18 September 2013

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับคุณหมอวีซ่ากันอีกครั้ง ในฉบับที่แล้วคุณหมอวีซ่าได้เกริ่นถึงวีซ่าตัวหนึ่งค้างไว้ที่มีชื่อเรียกว่า “Training and Research Visa (Subclass 402)” หรือถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็คือวีซ่าฝึกงานและวิจัยนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่กล่าวถึงของน้องๆจำนวนมาก มีน้องๆผู้อ่านหลายๆท่านโทรเข้ามาสอบถามว่าวีซ่าตัวนี้คืออะไร ในเมื่อหลายๆคนตั้งคำถามเข้ามา คุณหมอวีซ่าก็เลยขอเขียนลงคอลัมเพื่อบอกกล่าวให้เข้าใจกันนะคะ

วีซ่า Training and Research Visa หรือ TRV นั้นเป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้ามาฝึกงานในประเทศออสเตรเลียเป็นระยะเวลาชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นในสายอาชีพ วิจัย หรือว่าทางด้านการพัฒนาวิชาชีพก็ตาม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน

1. Occupational Trainee stream

แบบการฝึกงานสายอาชีพ

วีซ่าประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกงานในสายสาขาวิชาชีพที่นักเรียนๆจบกันมา ตัวอย่างเช่นในสาย hospitality หลังจากเรียนจบ นักเรียนทั้งหลายก็อยากจะมีการฝึกงานตามโรงแรมหรือภัตตาคารใหญ่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะให้กับตัวเอง และสร้างความเชี่ยวชาญในสายวิชาชีพของตนก่อนที่จะออกไปเผชิญโลกแห่งการทำงานจริงๆข้างนอก

2. Research stream

สำหรับนักวิจัย หรือนักวิชาการที่ต้องการจะมาร่วมโครงงานวิจัย หรือมาดูงานในประเทศออสเตรเลีย

3. Professional Development stream

สำหรับผู้ที่ทำงานในระดับ professional ระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือแพทย์ วิศวกร หรือข้าราชการทั้งหลายที่ต้องการจะมาเทรนงานเพื่อเพิ่มพูนทักษะในสาขาวิชาชีพของตนเองเพิ่มเติม

แล้ววีซ่า TRV ประเภทไหนถึงจะเหมาะกับเราล่ะ?

สำหรับนักเรียนไทยส่วนใหญ่ที่เข้ามาเรียนหลักสูตรดิพโพลม่าทั้งปวงตั้งแต่ครั้งสมัยที่วีซ่านักเรียนเข้าออสเตรเลียยังบูมมากๆช่วงปี 2007-2009 และมีโอกาสที่สามารถขอฝึกงานที่ออสเตรเลียต่อเนื่องได้ หรือได้กลับไปไทยแล้ว แต่มีองค์กรเปิดโอกาสให้ฝึกงาน ก็น่าจะมองดูความเป็นไปได้ของวีซ่า TRV ประเภทแรก ส่วนประเภทที่ 2 และ 3 นั้นน่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในสายงานวิจัย สายวิชาการซะมากกว่า เนื่องจากน้องๆคนไทยส่วนใหญ่ที่เรียนอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกเรียนในสายอาชีพ เช่น hospitality, child care, management, cookery เป็นต้น หรือผู้ที่เลือกเรียนในสายวิชาการก็มักจะเดินทางกลับไทยหลังจากเรียนจบ มากกว่าที่จะขอวีซ่าอยู่ต่อ หลายท่านก็โชคดีมีนายจ้างสปอนเซอร์ต่อ

แปลกมากนะคะที่ตอนนี้วีซ่าตัวนี้เป็นที่ popular มากๆ แต่ก็อย่างว่าละคะ ในขณะที่วีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์ประเภท 457 (working visa) ที่รู้จักกันดีนั้นทำยากขึ้นทุกวัน เราก็ต้องลองหันมาดู options อื่นๆในการอาศัยอยู่ต่อในออสเตรเลียเนื่องจากหลายท่านก็ชื่อชอบอากาศ และสภาวะความเป็นอยู่อย่างอิสระ อีกทั้งระดับเงินเดือนที่ดีกว่าบ้านเราของที่นี่ ซึ่งวีซ่าตัวนี้ แม้กระทั่ง migration agents เองก็หันมาสนใจวีว่าตัวนี้กันมากขึ้น ตามที่คุณหมอวีซ่าได้เห็นข่าวคราวที่ลงในวารสารที่ส่งหา migration agents กัน

วีซ่าตัวนี้มีขั้นตอนในการสมัครคล้ายๆกับวีซ่าทำงาน (sc457) เลยค่ะ ก็คือต้องยื่นที่ออสเตรเลียโดยผ่าน 3 ขั้นตอนสำคัญคือ

  1. Sponsorship พิสูจน์กันที่เอกสารจากนายจ้าง
  2. Nomination ตำแหน่งงานที่ฝึกต้องเหมาะสมกับสายธุรกิจขององค์กรที่เป็นสปอนเซอร์
  3. Application ตัวผู้สมัคร หรือผู้ถูกสปอนเซอร์ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมตรงตามตำแหน่ง

ก่อนที่เราจะสมัครวีซ่าตัวนี้ได้ก็ต้องมีการสปอนเซอร์จากนายจ้าง หรือหน่วยงานนั้นๆก่อน จากนั้นทางนายจ้างก็ขอ nominate ยื่นขอสปอนเซอร์เราเป็น trainee หรือคนฝึกงานในตำแหน่งนั้นๆ สุดท้ายตังเราถึงจะสมัครวีซ่าได้ค่ะ ถ้าหากไม่ผ่าน 2 ขั้นตอนแรกก่อน ก็ไม่สามารถยื่นขอวีซ่า 402 ตัวนี้ได้ค่ะ ทั่วไปวีซ่าตัวนี้อาจออกให้นานถึง 2 ปีได้ ซึ่งหลังจากที่ถือวีซ่าจนหมดอายุและมีการฝึกงานต่อเนื่อง ก็อาจจะมีการขอต่อวีซ่าต่อไปได้ หรืออาจจะเปลี่ยนไปถือวีซ่าทำงานแบบ 457 (ถ้าหากนายจ้างพอใจในผลงานของเรา) และก็แน่นอน ต่อด้วยวีซ่าถาวร Permanent Resident (PR) ต่อไปตามแต่ options ที่ทำได้ในขณะนั้นๆ

ขอแจ้งนิดว่าหากมีครอบครัว ก็สามารถพ่วงคู่ครองกับลูกๆมาได้ด้วยนะคะ เป็นที่รู้กันว่าวีซ่า แต่ละประเภทก็มีกฎเกนฑ์ในการสมัครวีซ่าที่แตกต่างกันไปนะคะ ซึ่งคุณหมอวีซ่าขอยกยอดในการอธิบายถึงวีซ่าตัวนี้ ในประเภท occupational research stream ไว้ในฉบับหน้าเนื่องจากมีเวลาจำกัด สำหรับฉบับนี้ต้องขอลาไปก่อนค่ะ

My Future My CP

สวัสดีค่ะ น้องๆทุกคน คอลัมน์ My Future My CP วันนี้ พี่ๆทางซีพีฯมีข่าวดีมาบอกกล่าวต่อน้องๆกันค่ะ ใครที่กำลังอยากจะหาคอร์สเรียนปริญญาโท หรือปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของออสเตรเลียอย่าง the University of Sydney ต้องไม่พลาดมาร่วมงาน In-House Interview กับมหาวิทยาลัย Sydney (มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศออสเตรเลีย) ในวันพุธที่ 25 กันยายนนี้ เวลา 13.00 – 16.00 น. ที่ CP SYDNEY ห้อง 1 ชั้น 6 Labor Council Building, 383 Sussex Street, Sydney ฟรี! Application fee waiver สำหรับทุกคนที่สมัครเรียนภายในวันงาน โดยน้องๆจะต้องอย่าลืมนำสิ่งต่างๆต่อไปนี้ติดตัวมาในวันงานด้วยนะคะ

  • passport
  • transcript
  • CV
  • ผลสอบ IELTS หรือประกาศนียบัตรเรียนภาษาอังกฤษจบมาระดับไหน และจากที่ไหน

มาร่วมรับของสมนาคุณเล็กๆน้อยๆจากพี่ๆซีพีฯภายในวันงานด้วยนะคะ

Sydney University นั้นมีหลากหลายคณะและวิชาให้น้องๆได้เลือกศึกษาต่อแสวงหาความรู้และทักษะกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาทางด้าน Commerce, Accounting, Laws, Engineering, Nurses, Medical หรือสายภาษา Linguistics ทั้งหลาย โดยเฉพาะในหลักสูตร Master of Professional Accounting และ Master of Professional Engineering ซึ่งได้รับการรับรองจาก CPA/ICAA/IPA และ Engineers Australia (EA) ตามลำดับ โดยเฉพาะเหมาะสำหรับน้องๆที่ไม่ได้จบปริญญาตรีในสาขาวิศวะจากประเทศในเครือ Washington Accord or Australian Accord or Sydney Accord เป็นอย่างยิ่ง เพราะจบจากที่นี้ องค์กรประเมินวุฒิบัตรสามารถรับรองได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการทำ CDR reports ให้ทาง EA แต่เตือนนิดว่าผู้ที่ต้องการจะเรียนต่อในสายนี้ จำเป็นต้องจบมาในสายวิทย์มานะคะ เพราะมีวิชาฟิสิกส์คำนวญอยู่ด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ในฐานะเป็นวิศวกรนะคะ ซึ่งทั้งสองหลักสูตรนี้เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการจะยื่น SkillSelect ต่อไปในอนาคตในการขออยู่ในออสเตรเลียต่ออย่างถาวร (PR) โดยอาศัยทักษะ วุฒิ ความรู้และความสามารถของตนเอง เรียนจบสองปี แน่นอนน้องๆยังสามารถยื่นขอ Graduate Visa (485) ทำงานในออสเตรเลียต่อได้อีกด้วยค่ะ

สำหรับน้องๆคนไหนที่สนใจจะสมัครเรียนกับ University of Sydney (อย่าลืมนำเอกสารที่เกริ่นไว้ข้างต้นติดตัวมาที่ CP Sydney ด้วยนะคะ สำหรับน้องๆคนไหนที่ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนสาขาไหนดี ก็สามารถโทรหรือเข้ามาปรึกษากับพี่ๆซีพีฯได้ก่อน หรือจะมาคุยกับเจ้าหน้าที่ U โดยตรงในวันงานสัมภาษณ์ก็ได้ค่ะ

education@cpinternational.com

คุณปิ๊ปนำทีมงาน CP Sydney ไปลุยครัว TAFE ULTIMO มาแล้ว อาหาร cooked โดยนักเรียน Cookery รสชาติเยี่ยงมืออาชีพ สุดยอดจริงๆ – คุณ Ben Martin ผอ กับคุณ Thomas Dunlop ผจฝ่ายการตลาดให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: