1 August 2017

สวัสดีค่ะ แฟนคลับของคุณหมอวีซ่าทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความดีๆของคุณหมอวีซ่า ฉบับสนุกสนานฉลอง 20 ปีแห่งความสำเร็จของ CP International Education and Migration Centre ประจำเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ ต้องอ่าน ต้องอ่านเลยนะคะ แถมมีรูปสนุกๆ สวยงามมาแชร์กับแฟนๆคลับมากมายค่ะ..

ช่วงนี้แฟนคลับคุณหมอวีซ่าหลายๆ ท่านน่าจะกำลังตื่นตัวและติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงกฎหมายวีซ่ากันอย่างต่อเนื่อง ยิ่งวีซ่านักเรียนเข้าออสเตรเลียที่ประเทศไทยเราได้ถูกลดระดับลงไปเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด (ถึงระดับที่ 3) ก็ทำให้อยากรู้กันว่า ตนเองจะมีโอกาสได้วีซ่า ไม่ว่าที่จะเข้าไปเรียน ไปทำงาน ไปอยู่ หรือไป Work and Holiday สารพัดวีซ่า ก็ตาม ตัวคุณหมอวีซ่าเองก็เช่นกันค่ะ เรียกได้ว่าเกาะติดข่าวสารกันอย่างใกล้ชิดค่ะ สำหรับท่านใดที่ได้ไปร่วมงานประจำปี “CP Australia Education Fair 2017” ที่ โรงแรม ปทุมวัน ปรินเซส เมื่อวันเสาร์ที่ 15 July 2017 ที่ผ่านมา โดยมีท่านทูตพาณิชย์ Trade Commissioner Mr. Stuart Rees จากสถานทูตออสเตรเลีย มาเป็นประธานเปิดงานตัดริบบิ้นให้ กับมีเซเลปคนดัง คุณ Andrew Biggs มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Why go to Study in Australia? อีกทั้งเซเลปหน้ากากกวางมูส คุณลุลา (Lula) ก็มาร่วมบรรยายถึงประสบการณ์อันดีของตนที่ประสบความสำเร็จทุกวันนี้จากการเป็นศิษย์เก่าของออสเตรเลีย สำหรับสถาบันจากออสเตรเลียก็มาร่วมงานถึง 33 สถาบัน และมีนักเรียน นักศึกษา คุณพ่อคุณแม่ กับผู้สนใจลงทะเบียนร่วมงานกว่าพันคน ในวันนั้น สำหรับผู้ที่มีโอกาสเข้าฟังสัมมนาของคุณหมอวีซ่า ก็คงจะได้รับการอัปเดทกฎเปลี่ยนแปลงวีซ่าก่อนใครอื่น ส่วนสำหรับท่านใดที่ไม่ได้ไปร่วมงานก็ไม่ต้องเสียดายหรือเสียใจไปค่ะ เพราะบทความนี้คุณหมอวีซ่าก็ได้สรุปกฎวีซ่าเปลี่ยนแปลงคร่างๆ ที่เข้าใจง่ายไว้ให้ด้วยแล้วค่ะ

ปีนี้เป็นปีดี CP International ยังร่วมกันฉลอง 20 ปี แห่งการก่อตั้งบริษัทเราที่ โรงแรม Sheraton Grande Sukhumvit เมื่อวันศุกร์ที่ 22 July 2017 ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ ในงานมีแขกมาให้เกียรติร่วมงานมากมายกว่า 120 ท่าน โดยมี ผู้ช่วยท่านทูตประจำสถานทูตออสเตรเลีย ท่าน Deputy Head of Mission, Ms Octavia Borthwick มาเป็นประธานงานกล่าวแสดงความยินดีกับทางบริษัท CP International ตามด้วย คุณ Andrew Biggs คุณ Sean Lee จาก มหาวิทยาลัยซิดนีย์ Sydney University ในฐานะตัวแทนเจ้าหน้าที่จากสถาบันร่วม 60 เจ้าที่บินไปร่วมงานในคืนนั้น อีกทั้ง ท่านผู้จัดการใหญ่ General Manager ของ โรงแรม Sheraton, Mr Richard Chapman ก็มากล่าวแสดงความยินดีบนเวทีด้วยตัวท่านเองเลย คืนวันที่แขกชาวออสเตรเลียร่วมสนุกร่วมฉลองกับแขกชาวไทยผู้มีเกยรติจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆพร้อมๆ กับเพื่อนฝูงชาว มธ และศิษย์เก่าจากออสเตรเลียทั้งหลาย จนกระชับความสัมพันธ์เป็นปึกแผ่นเดียวกันอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียวก็ว่าได้ คุณหมอวีซ่าเองก็มีความปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์และสร้างความสนุกสนานกับอิ่มหนำสำราญในครั้งนี้ค่ะ

ก่อนจะเข้าเรื่องซีเรียสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่าเมื่อ วันที่ 1 July 2017 คุณหมอวีซ่าก็มีรูปถ่ายสวยๆงามๆ ของทั้งจากงาน CP Australia Education Fair 2017 เมื่อวันที่ 15 July 2017 ที่ท่านทูตพาณิชย์จากสถานทูตออสเตรเลียให้เกียรติมาตัดริบบิ้นเปิดงาน รวมถึงงานฉลองครบรอบ 20 ปีบริษัท CP International เมื่อวันที่ 22 July 2017 ที่ท่านผู้ช่วยท่านทูตฯ Deputy Head of Mission จากทางสถานทูตออสเตรเลีย ให้เกียรติมาร่วมกล่าวคำแสดงยินดีและเฉลิมฉลองกับความสำเร็จของเราในครั้งนี้..พวกเราชาว CP International ขอกราบขอบพระคุณท่านทั้งสอง กับทาง Austrade โดยพวกเราทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่ง และซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ

CP Australia Education Fair 2017







CP International 20th Anniversary












คราวนี้เราก็มาเริ่มเข้าเรื่องซีเรียสกันบ้างดีกว่าค่ะ คุณหมอวีซ่าดีใจมากๆที่ได้พบกับแฟนๆ หลายท่านในงานแฟร์เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยวันนั้นคุณหมอวีซ่าจัดสัมมนาและอัพเดทข่าวสารต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงของกฎการยื่นวีซ่านักเรียน วีซ่าทักษะ และวีซ่าทำงานโดยมีนายจ้างเป็นสปอนเซอร์ให้ (อีกแล้ว!!!) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุที่กำหนดให้ผู้ยื่นวีซ่าหลายตัว ห้ามมีอายุเกิน 45 ปีโดยเฉพาะสำหรับวีซ่าทักษะและวีซ่าทำงานซึ่งก่อนหน้านี้อนุมัติให้มีอายุได้ถึง 50 ปี ยกเว้น Employer Nomination Scheme (subclass 186) ที่เป็น the Temporary Residence Transition stream ที่ยังอนุมัติให้ยื่นจนถึงอายุ 50 ปีได้อยู่ รวมไปถึงข้อจำกัดต่างๆ ในแต่ละสายอาชีพโดยกำหนดว่า ธุรกิจที่จะสปอนเซอร์ ผู้ยื่นขอวีซ่านั้นจะต้องเข้าข่ายอย่างไรบ้าง โดยถ้าหากเข้าไปในเว็บไซต์ของอิมมิเกรชั่นแล้วลอง search ดูว่าสายอาชีพที่รัฐบาลต้องการมีอะไรบ้างนั้น และสายอาชีพไหนสามารถยื่นวีซ่า visa subclass ไหนได้บ้าง อาจจะงงและตาลายกันเลยทีเดียว เนื่องจากว่ามีจำนวน Links ให้อ่านต่อเยอะแยะมากมาย แล้วก็มีเงื่อนไขต่างๆ ถูกกาดอกจันเล็กๆ สองดาวบ้าง สามดาวบ้าง ไว้เต็มไปหมด

โดยหลังจากที่คุณหมอวีซ่าได้เช็คดูแล้ว นอกเหนือจากอาชีพที่เปลี่ยนไป ข้อจำกัดของการยื่นวีซ่าในแต่ละสายอาชีพนั้นก็เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อ เดือนเมษายน ที่ผ่านมาเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มของวีซ่าทำงานชั่วคราวที่รู้จักและเรียกกันทั่งไปว่า วีซ่า 457 และปัจจุบันวีซ่า 457 ที่ทุกๆ คนมองว่าเป็นที่นิยมในการหาลูกจ้างเข้าไปทำงานนั้น ก็ยังมีข้อจำกัดว่าอายุต้องต่ำกว่า 45 ปีแล้ว มีการเรียกขอตรวจประวัติอาชญากรรม และ การประเมินทักษะทางการงานอาชีพเพื่อย้ายถิ่นฐานถาวรอีกด้วย เพราะฉะนั้น ด้วยความหวังดีจากใจคุณหมอวีซ่า แนะนำให้ทุกคนปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะยื่นวีซ่าให้ถูกประเภทและถูกอาชีพเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าค่ะ การขอวีซ่าย้ายถิ่นฐานถาวรจากเรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายได้หากมีที่ปรึกษาที่ดีๆค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านด้วยนะคะ

สำหรับคนที่มีคุณสมบัติการยื่นวีซ่าทักษาะหรือวีซ่าทำงานไม่ครบ ก็ไม่ต้องเสียใจไปค่ะ! เพราะจริงๆ แล้ว มีวีซ่าอีกประเภทหนึ่งที่รองรับนักลงทุนโดยเฉพาะที่เรียกว่า Business Innovation and Investment visa ในสกุล subclass 188 โดยเป็นที่ดึงดูดทั้งกลุ่มนักลงทุนในธุรกิจ หรือกลุ่มชาวเล่นหุ้น เศรษฐีที่มีทุนระดับตั้งแต่หลักกว่าสิบล้านบาทจนถึงเกินร้อยล้านบาทขึ้นไปเป็นต้น และสนใจจะถือสองสัญชาติเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงมักจะเล็งไปถึงวีซ่าประเภทนี้กันโดยตรงเลย

ตามที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าพาสปอร์ตออสเตรเลียนั้น เป็นพาสปอร์ตที่ติด Top 10 ที่มีอิทธิพลและเอื้อประโยชน์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกซึ่งสามารถใช้เดินทางเข้าประเทศต่างๆได้มากเกิน 150 ประเทศทั่วโลก เมื่อเทียบกับพาสปอร์ตไทยที่สามารถเข้าไปเยือนประเทศต่างๆโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้เพียง 71 ประเทศเท่านั้น ดังนั้น การขอสัญชาติออสเตรเลียจึงดึงดูดผู้ที่สนใจจะถือถิ่นฐานสองประเทศหลายท่านที่สนใจไปประกอบธุรกิจบ้าง ไปทำงาน ไปเรียน หรือกระทั่งไปอยู่ในเมืองจิงโจ้แห่งนี้กันมาก

ในกลุ่มนักลงทุนหลายๆ ท่านที่วางแผนการกระจายความเสี่ยงทางการลงทุนตามหลักเบื้องต้นที่พูดกันจนคุ้นหูว่าที่เรียกว่า “อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน – Don’t put all your eggs in one basket” เพื่อให้การลงทุนนั้นกระจายไปในหลายรูปแบบและหลายแหล่ง ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น อย่างน้อย ก็ยังมีไข่ในตระกร้าใบอื่นๆ หลงเหลือสำรองไว้รองรับเราอยู่

โอกาสนำเงินไปลงทุนในประเทศออสเตรเลีย เพื่อขอวีซ่าถาวร (Permanent Resident) ที่เป็นก้าวแรกของการนำสู่ Australian citizen จึงเป็นที่จับตามองโดยกลุ่มนักลงทุนมืออาชีพจนถึงมือสมัครเล่นที่มีความมั่งคั่งทางการเงินเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากคนกลุ่มนี้จะได้ผลกำไรในรูปแบบเงินปันผลและดอกเบี้ยจากการลงทุนแล้ว รัฐบาลออสเตรเลียยังได้อนุญาตให้คนกลุ่มนี้ไปทำงาน ลงทุน และตั้งหลักแหล่งที่ประเทศออสเตรเลียอีกได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อได้วีซ่าถาวรแล้ว ครอบครัวและบุตรอันเป็นที่รักของท่านๆ ยังมีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางการศึกษา การบริการทางด้านสาธารณสุข และ สวัสดิการทางสังคมอื่นๆ ตลอดจนโอกาสขอสัญชาติและพาสปอร์ตออสเตรเลียมาครอบครองอีกด้วย คุณหมอวีซ่ามองว่า การที่เราได้พาครอบครัวไปอยู่ที่สิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดีและปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น มีค่าเกินกว่าเงินจะซื้อได้ โดยเฉพาะ มีเมืองถึง 3 เมือง จากประเทศออสเตรเลีย คือ Melbourne, Adelaide กับ Perth ที่ถูกโหวตให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ผ่านการจัดอันดับโดย The Economist ซึ่งวัดมาจาก ความปลอดภัย การบริการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และสิ่งก่อสร้างอำนวยสะดวกต่างๆ สรุปแล้ว ได้ทั้งผลตอบแทนทางการเงินที่สูงกว่า ได้ทั้งสัญชาติ ได้ทั้งคุณภาพชีวิต คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มค่ะ

คราวนี้คำถามก็คือ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างล่ะ? การลงทุนในประเทศออสเตรเลียเพื่อขอวีซ่าถาวรจะทำภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหลักทรัพย์และการลงทุนแห่งประเทศออสเตรเลีย (Australian Securities and Investment Commission – ASIC) ให้ตรงกับกฏเกณฑ์การขอวีซ่า ซึ่งวันนี้คุณหมอวีซ่ามีสัมมนาดีๆ มาแนะนำโดย บริษัท CP International Education and Migration Centre งานนี้เข้าร่วมฟรี!!! แต่มีที่นั่งจำกัดมากๆ โดยจะเชิญเฉพาะกลุ่มที่ต้องการลงทุนในประเทศออสเตรเลีย กับกลุ่มผู้ที่สนใจยื่นวีซ่าทักษะ เพราะในสัมนาจะมีผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรรับเชิญ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนสำหรับวีซ่านักลงทุนชั้นสูง Private Wealth Manager บริษัท Ord Minnett ที่บินตรงมาจากประเทศออสเตรเลีย
  2. วิทยากร ฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพฯ
  3. คุณพรทิพย์ พนัสบดี (คุณหมอวีซ่าเอง) ที่ปรึกษากฏหมายตรวจคนเข้าเมืองประเทศออสเตรเลีย (Registered Migration Agent, MARN: 9896337)

นอกเหนือจากนี้ หากทางแฟนๆ ของคุณหมอวีซ่าเป็นผู้มีความสามารถและประกอบอาชีพตรงตามที่รัฐบาลออสเตรเลียต้องการ เช่น นักบัญชี วิศวกร IT แพทย์ พยาบาล และ ครู รวมถึงสายอาชีพเฉพาะอื่นๆ อีกมากมายก็อาจมีสิทธิ์ยื่นขอวีซ่าทักษะ ไปถือถิ่นฐานถาวรทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้เช่นกันหากมีคุณสมบัติครบถ้วนนะคะ

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ “วีซ่าลงทุนและวีซ่าทักษะออสเตรเลีย โอกาสการเป็นพลเมืองออสเตรเลีย” ใน วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2560 เวลา 13:00 – 17:00 น. ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท (Sheraton Grande Sukhumvit) (BTS อโศก) สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยการคลิกรูปด้านล่างได้เลยค่ะ ย้ำนะคะว่า ที่นั่งสัมมนามีจำนวนจำกัดค่ะ! สำหรับท่านผู้อ่านที่อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ก็รีบแจ้งข่าวดีนี้ให้ญาติๆ เพื่อนฝูงพี่น้องทางเมืองไทย ทราบโดยด่วนนะคะ ตอนนี้ เพิ่งเปิดให้จองที่นั่ง แต่ถ้าเต็มแล้ว ก็หมดสิทธิ์ค่ะ เพราะทางโรงแรมจัดที่นั่งกับ coffee break ไว้ให้ตรงตามจำนวนผู้ฟังที่กำหนดเป๊ะๆค่ะ แล้วไว้พบกันในวันงานที่ 9/9/2017 นี้ที่ Sheraton Grande Sukhumvit นะคะ

 สำรองที่นั่งที่นี่

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
migration@cpinternational.com +66 2 278 1236

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: