3 June 2016

วีซ่า 457 หรือภาษาราชการเรียกชื่อเต็มว่า Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457) วีซ่าตัวนี้ เป็นวีซ่าชั่วคราว หรือ Temporary Visa (TR) โดยถ้าหากเป็นธุรกิจที่ตั้งมาเกินปีมีรายได้และมีระบบ up running อยู่แล้ว และผู้ยื่นทั้งสปอนเซอร์และผู้ขอวีซ่าทั้งสองฝ่ายมีเงื่อนไขตรงตามที่กฎหมายเรียกร้องทุกประการที่จะผ่านวีซ่าได้ ทั่วไปลูกจ้างก็จะได้วีซ่าทำงานให้กับนายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์ให้เป็นเวลา 4 ปี และหลังจากถือวีซ่าตัวนี้ไปครบ 2 ปี ลูกจ้างที่เป็นผู้ถือวีซ่า 457 ก็สามารถให้นายจ้างช่วยสปอนเซอร์ต่อเนื่องเพื่อข้ามฝั่งไปเป็นผู้ถือวีซ่าถาวรที่เรียกว่า Permanent Resident (PR) ด้วยวีซ่าที่มีชื่อเรียกว่า Employer Nomination Scheme visa (subclass 186)

ยังมีหลายคนถามว่า แล้วจาก PR จะข้ามฝั่งไปเป็น Australian citizen หรือพลเมืองของที่นี่ จะมีสิทธิ์ทำได้ไหม และต้องทำอย่างไร คนไทยสามารถถือสองสัญชาติได้ไหม หรือต้องสละหนึ่งสัญชาติ? คำตอบคือ ตามกฎหมายปัจจุบัน หากผู้ถือวีซ่า (ตัวไหนก็ได้) ที่มี record อาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาครบ 4 ปีโดยที่ในสี่ปีนี้ มีถือ PR ครบ 1 ปี และในปีสุดท้ายได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียครบอย่างน้อย 9 เดือน ก็สามารถยื่นขอสัญชาติออสเตรเลียได้เลย และคนไทยสามารถถือได้สองสัญชาติ ถือพาสปอร์ตสองเล่มได้ค่ะ โดยเราก็ไม่ปล่อยให้บัตรประชาชนไทยขาด และหมั่นต่อพาสปอร์ตทั้งสองเล่มให้มีอายุเสมอ จะได้สะดวกต่อ การเดินทางเข้าออกทั้งประเทศไทยและออสเตรเลีย

ลูกค้าหลายท่านถามมาเรื่องที่เกี่ยวกับวีซ่ายอดฮิตในประจำยุค คุณหมอวีซ่าขอชี้แจงว่า วีซ่า Temporary Work (subclass457) หรือ วีซ่าชนิดที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ นี้ เป็นวีซ่าชั่วคราวที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายจ้างในการว่าจ้างลูกจ้างต่างชาติให้เข้ามาทำงานในบริษัทของตนได้ เพราะเนื่องจากไม่สามารถหาลูกจ้างที่เป็นคนท้องถิ่นมาทำงานได้ วีซ่า 457 สามารถแบ่งการสปอนเซอร์ได้เป็น สองประเภทคือ

  1. ภายใต้ Standard Business Sponsorship (SBS) สำหรับนายจ้างธุรกิจโดยทั่วไป และ
    ภายใต้ Labour Agreement สำหรับหน่วยงานใหญ่ๆที่มีการเซ็นสัญญาไว้กับรัฐบาลออสเตรเลียล่วงหน้าให้อนุมัติให้ทางองค์กรสามารถสปอนเซอร์จำนวนพนักงานมากตำแหน่งในแต่ละปีเข้ามาทำงานให้กับองค์กรนั้นๆได้
    ภายใต้วีซ่า 457

การยื่นวีซ่าตัวนี้จะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

1. Sponsorship ————> 2. Nomination ————> 3. Application

Sponsorship เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่ทางนายจ้างจะต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองฯว่า มีคุณสมบัติเพียงพอตามกฎหมายที่จะเป็นสปอนเซอร์ได้ และเมื่อได้รับการอนุมัติผ่านมาแล้ว ตัวนายจ้างเองก็จะต้องยื่น Nomination ซึ่งเป็นงานในขั้นที่สอง เพื่อขอสปอนเซอร์ลูกจ้างในตำแหน่งที่ต้องการจะว่าจ้าง และเมื่อ Nomination ได้รับการอนุมัติแล้ว ลูกจ้างถึงจะสามารถยื่นขอสมัครวีซ่าเข้าไปได้ หรือถ้าสามารถยื่นทั้งสามขั้นตอนเข้าไปพร้อมๆกัน ก็จะยิ่งดี จะว่าไปแล้วส่วนสำคัญของการทำวีซ่าตัวนี้จะเน้นหนักไปที่สปอนเซอร์หรือตัวนายจ้างว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นนายจ้างที่กฎหมายออสเตรเลียรับรองไหม หมายความว่า ถ้าหากสปอนเซอร์ไม่ผ่านการอนุมัติ ต่อให้เค้าอยากสปอนเซอร์เรามากเพียงใดก็ตามก็ตาม ก็ไม่สามารถยื่นขอวีซ่า 457 ให้เราได้นั่นเอง

นายจ้างจึงมีความสำคัญมากสำหรับการทำวีซ่าตัวนี้ เพราะต้องมีธุรกิจที่ประกอบการในออสเตรเลียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอาชีพที่ต้องการจะสปอนเซอร์นั้น (nominated occupation) จะต้องมีระบุอยู่ใน CSOL List (Consolidated Sponsored Occupation List กฎหมายยังบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนตามอัตราตลาดแรงงานทั่วไป นั่นหมายความว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนให้เท่ากับอัตราที่จ้างคนท้องถิ่นให้เกิดความเสมอภาคและนอกจากนี้เงินเดือนขั้นต่ำนั้นยังจะต้องเท่ากับหรือสูงกว่าจำนวนที่ TSMIT (The Temporary Skilled Migration Income Threshold) กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินเดือนขั้นต่ำกำหนดไว้อยู่ที่ $53,900 ต่อปี + 9.5% superannuation (มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)

แต่ก่อนที่จะสามารถสปอนเซอร์คนจากต่างประเทศให้มาทำงานให้ตนได้นั้น นายจ้างยังมีหน้าที่ต้องลงโฆษณาให้โอกาสคนในท้องที่สมัครงานลองดูก่อนที่เรียกว่าทำ “Market Testing” เสียก่อนว่าไม่สามารถหาแรงงานท้องถิ่นมาเติมเต็มตำแหน่งงานตามที่ต้องการแล้ว รัฐบาลถึงจะอนุมัติให้สปอนเซอร์คนต่างชาติเข้ามาทำงานได้ ยิ่งกว่านั้น นายจ้างยังต้องมี record of training หรือบันทึกการฝึกอบรมให้กับพนักงานที่เรียกว่า “Training Benchmark” อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกำหนดที่สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของนายจ้าง ในที่สุด ถ้าหากนายจ้างมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ข้างต้นและตรงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆประกอบ และสามาถผ่านการอนุมัติจากอิมมิเกรชั่นทั้งในขั้นตอน sponsorship และ nomination ได้แล้ว จึงจะสามารถสปอนเซอร์ลูกจ้างในตำแหน่งงานนั้นๆให้ทำงานให้ตนได้ เห็นแล้วยังคะ ว่านายจ้างมีความสำคัญมากเพียงใด?

สำหรับคุณสมบัติทั่วไปของลูกจ้างนั้นจะต้องมีคุณวุฒิ และ/หรือประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับในตำแหน่งงานที่จะสมัคร และจะต้องสอบ IELTS ให้ได้ขั้นต่ำ 5 ในทุกสายทักษะทางการใช้ภาษาอังกฤษ (บางอาชีพก็ขอสูงกว่า อย่างเช่นพยาบาลก็ต้องสอบ IELTS ให้ได้ 7.5 เป็นต้น) ส่วนใหญ่หากเป็นงานในสายวิชาชีพก็อาจจะต้องมีการทำประเมินคุณสมบัติของผู้สมัคร (skill assessment) มาเสียก่อน

เมื่อได้วีซ่า 457 ผ่านมาแล้ว ขั้นต่อไปคืออะไร?

การข้ามฝั่งจาก 457 ไปเป็นวีซ่าถาวร 186 นั้นไม่ได้ง่ายๆอย่างที่คิดเสมอไปนะคะ เพราะบางคนคิดว่าพอได้ 457 มาแล้ว ทำงานไปครบจำนวนปี ก็จะสามารถข้ามฝั่งไปเป็น PR โดยอัตโนมัติ แต่หารู้ไม่ว่า ในช่วงที่ถือ 457 นั้น กฎของอิมมิเกรชั่นที่ตั้งขึ้นมาอย่างเข้มงวดก็คือ เกี่ยวกับเรื่องของการตรวจสอบ หรือ Monitoring of sponsors and visa holders แปลว่ามีการไปตรวจเยี่ยมสถานที่ทำงานแล้วดูว่าทั้งสปอนเซอร์กับลูกจ้างได้ปฏิบัติตามหน้าที่และกฎเกณฑ์ที่อิมฯกำหนดไว้หรือไม่

คุณหมอวีซ่าอยากให้ท่านผู้อ่านลองคลิกเข้าไปในเว๊ปไซท์ของอิมมิเกรชั่นแล้วลองอ่านดูว่าหน้าที่ของนายจ้าง หรือ sponsors นั้นมีมากเพียงใด อ่านได้ภายใต้หัวข้อ Sponsor Obligations ที่ https://www.border.gov.au/Trav/Visa-1/457- นะคะ

คร่าวๆ อิมฯมีสิทธิ์กระทั่งเข้าไปตรวจสอบสปอนเซอร์ได้ถึง 5 ปีย้อนหลัง ดังที่เขียนลงไว้ในเว๊ปอิมฯ ดังนี้

You must comply with your obligations as a sponsor. We monitor your compliance with the sponsorship obligations and whether your visa holders are upholding their visa conditions.
We monitor you while you are a sponsor and for up to five years after you cease being a sponsor. We do this routinely and in response to information provided to us, and in three main ways:

  • writing to you to ask for information in accordance with the obligation to provide records and information
  • site visits, usually to the sponsored business premises, with or without notice
  • exchanging information with other Commonwealth, state and territory government agencies, including the Fair Work Ombudsman, the Department of Employment and the Australian Taxation Office.

Your compliance with the sponsorship obligations might be monitored by Immigrations inspectors, Fair Work Inspectors or Fair Work Building Industry Inspectors who have investigative powers under the Migration Act 1958. Failure to cooperate with inspectors is a breach of the sponsorship obligations.

และหากพบว่าสปอนเซอร์มีการปฎิบัตินอกกฎข้อตกลงตามเงื่อนไขการว่าจ้างต่างๆ ก็อาจโดน sanctions และถูกทำโทษเพิกถอนไม่ให้เป็นสปอนเซอร์อีกต่อไปได้ แถมอาจถูกปรับอีกด้วย ดังนี้

Sanctions for not meeting your sponsor obligations

If you do not meet your obligations, we could take one or more of the following actions:
Administrative

  • you could be barred from sponsoring more people for a specified time
  • you could be barred from applying for approval to be a sponsor, in relation to this visa or another one
  • all of your existing approvals as a sponsor could be cancelled.

Enforceable undertaking
You could be invited to enter into an enforceable undertaking. Enforceable undertakings require you to promise, in writing, to undertake to complete certain actions to demonstrate that the failures have been rectified and won’t happen again.
Civil

  • we can issue an infringement notice of up to AUD 10,200 for a body corporate and AUD 2,040 for an individual for each failure.
  • we can apply to a court for a civil penalty order of up to AUD 51,000 for a corporation and AUD 10,200 for an individual for each failure.

Other circumstances in which administrative action might be taken
In addition, you could also have sanctions imposed if:

  • you provide false or misleading information to us or the Migration Review Tribunal
  • you no longer satisfy the criteria for approval as a sponsor or for variation of a term of that approval
  • you have been found by a court or competent authority to have contravened a Commonwealth, state or territory law
  • the person you have sponsored breaks a law relating to the licensing, registration or membership needed to work in the nominated position.

The types of actions that could be taken depend on whether the sponsor is a standard business sponsor or has made a work agreement.

If you have sponsored someone under a work agreement, we could suspend or terminate it in accordance with the clauses of the particular work agreement.

ยกตัวอย่าง Monitoring Unit อาจโผล่มาทักทายที่สำนักงานหรือร้านของสปอนเซอร์โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า มาขอสอบถามข้อมูลทั้งกับทางนายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์ กับลูกจ้างผู้ได้รับการสปอนเซอร์ โดยอาจเรียกเข้าไปคุยสอบถามทีละคน เหมือนเป็นการสัมภาษณ์ ตัวอย่างคำถามก็อย่างเช่น ผู้ได้รับการสปอนเซอร์นั้นได้ทำงานตามตำแหน่งที่เคยยื่นมาจริงหรือไม่ นอกจากตำแหน่งที่ทำแล้ว ยังมีหน้าที่อื่นที่ต้องทำอีกไหม เป็นต้น ซึ่งตรงนี้สำคัญมากเลยนะคะ คือการที่อิมฯเขา grant วีซ่า 457 ให้ ตามกฎ ลูกจ้างที่รับการสปอนเซอร์ก็ต้องทำงาน full time ในขอบเขตงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ผ่านการสปอนเซอร์มา อาทิเช่น ถ้าผู้ยื่นได้ยื่นขอ sponsorship ในตำแหน่งของ Marketing Specialist ไป รายละเอียดหรือขอบเขตการทำงาน (Job Descriptions) ของผู้ยิ่นทั้งตอนที่ขอวีซ่า 457 กับการยื่น Nomination สำหรับการขอ PR ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับสายงานทางการตลาดโดยตรง (ไม่ใช่ไปผัดกับข้าวอยู่หลังครัว เป็นต้น) การตอบคำถามต่อ inspectors ที่ส่งมาจากอิมมิเกรชั่น จึงมีความสำคัญมาก

ฉบับนี้คุณหมอวีซ่าขอลาไปก่อน กำลังจะเดินทางไปประจำที่สำนักงานกรุงเทพฯ ตั้งแต่ กลางเดือน มิถุนายน จนถึงกลางตุลาคม พร้อมร่วมเปิดงานและบรรยายสัมมนาที่น่าสนใจหลายหัวข้อร่วมกับคุณ Andrew Biggs ในนิทรรศการ “CP Australia Education Fair 2016” ในวันเสาร์ที่ 2 July 2016 ที่ โรงแรมปทุมวัน ปรินเซส มาบุญครอง แล้วไว้พบกันในงานนะคะ

มาพูดถึงกิจกรรมดีๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในซิดนีย์กันบ้าง…เป็นข่าวเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับเพื่อนๆนักเรียนที่อาศัยอยู่ในมหานครซิดนีย์หรือละแวกใกล้เคียงค่ะ

เริ่มกันที่กิจกรรมแรกกันก่อนเลยดีกว่าค่ะ…กับกิจกรรมสนุกเพื่อให้เพื่อนๆน้องๆได้ไปเที่ยวร่วมกันที่เราจะจัดทริปเป็นประจำกันทุกปี โดยปีนี้ CP Sydney จะพาน้องๆเพื่อนๆไปเล่นหิมะกันค่ะ โดยน้องๆเพื่อนๆสามารถปักหมุดลงบนปฏิทินเตรียมตัวลางานกันล่วงหน้าไว้ได้เลยค่ะเพราะเราจะออกเดินทางกันตอนกลางคืนของวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม แล้วจะกลับมาถึงซิดนีย์ในคืนวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคมค่ะ แล้วจะจัดแค่รอบเดียวเท่านั้นนะคะ เพราะฉะนั้นไปลางานวันเสาร์ที่ 23 กันล่วงหน้าไว้เลยค่ะ โดยส่วนของรายละเอียดอื่นๆ ในเรื่องของจุดขึ้นรถ ราคา รวมถึงโฆษณาตัวเต็มจะขออุบไว้ก่อนนะคะ แต่รับรองได้ว่าเป็นราคาพิเศษสุดๆสำหรับ Snow trip ที่จัดขึ้นในปีนี้จากทางเราอย่างแน่นอนค่ะ!!! ขอข้ามมาที่ข่าวกิจกรรมที่ 2 ที่จะจัดขึ้นโดย CP Sydney ในเร็วๆนี้กันต่อเลยนะคะ จะเป็นงานสัมมนาที่ทางเราจัดขึ้นเป็นประจำหลังจากที่ทางอิมฯออกมาประกาศกฎการเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างเป็นทางการในทุกวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีค่ะ กับงาน “CP Sydney: Skilled Migration Seminar 2016” สำหรับเนื้อหาของข้อมูลในงานสัมมนาสามารถดูได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ โดยในปีนี้จะมีหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมากเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับลิสต์ของสายอาชีพที่สามารถยื่นขอ PR ได้ หรือสาขาอาชีพที่สามารถทำวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ได้ หรือกฎการขอยื่นวีซ่าแบบใหม่ (Simplified Student Visas Framework: SSVF) ที่ทางอิมฯจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ เพราะฉะนั้นหากเพื่อนๆน้องๆที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวก็สามารถเริ่มโทรมาที่ (+61) 2 9267-8522 เพื่อจับจองสำรองที่นั่งกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆตอนนี้ได้เลยค่ะ งานนี้ ฟรี ตลอดงาน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และรับจำนวนจำกัดเท่านั้นนะคะ สำรองที่นั่งก่อนก็มีสิทธิ์เข้ามาฟังก่อนค่ะ หรือถ้ามีคนรู้จักแล้วอยากแนะนำบอกต่อสัมมนาดีๆก็สามารถช่วยกระจายข่าวเป็นกระบอกเสียงได้นะคะ โดยงานสัมมนาจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคมนี้ค่ะ ที่ Training Room 1, Ground Floor, Labour Council Bldg., 383 Sussex Street, Sydney ค่ะ ตั้งแต่เวลาบ่ายโมงตรงถึงสี่โมงโดยประมาณ แล้วเจอกันนะคะ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: