7 March 2017

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โพสท์โดย คุณ Michael Arch เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2017 ในวารสารอัพเดทข่าวสารที่ส่งถึง Migration agents ที่เป็นสมาชิกของ Migration Alliance ทั้งหลาย คุณหมอวีซ่าเห็นว่าข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน เลยขออนุญาตถอดความย่อๆเป็นภาษาไทยมาแชร์ความรู้กับแฟนๆพันธุ์แท้ของคุณหมอวีซ่านะคะ

เรื่องของเรื่อง คือ มีผู้ถือวีซ่านักเรียนเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อกลับไปเยี่ยมบ้าน แต่จู่ๆเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นที่สนามบินก็แจ้งว่า “วีซ่านักเรียนของคุณถูกยกเลิกไปแล้ว คุณบินออกไปแล้ว ไม่สามารถกลับเข้าออสเตรเลียด้วยวีซ่าตัวนี้ได้อีกแล้ว” (จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม) คุณควรทำอย่างไร เพราะ airport ถือว่าเป็นเขต immigration clearance หมายความว่าเจ้าหน้าที่มีอำนาจ cancel visa คุณเพื่อส่งกลับทันที แล้วคุณก็จะโดนสั่งห้าม (ban) ไม่ให้กลับเข้ามาออสเตรเลียในช่วงที่โดน ban จะเป็นกี่ปีก็ตาม คำถาม ก็คือ คุณจะเพียงแค่ยอมรับชะตากรรม ขึ้นเครื่องกลับบ้านแต่โดยดี โดยไม่รู้สิทธิ์ของตนเองตามกฎหมาย ไม่ตั้งคำถาม ไม่สู้ ยอมแพ้เลย ทั้งๆที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์ว่าคุณถูกหรือผิดเลยหรือ?

เรื่องทำนองเดียวกันนี้ จะเห็นมีการลงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ ข่าวทำนองนี้ที่อเมริกามากันแรงมาก ส่วนที่ออสเตรเลีย ก็มีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำหลายกรณีผู้ถูกปรักปรำที่ไม่ยอมแพ้ ก็จะสู้เพื่อสิทธิ์ของตนเองโดยการจ้างทนาย นำเรื่องไปขึ้นศาล Federal Courts ดั่งกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนคริสต์มาสที่เพิ่งผ่านมาปีที่แล้ว คือเรื่องของ Kaur v Minister for Immigration and Border Protection (2016) FCA 3289 (22 December 2016) เป็นต้น

ข้อเท็จจริงก็คือ ผู้ถือวีซ่าท่านนี้ อายุ 21 ปี สัญชาติอินเดีย ได้รับการอนุมัติวีซ่านักเรียนมาตั้งแต่เดือน May 2014 ตอนช่วงต้นปี 2016 หล่อนได้ไปสมัครเรียนหลักสูตร Diploma of Hospitality เป็นเวลายาวไปตลอดถึงสิ้นปี แต่หล่อนได้ไปยกเลิกถอนคอร์สเรียนไปในระหว่างปี 2016 ตอนสัมภาษณ์ที่สนามบิน หล่อนก็ยอมรับว่าตนเองได้ไปทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 12:30 p.m. ถึง 10 p.m. เจ้าหน้าที่มีหลักฐานที่ค้นพบจากโทรศัพท์หล่อนว่าหล่อนได้ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อทุกสองสัปดาห์จริงตลอดเดือนดังกล่าว

ดูตามสถานการณ์แล้ว วีซ่าหล่อนไปไม่รอดแน่ๆ จริงไหมคะ? เจ้าหน้าที่ที่สนามบินก็อาศัยมาตรากฎหมายตามเงื่อนไขวีซ่านักเรียนข้อที่ 8105(1) ยกเลิกวีซ่าหล่อนไปอย่างเรียบร้อยโดยเงื่อนไขข้อนี้มีความว่า

“8105….(1)….the holder must not engage in work in Australia for more than 40 hours a fortnight during any fortnight when the holder’s course of study or training is in session”.1

สั้นๆคือห้ามทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อทุกสองสัปดาห์ ในช่วงที่เปิดเรียน นั่นเอง

เรื่องที่โต้แย้งกันใน Federal Circuit Court เรื่องหนึ่ง ก็คือ เงื่อนไข 8105 นี้ มีผลใช้บังคับตลอดระยะเวลาของหลักสูตรที่ผู้ถือวีซ่านักเรียนได้ลงทะเบียนไว้ หรือ เฉพาะช่วงที่นักเรียนต้องไปเข้าเรียน หรือ มีผลบังคับให้เรียนเพื่อให้จบหลักสูตรเพียงเท่านั้น

มีการยื่นเรื่องอุทธรณ์เข้าไปในระดับศาล Federal Court ตามข้อสรุปของท่านผู้พิพากษา Judge Pagone ท่านสรุปว่ากรณีนี้ ตัดสินได้ง่ายๆและอย่างตรงไปตรงมา เลยทีเดียว

กล่าวคือ: เนื่องจากผู้ยื่นเรื่องไม่ได้มีการลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรใดๆ ในช่วงที่หล่อนทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์ ตรงกับช่วงที่หล่อนเพิกถอนหลักสูตรพอดี Condition 8105 ก็เลยใช้บังคับหล่อนไม่ได้ สรุปกันง่ายๆ ก็คือ เงื่อนไขตัวนี้ใช้บังคับผู้ถือวีซ่านักเรียนที่ไม่ได้อยู่ในช่วงลงทะเบียนในหลักสูตรไม่ได้ ดังนั้น จดหมายยกเลิกวีซ่านักเรียนของหล่อนที่ออกโดยอิมมิเกรชั่นจึงถือว่าใช้งานตามกฎหมายไม่ได้ หล่อนชนะเคสในชั้นศาล และได้วีซ่านักเรียนคืนมาเรียบร้อย

อีกประการที่น่าสนใจ คือ เจ้าหน้าที่อิมฯที่สนามบิน ได้เขียนเพิ่มในเหตุผลของการยกเลิกวีซ่าของนักเรียนท่านนี้ โดยไม่เพียงแต่อาศัยเหตุผลของการทำผิดเงื่อนไข 8105 เท่านั้น หากแต่ยังไปอ้างโยงถึงการผิดเงื่อนไข 8202 ด้วย (ซึ่งปกติจะไม่ค่อยใช้เป็นฐานในการยกเลิกวีซ่า) ว่า

“…you have not complied with Condition 8105 of your visa because you have engaged in work in Australia for more than 40 hours a fortnight and also because you worked whilst not holding a certificate of enrolment and were not enrolled in any further course of study. These activities are not within the scope of activities allowed under Condition 8105.”

ปัญหาก็คือ เหตุผลที่เจ้าหน้าที่ใช้อ้างอีกประการว่าเด็กทำผิดเงื่อนไข 8105 เพราะเด็กไม่ได้ถือ COE ปัจจุบันนั้น แท้จริงเป็นการอ้างผิดเงื่อนไข เพราะ 8105 ไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการถือหรือไม่ถือ COE ตัวปัจจุบันแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของเงื่อนไขตัว 8202 ตามกฎหมาย

ดังนั้น จากการที่เจ้าหน้าที่อิมฯสับสนต่อการอ้างเหตุผลผิดๆถูกๆตามเนื้อหาของกฎหมายที่ถูกต้อง ท่านผู้พิพากษา Judge Pagone จึงตัดสินว่าทางอิมมิเกรชั่นไม่ได้ทำหน้าที่ระบุเงื่อนไขในการยกเลิกวีซ่านักเรียนในครั้งนี้อย่างถูกต้อง (ตามที่ มาตรา sections 119 and 120 of the Migration Act บังคับ) จึงส่งผลให้จดหมายยกเลิกวีซ่าครั้งนี้ไม่มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย วีซ่านักเรียนของนักเรียนท่านนี้ จึงต้องคืนวีซ่าตัวนี้ให้เด็ก

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: การที่จู่ๆวีซ่านักเรียนถูกเขายกเลิกนั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นจุดจบ จนท่านต้องแพ๊คกระเป๋ากลับบ้านนะคะ ท่านยังสามารถสู้คดีในชั้นศาลเพราะอาจพบความผิดปกติในจดหมายยกเลิกวีซ่าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากเป็นเช่นนั้น การยกเลิกวีซ่าของท่านก็ถือว่าเพิกถอนไปได้ตามอำนาจศาล ส่งผลให้ท่านได้วีซ่านักเรียนกลับไปครอบครองอีกทีได้นะคะ

(บทความนี้แปลมาจาก คดีที่ดำเนินการโดย Concordialaw)

ก่อนจะจบบทความวันนี้ คุณหมอวีซ่าขอแสดงความยินดี กับ นักศึกษาดีเด่นสองท่านที่ทางบริษัท CP International เพิ่งส่งข้ามฝั่งไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลียด้วยความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

1. น้องเบน หรือ Poot Archavakom

น้องอายุ 19 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิตค่ะ

โดยคุณแม่ของน้องติดต่อเข้ามาทางโทรศัพท์ ประมาณ ปลายปีที่แล้ว (ปี 2016) ว่ามีแพลนต้องการให้น้องไปเรียนต่อที่ Sydney ตอนแรกคุณแม่อยากจะให้น้องลงเรียนแค่ Diploma ทางด้าน Business อย่างเดียว เพราะไม่มั่นใจว่าน้องจะชอบไหม แต่เนื่องจากวีซ่านักเรียนค่อนข้างยากในสมัยนี้ หากลงแต่ Diploma ในโรงเรียนธรรมดาย่อมสร้างความเสี่ยงได้ เพราะน้องจบเพียงชั้นม. 6 พี่ที่ปรึกษาฝ่ายวีซ่านักเรียนที่ ซีพี อินเตอร์ฯ จึงแนะนำให้คุณแม่ลองดูคอร์ส Diploma ในมหาวิทยาลัย หรือ TAFE แทน จากนั้นคุณแม่ตัดสินใจให้น้องสมัคร Diploma of Business ที่ Insearch พี่ที่ซีพี อินเตอร์ฯ จึงแนะนำเพิ่มเติมให้ทำเป็น Package กับทางมหาวิทยาลัย University of Technology หรือ UTS เลยทีเดียว เพื่อที่น้องจะได้วีซ่ายาว คุณแม่จะได้ไม่ต้องกังวลใจเรื่องการต่อวีซ่าภายหลัง

ทั้งนี้น้องเองก็เป็นเด็กเก่ง มีผล IELTS มาให้แล้ว แต่เนื่องจากเกณฑ์การเข้าเรียนมาตรฐานสูง จึงลงเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม พี่ๆยื่นวีซ่านักเรียนให้น้องไปเมื่อวันที่ 23 January 2017 และวีซ่าก็ผ่านในวันที่ 1 February 2017 ภายในหนึ่งสัปดาห์ค่ะ ทั้งๆที่พิจารณาที่ Perth ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าเคี่ยวฝุดๆ

ตอนนี้น้องได้เดินทางไปเรียนที่ Insearch เรียบร้อยแล้วค่ะ คุณหมอวีซ่าก็ขอแสดงความยินดีกับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเรียนเก่ง ตั้งใจ และน่ารักมาก ขอให้น้องประสบความสำเร็จในการศึกษาต่อต่างประเทศครั้งนี้ และถ้าอนาคต อยากทำงานหรืออยู่ต่อจนได้สัญชาติที่ออสเตรเลีย ก็มาพบคุณหมอวีซ่านะคะ ยินดีแนะแนวและชี้แนะตามกฎหมายให้ค่ะ

2. น้องวอม (อุเทน วงศ์วัฒนาอารี)

น้องวอมก็เป็นเด็กเก่งอีกคน ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ น้องพึ่งจะจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ก่อนจะเรียนจบ น้องมาทำเรื่องสมัครเรียนภาษา + Master of Management (Extension) ที่ UTS มหาวิทยาลัยที่ดังทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี่ ไว้ก่อนล่วงหน้า และได้เข้ามาทำข้อสอบของ Insearch ที่ออฟฟิศ CP Bangkok พอจบปุ๊บ พี่ที่ CP Inter ยื่นวีซ่านักเรียนให้ไปเมื่อวันที่ 10/02/2017 วีซ่าผ่านเมื่อวันที่ 21/02/2017 ตอนนี้กำลังเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศแล้วค่ะ

สาขาวิศวะฯ เป็นอาชีพขาดแคลนของประเทศออสเตรเลีย เช่นเดียวกับน้องเบน หากน้องวอใกล้จบหรือในระหว่างเรียน อยากวางแผนว่าจบแล้ว อยากทำงานต่อ หรืออาศัยอยู่ต่อในประเทศออสเตรเลีย จนสามารถได้เพิ่มมาอีกหนึ่งสัญชาติ ว่าจะต้องทำวีซ่าอย่างไร ก็นัดเข้ามาพบคุณหมอวีซ่าเลยนะคะ จะช่วยดูแลให้ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ

Footnote: ปัจจุบัน ทางอิมมิเกรชั่นได้แก้ไข Condition 8105 ใหม่ และได้ตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์ https://www.border.gov.au/Trav/Stud/More/Visa-conditions/visa-conditions-students ดังนี้

“You cannot work more than 40 hours per fortnight when your course is in session (other than work which has been registered as a part of the course). A fortnight means any period of 14 days commencing on a Monday and ending at the end of the second following Sunday.

You can work for more than 40 hours per fortnight during recognised vacation periods offered by your education provider.

You cannot start paid work until you have started your course in Australia.

No work limits apply if you are studying a Masters by research or Doctorate course in Australia.”

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: