขอแถมถึงเคสของลูกน้อยรุ่น baby เชื่อไหมว่า เขาก็สามารถสปอนเซอร์คุณแม่ได้ ถ้าเป็นลูกที่เกิดจากพ่อที่ถือ PR หรือ Citizen ของออสเตรเลีย น่าเห็นใจผู้หญิงไทยเราหลายคนที่ไปมีความสัมพันธ์กับชาวออสซี่จนติดลูกมา แต่ไม่รู้จักใช้สิทธิของลูก ใช้สิทธิของตนเอง บ้างก็รอจนลูกโตถึงมาถามคุณหมอวีซ่าว่าลูกทำสัญชาติออสเตรเลียได้ไหม แม่มีโอกาสไปอยู่กับลูกที่ออสฯได้ไหม เป็นต้น เรื่องนี้ หากท่านตกอยู่ในข่ายกรณีนี้ ก็รีบมาพบได้เลยนะคะ ไม่จำเป็นต้องรอจนลูกโตก่อนค่ะ ถ้าหากท่านผู้อ่านท่านใดต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.immi.gov.au/migrants/family/parent/143/ และถ้าหากต้องการความช่วยเหลือในการยื่นวีซ่าประเภทนี้ CP International Education and Migration Centre ยินดีต้อนรับทุกคนค่ะและก็กระจายข่าวกันนิดนึง วันที่ 27 สิงหาคมนี้ เราจะมีงาน Parent Seminar กันที่โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส

Have questions about your Australian visa application or status? Want to apply to study, work or live in Australia? Get in touch with the Dr Visa Team at: